งานวิจัยครั้งใหม่ของนักวิทยาศาสตร์ในญี่ปุ่นเผยว่า จริงๆ แล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกอาจมาจากอวกาศก็เป็นได้ หลังจากค้นพบสารประกอบทางเคมียูราซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ RNA (กรดนิวคลีอิก) ในวัสดุเพียง 10 มิลลิกรัมจาก ‘ดาวเคราะห์น้อยริวงู (Asteroid Ryugu)’ ที่อยู่ห่างออกไปจากโลกประมาณ 300 ล้านกม. แม้ว่าจะดูธรรมดาเหมือนเศษถ่าน แต่พวกมันมีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตอยู่ในตัว
นักวิทยาศาสตร์พบไนอาซินซึ่งเรียกอีกอย่างว่า วิตามินบี 3 หรือกรดนิโคตินิกที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร โดยการค้นพบนี้ให้น้ำหนักกับทฤษฎีที่มีมาอย่างยาวนานว่า ‘สิ่งมีชีวิตบนโลกอาจถูกเพาะพันธุ์มาจากนอกโลกเมื่อดาวเคราะห์น้อยชนเข้ากับโลกของเราซึ่งมีองค์ประกอบพื้นฐาน’
จากงานวิจัยล่าสุดในการวิเคราะห์หินและฝุ่น 5.4 กรัม ที่รวบรวมโดยยานสำรวจ ‘ฮายาบูซะ 2 (Hayabusa-2)’ ขององค์การอวกาศญี่ปุ่นจากดาวเคราะห์น้อยริวงู โดยยานสำรวจฮายาบูซะ 2 เพิ่งกลับสู่วงโคจรของโลกในปลายปี 2020 พร้อมบรรจุตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อย
หินล้ำค่าที่ค้นพบนี้ถูกแบ่งระหว่างทีมวิจัยระหว่างประเทศและได้ให้ข้อมูลเชิงลึก รวมถึงการค้นพบส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต หยดน้ำแรก กรดอะมิโนที่อาจก่อตัวขึ้นในอวกาศ โดยงานวิจัยชิ้นใหม่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันอังคาร (21 มี.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า ส่วนประกอบที่พบในหินนั้นคือ ‘นิวเคลียสของ RNA’
การค้นพบใหม่นี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสมมติฐานที่ว่าวัตถุต่างๆ เช่น ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และอุกกาบาตที่ทิ้งระเบิดใส่โลกยุคแรกเริ่มสร้างดาวเคราะห์อายุน้อยด้วยสารประกอบจุลินทรีย์กลุ่มแรก โดยก่อนหน้านี้มีการตรวจพบโมเลกุลอินทรีย์ที่สำคัญในอุกกาบาตที่อุดมด้วยคาร์บอนซึ่งพบบนโลก แต่มีคำถามว่าหินอวกาศเหล่านี้ปนเปื้อนจากการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมของโลกหลังจากลงจอดหรือไม่
“การค้นพบที่สำคัญของเราคือ ยูราซิลและไนอาซิน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้มีความสำคัญทางชีวภาพที่แท้จริงแล้วมีอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกโลก และอาจพบว่าเป็นส่วนประกอบของดาวเคราะห์น้อยและอุกกาบาต” ยาสุฮิโระ โอบะ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดกล่าว
การทดสอบตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยริวงูเป็นกระบวนการหลายขั้นตอนที่เริ่มต้นด้วยการใส่น้ำร้อน เช่น การชงกาแฟหรือชา จากนั้นจึงใช้กรดเพื่อสกัดโมเลกุลที่วิเคราะห์โดยเครื่องมือที่มีความละเอียดอ่อนมากซึ่งสามารถตรวจจับปริมาณยูราซิลที่มีอยู่ได้เพียงเล็กน้อย
“การค้นพบนี้แสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าหนึ่งในส่วนประกอบของ RNA มีอยู่บนโลกตั้งแต่ก่อนการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิต เราคาดว่ามันมีบทบาทในการวิวัฒนาการของพรีไบโอติกและอาจเป็นการเกิดขึ้นของชีวิตแรก ขณะที่ยูราซิลและไนอาซินถูกพบที่จุดลงจอดทั้ง 2 แห่งบนดาวเคราะห์น้อยริวงููซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งไมล์ (900 เมตร) และถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก” โอบะกล่าว
