หากภูเขาน้ำแข็งทิเบตละลาย อาจทำลายพันล้านชีวิตในเอเชีย

13 ม.ค. 2566 - 06:31

  • ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่รู้จักกันมาช้านานว่าเป็น ‘หลังคาโลก’ มีขนาดประมาณยุโรปตะวันตกและเป็นแหล่งน้ำให้กับประชากรเกือบ 2 พันล้านคนในเอเชีย

  • จากการศึกษาบางส่วน ระบุว่า การละลายของธารน้ำแข็งในทิเบต ซึ่งเป็นมวลน้ำจืดที่เยือกแข็งที่ใหญ่ที่สุดนอกบริเวณขั้วโลก มีความเชื่อมโยงกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากมายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก รวมถึงคลื่นความร้อนในยุโรป

Tibetan-Glacial-Melt-Threatens-Billions-SPACEBAR-Thumbnail
‘ประเทศจีน’ เป็นประเทศที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่อื่นๆ ในเอเชียถึง 4 เท่า ที่ราบสูงทิเบตอาจสูญเสียธารน้ำแข็งและชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ (พื้นดินที่อยู่ในพื้นที่หนาวเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง) ส่วนใหญ่ในไม่ช้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำทั่วเอเชีย 

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยได้ทำการศึกษาจนค้นพบว่าธารน้ำแข็งครึ่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธารน้ำแข็งเล็กๆ จะหายไปภายในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คลิกเพื่ออ่านต่อ 

ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่รู้จักกันมาช้านานว่าเป็น ‘หลังคาโลก’ มีขนาดประมาณยุโรปตะวันตกและเป็นแหล่งน้ำให้กับประชากรเกือบ 2 พันล้านคนในเอเชีย โดยเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย รวมถึงแม่น้ำแยงซี แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร และแม่น้ำฮวงโห  

จากการศึกษาบางส่วน ระบุว่า การละลายของธารน้ำแข็งในทิเบต ซึ่งเป็นมวลน้ำจืดที่เยือกแข็งที่ใหญ่ที่สุดนอกบริเวณขั้วโลก มีความเชื่อมโยงกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากมายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก รวมถึงคลื่นความร้อนในยุโรป
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2bmRH8mbhWeZGDMsopuF0b/e1811b5f10772eda59b955289a9d8fe3/Tibetan-Glacial-Melt-Threatens-Billions-SPACEBAR-Photo01
Photo: PETER PARKS / AFP

ประเทศในเอเชียจะอยู่รอดได้อย่างไร หากธารน้ำแข็งในธิเบตละลาย?

บนที่ราบสูงทิเบตซึ่งมีแผ่นน้ำแข็งฮินดูกูชหิมาลายา (HKH) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘ขั้วโลกที่ 3’ ของโลก ที่ซึ่งมีธารน้ำแข็งและหิมะเป็นจำนวนมากรองจากอาร์กติกและแอนตาร์กติก ที่ราบสูงทิเบตมีธารน้ำแข็งมากกว่า 46,000 แห่ง คิดเป็น 14.5% ของธารน้ำแข็งทั้งหมดของโลก  

International Center for Integrated Mountain Development (ICIMOD) ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคต่างๆ เพื่อพัฒนารายงานการประเมินเทือกเขาฮินดูกูชหิมาลายันฉบับแรก ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ปี 2019 รายงานดังกล่าวสนับสนุนรายงานของปี 2014 โดย International Panel on Climate Change (IPCC) แสดงให้เห็นว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อย่างน้อย 1 ใน 3 ของธารน้ำแข็งในเทือกเขาฮินดูกูชในเทือกเขาหิมาลัยจะหมดไปภายในปี 2100 

รายงานนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายเนื่องจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตกใจของธารน้ำแข็งที่ละลายบนเทือกเขาฮินดูกูชหิมาลายัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านน้ำ พลังงาน และอาหารโดยรวมในภูมิภาค 

การร่อยหรอของธารน้ำแข็งเหล่านี้จะส่งผลกระทบทันทีต่อประชากร 240 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในภูเขา ซึ่งหลายคนต้องพึ่งพาน้ำจากหิมะและน้ำแข็งที่ละลาย ขณะที่ในภูมิภาคท้ายน้ำซึ่งมีประชากรราว 2 พันล้านคนอาศัยอยู่ก็จะประสบปัญหาเช่นกัน หนึ่งในลุ่มน้ำที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือแม่น้ำสินธุ ซึ่งจีน อินเดีย ปากีสถาน และอัฟกานิสถานใช้ร่วมกัน 

