ว่ากันว่าความรักเป็นเรื่องของความรู้สึก บางคนบอกว่ามันเป็นเรื่องซับซ้อน บ้างก็บอกว่าเป็นความสบายใจ บ้างก็บอกว่าใจฟู บ้างก็บอกอีกว่าเป็นความรู้สึกเติมเต็ม แต่บางคนกลับบอกว่าเป็นความทุกข์จนกลายเป็นปมในใจ แน่นอนว่าเรื่องราวและนิยามความรักของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จริงๆ แล้วคุณเคยถามกับตัวเองไหมว่า ‘ความรักคืออะไร?’
ทุกคนต่างก็มีคำตอบเป็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าวิทยาศาสตร์ก็มีหลักการมาอธิบายได้นะว่า ‘ความรักคืออะไร?’ หลายคนอาจจะสงสัยว่าวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวอะไรด้วย ทว่ามันมีหลักทฤษฎีอยู่หลายข้อเลยล่ะที่นำมาอธิบายขยายความเรื่องของความรักได้
ทุกคนต่างก็มีคำตอบเป็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าวิทยาศาสตร์ก็มีหลักการมาอธิบายได้นะว่า ‘ความรักคืออะไร?’ หลายคนอาจจะสงสัยว่าวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวอะไรด้วย ทว่ามันมีหลักทฤษฎีอยู่หลายข้อเลยล่ะที่นำมาอธิบายขยายความเรื่องของความรักได้
จริงๆ แล้ว ‘ใจสั่งมา’ หรือ ‘สมองสั่งการ’

สำหรับคนที่เคยตกหลุมรักใครบางคนจะเข้าใจดีว่าอาการมันเป็นอย่างไร คุณอาจจะรู้สึกตื่นเต้น อาจพูดติดอ่าง พูดไม่รู้เรื่องก็มี ฝ่ามือเหงื่อออก หรือบางครั้งคุณอาจจะสะดุดในขณะที่พยายามเดินสวนกับคนที่ชอบก็เป็นได้ และหัวใจของคุณอาจเต้นแรงโดยอัตโนมัติซึ่งสิ่งนี้เองอาจเป็นปฏิกิริยาที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตกหลุมรักเข้าแล้ว!
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนหลายศตวรรษคิดว่าความรักและอารมณ์อื่นๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่หัวใจ แต่ตามหลักการวิทยาศาสตร์แล้วปรากฏว่าความรักเป็นเรื่องของสมองต่างหาก เพราะสมองสั่งการ มันจึงทำให้ร่างกายส่วนที่เหลือของคุณดูยุ่งเหยิงและไม่เป็นตัวเองสุดๆ เวลาเจอคนที่แอบชอบ
จากข้อมูลของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดย ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส ระบุว่า ความรักโรแมนติกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ‘ความใคร่’ ขับเคลื่อนด้วยความต้องการเพื่อความพึงพอใจทางเพศ พื้นฐานวิวัฒนาการของสิ่งนี้เกิด
จากความต้องการของเราในการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นความต้องการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เนื่องจากสิ่งมีชีวิตจะยังคงเผ่าพันธุ์ของตัวเองต่อไปได้ก็ด้วยการสืบพันธุ์เพื่อส่งต่อยีนจากรุ่นสู่รุ่น
ไฮโปทาลามัสของสมองมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ โดยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (testosterone) และเอสโตรเจน (estrogen) จากอัณฑะและรังไข่ตามลำดับ
โดยเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มความใคร่ในทุกคน และผู้หญิงบางคนอาจมีแรงจูงใจทางเพศมากขึ้นในช่วงเวลาที่พวกเธอตกไข่ ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงที่สุด
2. ‘ความหลงใหล หรือ แรงดึงดูด’ ดูเหมือนว่า ‘กฎของแรงดึงดูด’ มักจะดึงดูดคนที่ชอบทำอะไร
เหมือนๆ กัน พฤติกรรมคล้ายๆ กัน หรือคิดอะไรเหมือนๆ กันเข้าหากัน ซึ่งตามหลักการแล้วแรงดึงดูดนั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เรียกว่า ‘ระบบรางวัลสมองหรือระบบการให้รางวัล’ ที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์บางอย่างกับความรู้สึกของความสุข นั่นจึงเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมช่วง 2-3 สัปดาห์หรือเดือนแรกของความสัมพันธ์จึงน่าตื่นเต้น
วิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine) และ เซโรโทนิน (serotonin) ที่กระตุ้นให้เรามีอาการตกหลุมรัก
สำหรับโดพามีนเป็นฮอร์โมนประสาทที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งจะถูกปล่อยออกมาเมื่อเราทำสิ่งที่เรารู้สึกดี ในกรณีนี้ สิ่งเหล่านี้ยังรวมถึงการใช้เวลากับคนที่คุณรักและการมีเพศสัมพันธ์ด้วย หากเรามีโดพามีนสูง เราจะรู้สึกกระฉับกระเฉง กระตือรือร้น ร่าเริง หรือแม้กระทั่งทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลงและนอนไม่หลับก็มี ซึ่งทฤษฎีนี้สามารถนำมาอธิบายอาการ ‘ตกหลุมรัก’ ได้ ในลักษณะของการคลั่งรักจนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ
ส่วน นอร์เอพิเนฟริน เป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกตื่นเต้น เหงื่อออกและเขินอายเวลาเจอคนที่แอบชอบ
ขณะที่ เซโรโทนิน นั้นจะส่งผลต่อการแสดงออก เมื่อสมองหลั่งสารชนิดนี้ออกมา เราก็มักจะเกิดพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เช่น การเผลอยิ้ม เป็นต้น ในทางกลับกันหากเรามีเซโรโทนินต่ำเกินไปก็จะส่งผลให้เรามีความผิดปกติด้านพฤติกรรมและอารมณ์ มีอาการเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวมไปถึงซึมเศร้าด้วย
3. ‘ความผูกพัน’ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในความสัมพันธ์ระยะยาว ขณะที่ความใคร่และความหลงใหล หรือ
แรงดึงดูดเป็นความสัมพันธ์พิเศษเชิงรักโรแมนติก ซึ่งความผูกพันนี้อาจถ่ายทอดออกมาในหลายรูปแบบ เช่น ความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก มิตรภาพทางสังคม หรือความสัมพันธ์แบบเฟรนด์โซนที่ใครบางคนก็อยากก้าวออกจากตรงนี้จะแย่แล้ว
วิทยาศาสตร์อธิบายว่าความผูกพันจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ออกซิโทซิน (oxytocin) หรือ ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ และ วาโซเพรสซิน (vasopressin)
ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนด้านความสัมพันธ์ หากคู่รัก หรือคนในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ สมองก็จะหลั่งสารชนิดนี้ออกมามาก ส่วน วาโซเพรสซิน เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทต่อคู่รักซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากใช้ชีวิตร่วมกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าฮอร์โมนนี้จะเป็นตัวควบคุมให้คู่รักไม่นอกใจกันและรักษาความสัมพันธ์แบบรักเดียวใจเดียวอีกด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนหลายศตวรรษคิดว่าความรักและอารมณ์อื่นๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่หัวใจ แต่ตามหลักการวิทยาศาสตร์แล้วปรากฏว่าความรักเป็นเรื่องของสมองต่างหาก เพราะสมองสั่งการ มันจึงทำให้ร่างกายส่วนที่เหลือของคุณดูยุ่งเหยิงและไม่เป็นตัวเองสุดๆ เวลาเจอคนที่แอบชอบ
จากข้อมูลของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดย ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส ระบุว่า ความรักโรแมนติกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ความใคร่
- ความหลงใหล หรือ แรงดึงดูด
- ความผูกพัน
1. ‘ความใคร่’ ขับเคลื่อนด้วยความต้องการเพื่อความพึงพอใจทางเพศ พื้นฐานวิวัฒนาการของสิ่งนี้เกิด
จากความต้องการของเราในการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นความต้องการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เนื่องจากสิ่งมีชีวิตจะยังคงเผ่าพันธุ์ของตัวเองต่อไปได้ก็ด้วยการสืบพันธุ์เพื่อส่งต่อยีนจากรุ่นสู่รุ่น
ไฮโปทาลามัสของสมองมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ โดยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (testosterone) และเอสโตรเจน (estrogen) จากอัณฑะและรังไข่ตามลำดับ
โดยเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มความใคร่ในทุกคน และผู้หญิงบางคนอาจมีแรงจูงใจทางเพศมากขึ้นในช่วงเวลาที่พวกเธอตกไข่ ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงที่สุด
2. ‘ความหลงใหล หรือ แรงดึงดูด’ ดูเหมือนว่า ‘กฎของแรงดึงดูด’ มักจะดึงดูดคนที่ชอบทำอะไร
เหมือนๆ กัน พฤติกรรมคล้ายๆ กัน หรือคิดอะไรเหมือนๆ กันเข้าหากัน ซึ่งตามหลักการแล้วแรงดึงดูดนั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เรียกว่า ‘ระบบรางวัลสมองหรือระบบการให้รางวัล’ ที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์บางอย่างกับความรู้สึกของความสุข นั่นจึงเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมช่วง 2-3 สัปดาห์หรือเดือนแรกของความสัมพันธ์จึงน่าตื่นเต้น
วิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine) และ เซโรโทนิน (serotonin) ที่กระตุ้นให้เรามีอาการตกหลุมรัก
สำหรับโดพามีนเป็นฮอร์โมนประสาทที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งจะถูกปล่อยออกมาเมื่อเราทำสิ่งที่เรารู้สึกดี ในกรณีนี้ สิ่งเหล่านี้ยังรวมถึงการใช้เวลากับคนที่คุณรักและการมีเพศสัมพันธ์ด้วย หากเรามีโดพามีนสูง เราจะรู้สึกกระฉับกระเฉง กระตือรือร้น ร่าเริง หรือแม้กระทั่งทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลงและนอนไม่หลับก็มี ซึ่งทฤษฎีนี้สามารถนำมาอธิบายอาการ ‘ตกหลุมรัก’ ได้ ในลักษณะของการคลั่งรักจนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ
ส่วน นอร์เอพิเนฟริน เป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกตื่นเต้น เหงื่อออกและเขินอายเวลาเจอคนที่แอบชอบ
ขณะที่ เซโรโทนิน นั้นจะส่งผลต่อการแสดงออก เมื่อสมองหลั่งสารชนิดนี้ออกมา เราก็มักจะเกิดพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เช่น การเผลอยิ้ม เป็นต้น ในทางกลับกันหากเรามีเซโรโทนินต่ำเกินไปก็จะส่งผลให้เรามีความผิดปกติด้านพฤติกรรมและอารมณ์ มีอาการเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวมไปถึงซึมเศร้าด้วย
3. ‘ความผูกพัน’ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในความสัมพันธ์ระยะยาว ขณะที่ความใคร่และความหลงใหล หรือ
แรงดึงดูดเป็นความสัมพันธ์พิเศษเชิงรักโรแมนติก ซึ่งความผูกพันนี้อาจถ่ายทอดออกมาในหลายรูปแบบ เช่น ความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก มิตรภาพทางสังคม หรือความสัมพันธ์แบบเฟรนด์โซนที่ใครบางคนก็อยากก้าวออกจากตรงนี้จะแย่แล้ว
วิทยาศาสตร์อธิบายว่าความผูกพันจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ออกซิโทซิน (oxytocin) หรือ ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ และ วาโซเพรสซิน (vasopressin)
ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนด้านความสัมพันธ์ หากคู่รัก หรือคนในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ สมองก็จะหลั่งสารชนิดนี้ออกมามาก ส่วน วาโซเพรสซิน เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทต่อคู่รักซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากใช้ชีวิตร่วมกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าฮอร์โมนนี้จะเป็นตัวควบคุมให้คู่รักไม่นอกใจกันและรักษาความสัมพันธ์แบบรักเดียวใจเดียวอีกด้วย
ทำไมบางครั้ง ‘ความรัก’ ถึงสร้างความเจ็บปวดให้กันนะ!