นอกจากนี้ โอบะหวังว่าจะได้วิเคราะห์ตัวอย่างใหม่ที่รวบรวมจากอวกาศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รวมถึงวัสดุจากยานภารกิจ ‘Osiris-Rex’ จากดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู (Bennu) ที่คาดว่าจะมาถึงในปีนี้
นักวิทยาศาสตร์พบไนอาซินซึ่งเรียกอีกอย่างว่า วิตามินบี 3 หรือกรดนิโคตินิกที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร โดยการค้นพบนี้ให้น้ำหนักกับทฤษฎีที่มีมาอย่างยาวนานว่า ‘สิ่งมีชีวิตบนโลกอาจถูกเพาะพันธุ์มาจากนอกโลกเมื่อดาวเคราะห์น้อยชนเข้ากับโลกของเราซึ่งมีองค์ประกอบพื้นฐาน’
จากงานวิจัยล่าสุดในการวิเคราะห์หินและฝุ่น 5.4 กรัม ที่รวบรวมโดยยานสำรวจ ‘ฮายาบูซะ 2 (Hayabusa-2)’ ขององค์การอวกาศญี่ปุ่นจากดาวเคราะห์น้อยริวงู โดยยานสำรวจฮายาบูซะ 2 เพิ่งกลับสู่วงโคจรของโลกในปลายปี 2020 พร้อมบรรจุตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อย
หินล้ำค่าที่ค้นพบนี้ถูกแบ่งระหว่างทีมวิจัยระหว่างประเทศและได้ให้ข้อมูลเชิงลึก รวมถึงการค้นพบส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต หยดน้ำแรก กรดอะมิโนที่อาจก่อตัวขึ้นในอวกาศ โดยงานวิจัยชิ้นใหม่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันอังคาร (21 มี.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า ส่วนประกอบที่พบในหินนั้นคือ ‘นิวเคลียสของ RNA’
การค้นพบใหม่นี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสมมติฐานที่ว่าวัตถุต่างๆ เช่น ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และอุกกาบาตที่ทิ้งระเบิดใส่โลกยุคแรกเริ่มสร้างดาวเคราะห์อายุน้อยด้วยสารประกอบจุลินทรีย์กลุ่มแรก โดยก่อนหน้านี้มีการตรวจพบโมเลกุลอินทรีย์ที่สำคัญในอุกกาบาตที่อุดมด้วยคาร์บอนซึ่งพบบนโลก แต่มีคำถามว่าหินอวกาศเหล่านี้ปนเปื้อนจากการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมของโลกหลังจากลงจอดหรือไม่
“การค้นพบที่สำคัญของเราคือ ยูราซิลและไนอาซิน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้มีความสำคัญทางชีวภาพที่แท้จริงแล้วมีอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกโลก และอาจพบว่าเป็นส่วนประกอบของดาวเคราะห์น้อยและอุกกาบาต” ยาสุฮิโระ โอบะ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดกล่าว
การทดสอบตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยริวงูเป็นกระบวนการหลายขั้นตอนที่เริ่มต้นด้วยการใส่น้ำร้อน เช่น การชงกาแฟหรือชา จากนั้นจึงใช้กรดเพื่อสกัดโมเลกุลที่วิเคราะห์โดยเครื่องมือที่มีความละเอียดอ่อนมากซึ่งสามารถตรวจจับปริมาณยูราซิลที่มีอยู่ได้เพียงเล็กน้อย
“การค้นพบนี้แสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าหนึ่งในส่วนประกอบของ RNA มีอยู่บนโลกตั้งแต่ก่อนการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิต เราคาดว่ามันมีบทบาทในการวิวัฒนาการของพรีไบโอติกและอาจเป็นการเกิดขึ้นของชีวิตแรก ขณะที่ยูราซิลและไนอาซินถูกพบที่จุดลงจอดทั้ง 2 แห่งบนดาวเคราะห์น้อยริวงููซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งไมล์ (900 เมตร) และถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก” โอบะกล่าว
นอกจากนี้ โอบะหวังว่าจะได้วิเคราะห์ตัวอย่างใหม่ที่รวบรวมจากอวกาศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รวมถึงวัสดุจากยานภารกิจ ‘Osiris-Rex’ จากดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู (Bennu) ที่คาดว่าจะมาถึงในปีนี้