โทเบียส โบลช์ จากสาขาภูมิศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซูริกและเป็นหนึ่งในผู้ศึกษาเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศไครโอสเฟียร์ในภูมิภาคฮินดูคุชหิมาลายันกล่าวว่า ธารน้ำแข็งสินธุครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ในเทือกเขาคาราโครัมมีความสมดุลของมวล (ธารน้ำแข็งมีน้ำแข็งเพิ่มขึ้นเท่าๆ กับน้ำแข็งที่ละลายไป) แต่นั่นเป็นส่วนผสมของการละลายและการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งบางส่วน สิ่งนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของน้ำท่วม ขณะที่ในลาอูล-สปีติ (ในเทือกเขาหิมาลัยฝั่งตะวันตกของอินเดีย) ธารน้ำแข็งกำลังละลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้พื้นดินในส่วนที่ธารน้ำแข็งร่อยหรอนี้ไม่มั่นคง

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/wMT1EVBuvaXkjGhrFFm7w/0023bbe2cefb5853cb0d0bcf748fd4a4/Tibetan-Glacial-Melt-Threatens-Billions-SPACEBAR-Photo02
Photo: TANG CHHIN Sothy / AFP

ธารน้ำแข็งทิเบต ต้นสาย ‘แม่น้ำโขง’ ที่ให้ชีวิตคนไทย

แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดมาจากการละลายของธารน้ำแข็งบริเวณที่ราบสูงทิเบตบริเวณตอนเหนือของประเทศทิเบต และบริเวณมณฑลชิงไห่ของจีน แม่น้ำโขงมีความยาว 4,900 กม. ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 8 และอันดับที่ 10 ในแง่ของปริมาณน้ำ ซึ่งมีราวๆ 475 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี  

แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากนี้แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกว่า 44% ของแม่น้ำโขงอยู่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญสำหรับระบบนิเวศแก่ประชากรหลายประเทศ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4WlS6cWbjwlnlfhaVXiefP/f91282e8494675a11a59d03744a6bef8/Tibetan-Glacial-Melt-Threatens-Billions-SPACEBAR-Photo03
Photo: TANG CHHIN Sothy / AFP

อะไรคือสิ่งที่น่ากังวลต่อมา?

เป็นไปได้ไหม ที่เราจะเจอเชื้อโรคตัวใหม่ที่มาจาก ‘ธารน้ำแข็ง’ อ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ระบุว่า จุลินทรีย์สามารถสร้างอันตรายได้นานหลายศตวรรษ จุลินทรีย์ก่อโรคสมัยใหม่และแบบโบราณที่ติดอยู่ในน้ำแข็ง อาจนำไปสู่โรคระบาดได้หากมันละลายและไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ 

โกตัม เมนอน ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และชีววิทยาและผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในอินเดียกล่าวว่า มีการศึกษาที่ระบุว่า พบเชื้อไวรัสในศพแช่แข็งที่เสียชีวิตจากไข้หวัดสเปนในปี 1918 ซึ่งเชื้อที่พบยังสามารถแพร่ไปยังผู้อื่นได้ แม้จะมีอายุมาเป็น 100 ปีแล้วก็ตาม   

เนื้อหาบางส่วนที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Biotechnology เมื่อเดือนมิ.ย. โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยหลานโจวของประเทศจีน ได้เก็บตัวอย่างจากธารน้ำแข็ง 21 แห่งบนที่ราบสูงทิเบตเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็ง โดยนักวิจัยได้ระบุชนิดของจุลินทรีย์ 968 ชนิด และกลุ่มยีนเข้ารหัสโปรตีน 25 ล้านกลุ่ม
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5G9Nb57VwtUBDwvFB2avrw/415697bd9fe9e316b321ea58466ff85f/Tibetan-Glacial-Melt-Threatens-Billions-SPACEBAR-Photo04
Photo: FREDERIC J. BROWN / AFP FILES / AFP
ขณะที่ South China Morning Post (SCMP) รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์พบแบคทีเรียเกือบ 1,000 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ใหม่ ในตัวอย่างธารน้ำแข็งที่นำมาจากที่ราบสูงทิเบต ซึ่งพวกเขากล่าวว่าอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ปลายน้ำ หากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้น้ำแข็งละลาย โดยกว่า 80% ของจุลินทรีย์ที่ระบุ เป็นจุลินทรีย์ไม่เคยพบเห็นมาก่อน  

การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของนักวิทยาศาสตร์พบว่าจุลินทรีย์มีโมเลกุลมากกว่า 27,000 โมเลกุลที่สามารถช่วยให้แบคทีเรียทำให้พืช สัตว์ หรือคนป่วยได้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโมเลกุลเหล่านี้เป็นอะไรที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน 

ทั้งนี้ ด้านผู้ศึกษาเตือนว่า ภาวะโลกร้อนที่กำลังทำให้น้ำแข็งละลาย จะเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียที่จะเป็นอันตรายต่อผู้อาศัย เช่น พืช  สัตว์ และมนุษย์ในพื้นที่ท้ายน้ำ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์