แค่พิมพ์งานก็ตรวจจับ ‘ความเครียด’ ได้
รู้หรือไม่ว่าเวลาที่เราพิมพ์บนแป้นคีย์บอร์ดและคลิกเมาส์คอมพิวเตอร์นั้นเป็นตัวบ่งชี้ความเครียดได้ดีกว่าอัตราการเต้นของหัวใจซะอีก นักวิจัยชาวสวิสเซอร์แลนด์กล่าวเมื่อวันอังคาร (11 เม.ย.) ที่ผ่านมาว่า การพัฒนาแบบจำลองดังกล่าวสามารถช่วยป้องกันความเครียดเรื้อรังได้นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยี Swiss Federal Institute of Technology ในเมืองซูริก (ETHZ) กล่าวว่า พวกเขาใช้ชุดข้อมูลใหม่และการเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ (Machine learning) เพื่อพัฒนาแบบจำลองใหม่สำหรับการตรวจจับระดับความเครียดในที่ทำงานได้ง่ายๆ โดยสังเกตจากการพิมพ์หรือใช้เมาส์เท่านั้น
มารา เนเกิล นักคณิตศาสตร์และนักวิจัยกล่าวว่า “ดูเหมือนว่าการพิมพ์บนแป้นพิมพ์และเลื่อนเมาส์ของเรานั้นจะเป็นตัวทำนายที่ดีกว่าว่าเรารู้สึกเครียดอย่างไรในสภาพแวดล้อมที่ทำงานได้ดีกว่าอัตราการเต้นของหัวใจ”
สำหรับการศึกษานี้ นักวิจัยของสถาบัน ETHZ ได้สังเกตผู้เข้าร่วม 90 คนในห้องแล็บที่จำลองสำนักงานเสมือนจริงแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนักวิจัยบันทึกพฤติกรรมการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ของผู้เข้าร่วมตลอดจนอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงถามผู้เข้าร่วมเป็นประจำว่าพวกเขารู้สึกเครียดไหม
ผู้เข้าร่วมบางคนจะถูกทดสอบด้วยการให้ทำงานโดยไม่ถูกรบกวน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของกลุ่มจะถูกขัดจังหวะด้วยข้อความแชทซ้ำๆ และยังถูกขอให้มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์งานอีกด้วย
นักวิจัยระบุว่าคนที่เครียดนั้นจะมีลักษณะการพิมพ์และเลื่อนเมาส์แตกต่างจากคนที่ผ่อนคลาย “คนที่เครียดจะคลิกเมาส์บ่อยขึ้น เริ่มถอยห่างจากหน้าจอคอมฯ และมีความแม่นยำน้อยลง กล่าวคือพวกเขามักพิมพ์ผิดและพิมพ์ๆ หยุดๆ หลายครั้งนั่นเอง ในทางตรงกันข้าม คนที่ผ่อนคลายจะมีระยะห่างจากหน้าจอคอมฯ ใกล้กว่า (ตั้งหน้าตั้งตาพิมพ์นั่นเอง) และไม่พิมพ์ๆ หยุดๆ บ่อย”
ตรวจจับความเครียดพนักงาน = เป้าหมายที่แท้จริง

ความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับพฤติกรรมการกดแป้นพิมพ์และคลิกเมาส์สามารถอธิบายได้ผ่านทฤษฎีเสียงของระบบประสาทสั่งการ (neuromotor noise theory)
“ระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นส่งผลเสียต่อความสามารถของสมองในการประมวลผลข้อมูล นอกจากนี้ยังส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเราด้วย” จัสมิน เคอร์ นักจิตวิทยาและนักวิจัยร่วมกล่าว
นักวิจัยกล่าวว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะหาวิธีที่เชื่อถือได้ในการตรวจจับความเครียดที่เพิ่มขึ้นในที่ทำงาน โดยชี้ว่าพนักงาน 1 ใน 3 ในสวิตเซอร์แลนด์ประสบกับความเครียดดังกล่าว
ขณะนี้นักวิจัยกำลังทดสอบแบบจำลองด้วยข้อมูลจากพนักงานชาวสวิสที่ยินยอมให้บันทึกพฤติกรรมการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจขณะทำงานโดยใช้แอปฯ
ทางสถาบัน ETHZ คาดว่าจะทราบผลภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ นักวิจัยรับทราบว่าข้อมูลที่พวกเขารวบรวมมานั้นมีความละเอียดอ่อน โดยเสริมว่าพวกเขากำลังทำงานร่วมกับพนักงานและนักจริยธรรมเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดการด้วยความรับผิดชอบ
“วิธีเดียวที่ผู้คนจะยอมรับและใช้เทคโนโลยีของเราคือ หากเรารับประกันได้ว่าเราจะปกปิดข้อมูลและปกป้องข้อมูลของพวกเขา…เราต้องการช่วยให้พนักงานสามารถระบุความเครียดได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่เพียงแค่สร้างเครื่องมือสังเกตการณ์สำหรับบริษัท” เคอร์กล่าวทิ้งท้าย
“ระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นส่งผลเสียต่อความสามารถของสมองในการประมวลผลข้อมูล นอกจากนี้ยังส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเราด้วย” จัสมิน เคอร์ นักจิตวิทยาและนักวิจัยร่วมกล่าว
นักวิจัยกล่าวว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะหาวิธีที่เชื่อถือได้ในการตรวจจับความเครียดที่เพิ่มขึ้นในที่ทำงาน โดยชี้ว่าพนักงาน 1 ใน 3 ในสวิตเซอร์แลนด์ประสบกับความเครียดดังกล่าว
ขณะนี้นักวิจัยกำลังทดสอบแบบจำลองด้วยข้อมูลจากพนักงานชาวสวิสที่ยินยอมให้บันทึกพฤติกรรมการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจขณะทำงานโดยใช้แอปฯ
ทางสถาบัน ETHZ คาดว่าจะทราบผลภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ นักวิจัยรับทราบว่าข้อมูลที่พวกเขารวบรวมมานั้นมีความละเอียดอ่อน โดยเสริมว่าพวกเขากำลังทำงานร่วมกับพนักงานและนักจริยธรรมเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดการด้วยความรับผิดชอบ
“วิธีเดียวที่ผู้คนจะยอมรับและใช้เทคโนโลยีของเราคือ หากเรารับประกันได้ว่าเราจะปกปิดข้อมูลและปกป้องข้อมูลของพวกเขา…เราต้องการช่วยให้พนักงานสามารถระบุความเครียดได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่เพียงแค่สร้างเครื่องมือสังเกตการณ์สำหรับบริษัท” เคอร์กล่าวทิ้งท้าย