เปิดใจ ‘อีลีท’ เกาหลีเหนือกับรสชาติประชาธิปไตยในต่างแดนและเส้นทางการตัดสินใจ ‘แปรพักตร์’

2 มี.ค. 2566 - 08:35

  • ชาวเกาหลีเหนือหลายหมื่นคนหนีรอดพ้นจากการกดขี่และความยากจนในบ้านเกิดโดยการเดินทางข้ามพรมแดนทางบกของประเทศที่ติดกับประเทศจีน ทว่าการเดินทางไกลนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจับกุมและอาจถูกเนรเทศออกนอกประเทศ

  • โอฮเยซอน เกิดในครอบครัวชนชั้นสูง หรือที่เรามักจะเรียกติดปากกันว่า ‘อีลีท’ ของเกาหลีเหนือที่มีสายสัมพันธ์กับราชวงศ์ แม้ว่าเธอจะเกิดมาพร้อมกับ ‘ความพิเศษ’ แต่เธอคงต้องหยุดความคิดเอาไว้แต่เพียงเท่านี้

They-were-amongNKoreas-elite-but-fled-anyway-SPACEBAR-Thumbnail
ชาวเกาหลีเหนือหลายหมื่นคนหนีรอดพ้นจากการกดขี่และความยากจนในบ้านเกิดโดยการเดินทางข้ามพรมแดนทางบกของประเทศที่ติดกับประเทศจีน ทว่าการเดินทางไกลนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจับกุมและอาจถูกเนรเทศออกนอกประเทศ 

โอฮเยซอน เกิดในครอบครัวชนชั้นสูง หรือที่เรามักจะเรียกติดปากกันว่า ‘อีลีท’ ของเกาหลีเหนือที่มีสายสัมพันธ์กับราชวงศ์ แม้ว่าเธอจะเกิดมาพร้อมกับ ‘ความพิเศษ’ แต่เธอคงต้องหยุดความคิดเอาไว้แต่เพียงเท่านี้  

ทางเลือกที่จะ ‘ออกห่างจากครอบครัว’ ของฮเยซอนนั้น มีความอันตรายน้อยกว่าการเดินทางไกลนี้ ทว่าก็น่าสะเทือนใจไม่แพ้กัน เธอโน้มน้าวให้ ‘แทยองโฮ’ สามีของเธอ ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำกรุงลอนดอน ยอมละทิ้ง ‘สิทธิพิเศษ’ หรือ ‘พรีวิลเลจ’ ใดๆ ก็ตามในระบอบการปกครองเกาหลีเหนือ เพื่อลูกๆ ของเธอ  

“ฉันไม่อยากกลับไปเกาหลีเหนือ และมักจะตั้งคำถามว่าทำไมชาวเกาหลีเหนือถึงต้องใช้ชีวิตอย่างลำบากแบบนี้” ฮเยซอนให้สัมภาษณ์ในกรุงโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็นที่ที่เธออาศัยอยู่ในขณะนี้ 

ฮเยซอนกล่าวว่า หลายปีของการเดินทางไปทั่วยุโรป ทั้งเดนมาร์ก สวีเดน และอังกฤษ ทำให้ครอบครัวของเธอได้สัมผัสกับชีวิตที่แตกต่าง นอกจากนี้เธอยังเล่าอีกว่า ตอนที่เธอเดินทางมาถึงที่ลอนดอนเป็นครั้งแรก เธอก็คิดได้เลยว่า ‘ถ้าจะมีสวรรค์สักที่ ก็คงต้องเป็นที่นี่แน่ๆ’ 

ฮเยซอนได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับชีวิตของเธอในภาษาเกาหลี ซึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยเป็นส่วนหนึ่งของขุนนางในเปียงยาง โดยเธอเป็นลูกหลานของนายพลชาวเกาหลีเหนือที่มีชื่อเสียง และต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่มากับผู้นำ คิมอิลซุง ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่เกาหลีเหนือกำลังต่อสู้กับญี่ปุ่น 

“ไม่มีใครยกเว้นตระกูลคิมที่ได้รับสิทธิพิเศษ ฉันจึงตระหนักได้ว่าไม่มีอนาคตสำหรับลูกๆ ของฉันในเกาหลีเหนือ” ฮเยซอน กล่าว 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1BI7ldW9C4VTF118dKgAM2/0181509f62c3de1159a5851584af18f5/They-were-amongNKoreas-elite-but-fled-anyway-SPACEBAR-Photo01
Photo: KCNA VIA KNS / AFP

แต่แม้จะมีสายเลือดที่ไร้ที่ตินี้ เธอก็ยัง ‘ใช้ชีวิตด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจ’  

ฮเยซอนกล่าวว่า ไม่มีใครยกเว้นตระกูลคิมที่ได้รับสิทธิพิเศษ ขณะที่ลูกๆ ของฉันเรียนรู้เกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตยตอนอาศัยอยู่ต่างประเทศ ฉันจึงตระหนักได้ว่าไม่มีอนาคตสำหรับพวกเขาในเกาหลีเหนือ 

‘แทจูฮยอก’ ลูกชายคนโตของฮเยซอน มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง รวมถึงโรคไต ซึ่งเป็นภาวะที่อาจคุกคามชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา 

หากถามถึงการได้รับการรักษานั้น ‘แทบเป็นไปไม่ได้’ เลยในระบบสุขภาพที่พังทลายของเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบที่เลวร้ายที่สุดในโลก ระบบที่ต้องติดสินบนกับแพทย์เพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และยารักษาโรคที่สำคัญก็ยังคงขาดแคลน 

