ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งอีกครั้ง หลายๆ พรรคการเมืองต่างก็พากันเดินสายหาเสียงกันยกใหญ่ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัดโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
สื่อต่างประเทศมากมายก็วิเคราะห์การเลือกตั้งไทยไปในทิศทางที่หลากหลาย และต่างก็บอกว่าพรรคต่างๆ ล้วนพยายามเสนอนโยบายแจกเงินกันถ้วนหน้า (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่) ขณะเดียวกันหนึ่งในพรรคฝ่ายค้านอย่างเพื่อไทยก็ถูกวิเคราะห์อนาคตการเมืองว่าหากพวกเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งก็อาจจะโดนยุบพรรคได้
จากบทวิเคราะห์ของ Nikkei Asia ระบุว่า ผู้นำของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดของไทย กำลังประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่รอพวกเขาอยู่ หากพวกเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งพวกเขาอาจเสี่ยงต่อการถูกยุบพรรค เพราะทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
แหล่งข่าวในพรรคระบุว่า เนื่องจากเคยมีพรรคการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตยอีกพรรคหนึ่งถูกบังคับให้ยุบพรรคหลังจากการเลือกตั้งในปี 2019 เพราะละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยการหารือเมื่อเร็วๆ นี้ในที่ประชุมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงความจำเป็นในการ ‘ประกันความเสี่ยงการเมือง’ เพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว
“เราไม่สามารถประเมินคู่ต่อสู้ของเราต่ำไป (ขณะที่พวกเขาพยายาม) ทุกวิถีทางที่จะขัดขวางไม่ให้เราจัดตั้งรัฐบาลได้…พรรคต้องการที่นั่งอย่างน้อย 251 จาก 500 ที่นั่งเพื่อสร้างอำนาจในการเลือกตั้งเพื่อจัดการกับภัยคุกคามนี้ และมีเป้าหมายที่จะได้ที่นั่ง 310 ที่นั่งเพื่อความมั่นคงทางการเมืองที่มากขึ้นในการต่อรองหลังเลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาล” พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย กล่าวกับ Nikkei Asia
พรรคเพื่อไทยเป็นเหมือนตัวแทนล่าสุดของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้นำกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลมากที่สุดของประเทศ โดยจะส่งผู้สมัคร 392 คนเพื่อชิงที่นั่งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 ที่นั่ง และผู้สมัคร 100 คนสำหรับที่นั่งแบบปาร์ตี้ลิสต์ 100 ที่นั่ง
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยนำพรรคใหญ่อื่นๆ อย่างพลังประชารัฐ และภูมิใจไทย นอกจากนี้ ผลสำรวจโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาระบุว่า พรรคได้รับการสนับสนุน 49% แต่จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมาก็พบว่าคะแนนสนับสนุนพรรค็ลดลงเหลือ 46%
ตามรายงานของ Thai Enquirer เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ท้องถิ่นระบุว่า การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้โดยกองบัญชาการตำรวจสันติบาลคาดว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่ง 265 ที่นั่ง แซงหน้าพรรคภูมิใจไทย 4 เท่า
ทว่าการต่อต้านคือภัยคุกคามที่แขวนคอชะตากรรมของพรรคเพื่อไทย ซึ่งอาจส่งผลให้พรรคถูกยุบภายใต้กระบวนการศาลของประเทศได้
สื่อต่างประเทศมากมายก็วิเคราะห์การเลือกตั้งไทยไปในทิศทางที่หลากหลาย และต่างก็บอกว่าพรรคต่างๆ ล้วนพยายามเสนอนโยบายแจกเงินกันถ้วนหน้า (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่) ขณะเดียวกันหนึ่งในพรรคฝ่ายค้านอย่างเพื่อไทยก็ถูกวิเคราะห์อนาคตการเมืองว่าหากพวกเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งก็อาจจะโดนยุบพรรคได้
จากบทวิเคราะห์ของ Nikkei Asia ระบุว่า ผู้นำของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดของไทย กำลังประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่รอพวกเขาอยู่ หากพวกเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งพวกเขาอาจเสี่ยงต่อการถูกยุบพรรค เพราะทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
แหล่งข่าวในพรรคระบุว่า เนื่องจากเคยมีพรรคการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตยอีกพรรคหนึ่งถูกบังคับให้ยุบพรรคหลังจากการเลือกตั้งในปี 2019 เพราะละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยการหารือเมื่อเร็วๆ นี้ในที่ประชุมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงความจำเป็นในการ ‘ประกันความเสี่ยงการเมือง’ เพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว
“เราไม่สามารถประเมินคู่ต่อสู้ของเราต่ำไป (ขณะที่พวกเขาพยายาม) ทุกวิถีทางที่จะขัดขวางไม่ให้เราจัดตั้งรัฐบาลได้…พรรคต้องการที่นั่งอย่างน้อย 251 จาก 500 ที่นั่งเพื่อสร้างอำนาจในการเลือกตั้งเพื่อจัดการกับภัยคุกคามนี้ และมีเป้าหมายที่จะได้ที่นั่ง 310 ที่นั่งเพื่อความมั่นคงทางการเมืองที่มากขึ้นในการต่อรองหลังเลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาล” พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย กล่าวกับ Nikkei Asia
พรรคเพื่อไทยเป็นเหมือนตัวแทนล่าสุดของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้นำกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลมากที่สุดของประเทศ โดยจะส่งผู้สมัคร 392 คนเพื่อชิงที่นั่งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 ที่นั่ง และผู้สมัคร 100 คนสำหรับที่นั่งแบบปาร์ตี้ลิสต์ 100 ที่นั่ง
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยนำพรรคใหญ่อื่นๆ อย่างพลังประชารัฐ และภูมิใจไทย นอกจากนี้ ผลสำรวจโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาระบุว่า พรรคได้รับการสนับสนุน 49% แต่จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมาก็พบว่าคะแนนสนับสนุนพรรค็ลดลงเหลือ 46%
ตามรายงานของ Thai Enquirer เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ท้องถิ่นระบุว่า การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้โดยกองบัญชาการตำรวจสันติบาลคาดว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่ง 265 ที่นั่ง แซงหน้าพรรคภูมิใจไทย 4 เท่า
ทว่าการต่อต้านคือภัยคุกคามที่แขวนคอชะตากรรมของพรรคเพื่อไทย ซึ่งอาจส่งผลให้พรรคถูกยุบภายใต้กระบวนการศาลของประเทศได้

ประเด็นก็คือการพูดคุยของทักษิณบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Clubhouse เกี่ยวกับการเมืองไทยและการปรากฏตัวของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุนทักษิณ โดยทั้งคู่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายเลือกตั้งของประเทศไทยซึ่งห้ามไม่ให้ ‘คนนอก’ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองของพรรค
ทักษิณและณัฐวุฒิเคยทำผิดกฎของคณะกรรมาธิการในการใช้อำนาจอย่างเสรีและตีความระเบียบการเลือกตั้งในแบบที่เห็นสมควรได้เหมือนเช่นที่เคยทำในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2019
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีเวลา 60 วันหลังจากการลงคะแนนเพื่อรับรองผล แต่ถึงแม้จะอนุมัติผลแล้ว กกต. ก็ยังสามารถติดตามพรรคการเมืองใดก็ได้ในรัฐสภาใหม่ตาม ‘ข้อมูลใหม่’ ใดๆ ที่ได้รับเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎการเลือกตั้ง ดังนั้นแม้พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งก็ยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามดังกล่าว
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2019 คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งถูกแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำการคำนวณที่ไม่ทราบมาก่อนเพื่อให้ที่นั่งในรัฐสภาแก่พรรคเล็กๆ ที่สนับสนุนทหารทันทีหลังจากการเลือกตั้งปิดลง
นอกจากนี้รัฐบาลสมัยนั้นยังยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อเยาวชน และได้ที่นั่งจำนวนมากอย่างคาดไม่ถึงเป็นอันดับ 3 เนื่องจากละเมิดกฎหมายการเลือกตั้ง การแทรกแซงนี้เปิดทางให้ประยุทธ์ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 2 ได้จัดตั้งรัฐบาล
ทักษิณและณัฐวุฒิเคยทำผิดกฎของคณะกรรมาธิการในการใช้อำนาจอย่างเสรีและตีความระเบียบการเลือกตั้งในแบบที่เห็นสมควรได้เหมือนเช่นที่เคยทำในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2019
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีเวลา 60 วันหลังจากการลงคะแนนเพื่อรับรองผล แต่ถึงแม้จะอนุมัติผลแล้ว กกต. ก็ยังสามารถติดตามพรรคการเมืองใดก็ได้ในรัฐสภาใหม่ตาม ‘ข้อมูลใหม่’ ใดๆ ที่ได้รับเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎการเลือกตั้ง ดังนั้นแม้พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งก็ยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามดังกล่าว
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2019 คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งถูกแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำการคำนวณที่ไม่ทราบมาก่อนเพื่อให้ที่นั่งในรัฐสภาแก่พรรคเล็กๆ ที่สนับสนุนทหารทันทีหลังจากการเลือกตั้งปิดลง