“เมื่อคุณตกหลุมรัก ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาตามธรรมชาติ…ออกซิโทซินและโดพามีนซึ่งเป็นฮอร์โมนของความ 'รู้สึกดี' แต่ทว่าเมื่อคุณหมดรัก ระดับของออกซิโทซินและโดพามีนจะลดลงในทันที ขณะเดียวกันก็มีระดับของฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งก็คือ ‘คอร์ติซอล (cortisol)’ ”
“ระดับคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สามารถนำไปสู่สภาวะต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำหนักขึ้น สิว และความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น” ดร.เดโบราห์ ลี นักเขียนด้านการแพทย์ของคลินิกออนไลน์ Dr Fox Online Pharmacy ในอังกฤษ กล่าว
จากการศึกษาเมื่อปี 2011 ในวารสาร Biological Sciences ระบุว่า “การเลิกกับคู่รัก ยังกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อทำการสแกนสมองของคนที่อกหักด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ก็พบว่าพื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บทางร่างกาย รวมถึงเปลือกสมองส่วนรับความรู้สึกทางกายทุติยภูมิ (หรือคอร์เทกซ์รับความรู้สึก) นั้นถูกเปิดใช้งานหรือถูกกระตุ้น”
“ผลกระทบทางระบบประสาทจากการอกหักสามารถไปถึงระดับสูงสุดจนเปรียบได้กับความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่น อาการเจ็บหน้าอกและอาการกลัวหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง…อาการอกหักดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับกลไกทางประสาทบางอย่างเช่นเดียวกับความเจ็บปวดทางกาย” เอริค ไรเดน แพทย์ด้านจิตวิทยาคลินิกและนักบำบัดโรคที่คลินิก Couples Therapy ในอังกฤษกล่าวกับสำนักข่าว Live Science
ดร.ลี กล่าวเสริมว่า “ระบบประสาทซิมพาเทติก (The sympathetic nervous systems) และพาราซิมพาเทติก (The parasympathetic nervous systems) ซึ่งโดยปกติจะคอยถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อาจถูกกระตุ้นระหว่างการอกหัก โดยระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ตอบสนองการต่อสู้หรือหนี รวมถึงเร่งอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ขณะที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกนั้นจะทำหน้าที่ควบคุมร่างกายขณะที่กำลังพักผ่อน…สำหรับฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วงอกหักก็จะกระตุ้นระบบประสาททั้ง 2 ส่วนนี้แหละ”
“สมองและหัวใจซึ่งตอบสนองต่อวิถีทางเหล่านี้จะรู้สึกสับสนเมื่อได้รับสารที่ผสมปนเปกัน สิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดการรบกวนต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจลดลง…นี่คือหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่าแม่ม่ายและพ่อม่ายมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 41% ที่จะเสียชีวิตในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากสูญเสียคู่สมรส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถตายเพราะอกหักได้จริงๆ”
ในบางกรณี ความรู้สึกของหัวใจที่แตกสลายอาจเป็นอาการทางการแพทย์ที่เรียกว่า ‘Takotsubo cardiomyopathy (อาการที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาการคล้ายโรคหัวใจขาดเลือดกะทันหัน)’ ซึ่งเป็นอาการที่ค้นพบในญี่ปุ่นครั้งแรก เรียกอีกอย่างว่า ‘ภาวะหัวใจสลาย (Broken heart syndrome / stress cardiomyopathy)’ หรือ โรคอกหัก
“ระดับคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สามารถนำไปสู่สภาวะต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำหนักขึ้น สิว และความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น” ดร.เดโบราห์ ลี นักเขียนด้านการแพทย์ของคลินิกออนไลน์ Dr Fox Online Pharmacy ในอังกฤษ กล่าว
จากการศึกษาเมื่อปี 2011 ในวารสาร Biological Sciences ระบุว่า “การเลิกกับคู่รัก ยังกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อทำการสแกนสมองของคนที่อกหักด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ก็พบว่าพื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บทางร่างกาย รวมถึงเปลือกสมองส่วนรับความรู้สึกทางกายทุติยภูมิ (หรือคอร์เทกซ์รับความรู้สึก) นั้นถูกเปิดใช้งานหรือถูกกระตุ้น”