ในปี 2004 เป็นปีที่ ครอบครัวของฮเยซอนได้เปิดหูเปิดตาเมื่อได้เดินทางไปลอนดอนจากการที่สามีของเธอไปปฏิบัติงานทางการทูตเป็นครั้งแรก และมีสิทธิได้เข้ารับการรักษาที่สถานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) จนล่าสุดลูกชายของเธอจะสามารถเข้ารับการรักษาฟรีในสถานพยาบาลที่ดีที่สุดในเมือง อีกทั้งลูกๆ ของเธอก็ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนในอังกฤษเช่นกัน 

“เด็กๆ เติบโตอย่างสดใสในอังกฤษ ในสังคมที่เคารพพวกเขา” เธอกล่าว 

มันตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับชีวิตในเกาหลีเหนือที่ครอบครัวของฮเยซอนต้องกลับมาเจอในปี 2008 หลังจากการปฏิบัติงานครั้งแรกในลอนดอนของสามีเธอสิ้นสุดลง 

จูฮยอกเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยการแพทย์เปียงยาง แต่แทนที่จะได้เรียนหนังสือ เขากลับถูกส่งไปทำงานในไซต์ก่อสร้างโดยได้บรรทุกปูนซีเมนต์ 

ตามรายงานการค้ามนุษย์ปี 2022 ที่เผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า เกาหลีเหนือ ถูกรุมเร้าด้วยการขาดแคลนแรงงานในภาคเศรษฐกิจต่างๆ และเป็นเรื่องปกติที่รัฐบาลจะสั่งให้นักศึกษา หรือแม้แต่เด็กนักเรียนทำงานใช้แรงงานเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และหากไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีรายงานออกมาว่า รัฐบาลระงับการปันส่วนอาหาร หรือเรียกเก็บภาษี  

เมื่อลูกๆ ของเธอที่เติบโตในต่างประเทศเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับการทุจริตและความอยุติธรรมที่พวกเขาสังเกตเห็นในเกาหลีเหนือ ฮเยซอนก็ตระหนักว่าคงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะเข้ากับสังคมเกาหลีเหนือได้อย่างสมบูรณ์  

“พวกเขา (ลูกๆ) มีค่าที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตอนนั้นเองฉันก็เริ่มคิดว่า ถ้าฉันมีโอกาสไปต่างประเทศอีกครั้ง ฉันจะไม่กลับมาอีก” ฮเยซอนกล่าว  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3QJGtNlw47iaOKC8lK0dnL/e38aa49cfd31d8091bc1a71bc73f96a0/They-were-amongNKoreas-elite-but-fled-anyway-SPACEBAR-Photo02
Photo: Jung Yeon-je / AFP

“ในเกาหลีเหนือ คุณดำรงอยู่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เพื่อผลประโยชน์ของตระกูลคิม” ฮเยซอนกล่าว

โอกาสของฮเยซอนมาถึงเมื่อสามีของเธอ ถูกส่งไปลอนดอนอีกครั้งในฐานะรองเอกอัครราชทูต และเธอได้โน้มน้าวให้เขา ‘แปรพักต์’ เพราะเธอไม่ต้องการให้ลูกๆ ของเธอขุ่นเคืองใจในอนาคต เธอหวังว่าระบอบการปกครองของเกาหลีเหนือจะล่มสลายหลังจากการเสียชีวิตของ ‘คิมจองอิล’ บิดาของ ‘คิมจองอึน’ ผู้นำคนปัจจุบัน แต่แล้วเธอก็ต้องรู้สึกสะเทือนใจเมื่อเขากลายเป็นผู้นำคิมรุ่นที่ 3 

“ในเกาหลีเหนือ คุณดำรงอยู่ – ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ – เพื่อประโยชน์ของตระกูลคิม” ฮเยซอนกล่าว 

สามีของเธอกลายเป็นผู้แปรพักตร์คนแรกที่ได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภาของเกาหลีใต้ ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มีชื่อเสียงของพรรคพลังประชาชนอนุรักษ์นิยม ฮเยซอนรักชีวิตใหม่ของเธอในกรุงโซล แต่ก็ยังคงถูกหลอกหลอนด้วยความคิดเกี่ยวกับแม่และพี่น้องของเธอที่ถูกทิ้งไว้ในเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าต้องลงโทษสมาชิกในครอบครัวของผู้แปรพักตร์ 

เธอบอกว่า เธอไม่สามารถติดต่อกับพวกเขาได้ เนื่องจากการติดต่อของพลเรือนระหว่าง 2 ประเทศนี้ถูกห้าม แม้ว่าผู้แปรพักตร์บางคนจะใช้คนกลางในการลักลอบนำโทรศัพท์มือถือของจีนข้ามพรมแดนมาก็ตาม 

แม้ว่าจะติดต่อไม่ได้ แต่ครั้งหนึ่งเธอเคยเห็นพี่เขยของเธอ ในตอนที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนอย่างเป็นทางการของเกาหลีเหนือที่เดินทางเยือนกรุงโซลในปี 2018 ในช่วงที่การทูตไม่สู้ดีนัก มันทำให้เธอมีความหวังว่าญาติของเธอจะไม่ถูกระบอบคิมกวาดล้างอันเป็นผลมาจากการที่ครอบครัวของเธอหลบหนี 

“พวกเขาจะไม่พอใจฉันไหม? พวกเขาจะอิจฉาฉันไหม หรือพวกเขาจะเชียร์ฉันอย่างเงียบๆ ?” เธอพูดพลางเช็ดน้ำตา 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6RKRRPmlnuZF3K5lhb6g1c/cbb7159d4bec56c708bfb689d9e10c76/QUOTE-________

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์