นอกจากนี้รัฐบาลสมัยนั้นยังยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อเยาวชน และได้ที่นั่งจำนวนมากอย่างคาดไม่ถึงเป็นอันดับ 3 เนื่องจากละเมิดกฎหมายการเลือกตั้ง การแทรกแซงนี้เปิดทางให้ประยุทธ์ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 2 ได้จัดตั้งรัฐบาล

สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่เผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนนิยม 47.2% โดยใกล้เคียงกับผลสำรวจความคิดเห็นในเดือนมีนาคมที่ระบุว่า เพื่อไทยเป็นพรรคผู้นำอันดับต้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สนับสนุนไม่ได้ละทิ้งพวกเขา
ถึงกระนั้น ผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยที่คร่ำหวอดต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าความวิตกกังวลของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ถูกใส่ไว้ผิดที่ เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์การเมืองในอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พรรคการเมืองหลายพรรคที่ก่อตั้งโดยทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทุกครั้งติดต่อกันตั้งแต่ปี 2001 แต่พวกเขาทั้งหมดไม่ได้พ่ายแพ้เพราะบัตรเลือกตั้ง แต่โดนเครือข่ายสถาบันทหารเข้ายึดอำนาจ
อย่างไรก็ดี การแทรกแซงของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยมีตั้งแต่การรัฐประหาร 2 ครั้งในปี 2006 และปี 2014 ไปจนถึง ‘การรัฐประหารตามรัฐธรรมนูญ’ ที่ทำให้ศาลมีคำพิพากษาอย่างรวดเร็วเพื่อล้มรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณในเดือนธันวาคม 2008 ไปจนถึงการสลายการชุมนุมของ 3 ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณด้วย
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์อาวุโสจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ‘การจัดฉากซ้ำซาก’ ยังอยู่ในไพ่เกมการเมือง และพรรคเพื่อไทยมีเหตุผลที่ต้องกังวล “พวกเขามีหลายประเด็นที่ไปกระตุ้นยั่วยุ และเรารู้ว่าหน่วยงานผู้ตัดสินเหล่านี้มีอคติ” ฐิตินันท์กล่าวในคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ขณะที่นักการทูตที่ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ กำลังให้ความสนใจกับ ‘ปัจจัยผิดปกติ’ เหล่านี้ ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ “ส่วนต่างของชัยชนะจะมากน้อยเพียงใดในการพยายามต่อต้านพรรคเพื่อไทย พวกเขาจะยอมเสี่ยงที่จะล้มล้างอาณัติประชาธิปไตยที่ชัดเจนหรือไม่?” นักการทูตจากคณะทูตตะวันตกตั้งข้อสังเกต
ถึงกระนั้น ผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยที่คร่ำหวอดต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าความวิตกกังวลของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ถูกใส่ไว้ผิดที่ เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์การเมืองในอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พรรคการเมืองหลายพรรคที่ก่อตั้งโดยทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทุกครั้งติดต่อกันตั้งแต่ปี 2001 แต่พวกเขาทั้งหมดไม่ได้พ่ายแพ้เพราะบัตรเลือกตั้ง แต่โดนเครือข่ายสถาบันทหารเข้ายึดอำนาจ
อย่างไรก็ดี การแทรกแซงของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยมีตั้งแต่การรัฐประหาร 2 ครั้งในปี 2006 และปี 2014 ไปจนถึง ‘การรัฐประหารตามรัฐธรรมนูญ’ ที่ทำให้ศาลมีคำพิพากษาอย่างรวดเร็วเพื่อล้มรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณในเดือนธันวาคม 2008 ไปจนถึงการสลายการชุมนุมของ 3 ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณด้วย
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์อาวุโสจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ‘การจัดฉากซ้ำซาก’ ยังอยู่ในไพ่เกมการเมือง และพรรคเพื่อไทยมีเหตุผลที่ต้องกังวล “พวกเขามีหลายประเด็นที่ไปกระตุ้นยั่วยุ และเรารู้ว่าหน่วยงานผู้ตัดสินเหล่านี้มีอคติ” ฐิตินันท์กล่าวในคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ขณะที่นักการทูตที่ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ กำลังให้ความสนใจกับ ‘ปัจจัยผิดปกติ’ เหล่านี้ ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ “ส่วนต่างของชัยชนะจะมากน้อยเพียงใดในการพยายามต่อต้านพรรคเพื่อไทย พวกเขาจะยอมเสี่ยงที่จะล้มล้างอาณัติประชาธิปไตยที่ชัดเจนหรือไม่?” นักการทูตจากคณะทูตตะวันตกตั้งข้อสังเกต