“ผลกระทบทางระบบประสาทจากการอกหักสามารถไปถึงระดับสูงสุดจนเปรียบได้กับความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่น อาการเจ็บหน้าอกและอาการกลัวหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง…อาการอกหักดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับกลไกทางประสาทบางอย่างเช่นเดียวกับความเจ็บปวดทางกาย” เอริค ไรเดน แพทย์ด้านจิตวิทยาคลินิกและนักบำบัดโรคที่คลินิก Couples Therapy ในอังกฤษกล่าวกับสำนักข่าว Live Science
ดร.ลี กล่าวเสริมว่า “ระบบประสาทซิมพาเทติก (The sympathetic nervous systems) และพาราซิมพาเทติก (The parasympathetic nervous systems) ซึ่งโดยปกติจะคอยถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อาจถูกกระตุ้นระหว่างการอกหัก โดยระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ตอบสนองการต่อสู้หรือหนี รวมถึงเร่งอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ขณะที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกนั้นจะทำหน้าที่ควบคุมร่างกายขณะที่กำลังพักผ่อน…สำหรับฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วงอกหักก็จะกระตุ้นระบบประสาททั้ง 2 ส่วนนี้แหละ”
“สมองและหัวใจซึ่งตอบสนองต่อวิถีทางเหล่านี้จะรู้สึกสับสนเมื่อได้รับสารที่ผสมปนเปกัน สิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดการรบกวนต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจลดลง…นี่คือหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่าแม่ม่ายและพ่อม่ายมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 41% ที่จะเสียชีวิตในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากสูญเสียคู่สมรส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถตายเพราะอกหักได้จริงๆ”
ในบางกรณี ความรู้สึกของหัวใจที่แตกสลายอาจเป็นอาการทางการแพทย์ที่เรียกว่า ‘Takotsubo cardiomyopathy (อาการที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาการคล้ายโรคหัวใจขาดเลือดกะทันหัน)’ ซึ่งเป็นอาการที่ค้นพบในญี่ปุ่นครั้งแรก เรียกอีกอย่างว่า ‘ภาวะหัวใจสลาย (Broken heart syndrome / stress cardiomyopathy)’ หรือ โรคอกหัก

สำหรับภาวะหัวใจนี้พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งเกิดจากความเครียดทางอารมณ์หรือทางร่างกายอย่างฉับพลัน จนอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจอ่อนกำลัง ทั้งนี้คนส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวได้ แต่ในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
“การอกหักอาจดูเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะความรักความผูกพันที่คู่รักเหล่านี้เคยได้รับต้องแปรเปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดและถูกทำลายลง” ไรเดน กล่าวทิ้งท้าย
เพราะความรักนั้นบางทีก็ดูเหมือนจะเรียบง่ายแต่ก็ซับซ้อน บางวันรักกันหวานปานน้ำผึ้ง วันต่อมารักนั้นกลายเป็นยาขมไปซะงั้น ความรักก็เป็นแบบนี้แหละ! บันดาลทั้งความสุขและทุกข์ให้กับเรา มีทั้งบทเรียนที่ทั้งน่าจดจำและไม่น่าจำตลอดไป
ดั่งคำคมที่ อัลเฟรด เทนนีสัน กวีแห่งราชสำนักอังกฤษเคยกล่าวไว้ว่า “การมีความรักและสูญเสียมันไป ก็ยังดีกว่าการไม่เคยรักใครเลย”
สวัสดีวันแห่งความรัก! สุขสันต์วันวาเลนไทน์!
“การอกหักอาจดูเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะความรักความผูกพันที่คู่รักเหล่านี้เคยได้รับต้องแปรเปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดและถูกทำลายลง” ไรเดน กล่าวทิ้งท้าย
เพราะความรักนั้นบางทีก็ดูเหมือนจะเรียบง่ายแต่ก็ซับซ้อน บางวันรักกันหวานปานน้ำผึ้ง วันต่อมารักนั้นกลายเป็นยาขมไปซะงั้น ความรักก็เป็นแบบนี้แหละ! บันดาลทั้งความสุขและทุกข์ให้กับเรา มีทั้งบทเรียนที่ทั้งน่าจดจำและไม่น่าจำตลอดไป
ดั่งคำคมที่ อัลเฟรด เทนนีสัน กวีแห่งราชสำนักอังกฤษเคยกล่าวไว้ว่า “การมีความรักและสูญเสียมันไป ก็ยังดีกว่าการไม่เคยรักใครเลย”
สวัสดีวันแห่งความรัก! สุขสันต์วันวาเลนไทน์!
