กรณีของช้างไทยในศรีลังกา หรือ ‘พลายศักดิ์สุรินทร์’ เป็นตัวจุดชนวนความขัดแย้งในเรื่องของการใช้งานสัตว์หนัก และไม่ให้การดูแลอย่างที่ควรจะเป็น แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนหน้านี้ ศรีลังกาก็เคยใช้งานช้างหนักมากๆ จนตาย และกลายเป็นข่าวดังครึกโครมเมื่อหลายปีที่แล้ว
เมื่อปี 2019 ทิกิริ (Tikiri) ช้างศรีลังกาเพศเมียวัย 70 ปี เสียชีวิตในสภาพที่ผอมแห้งผิวหนังติดกระดูก โดยก่อนหน้านี้ทิกิริเป็นหนึ่งในช้าง 60 เชือกที่ถูกบังคับให้เดินขบวนในเทศกาลเพราเฮรา (Perahera) ในเมืองเคนดีทุกปี จนกระทั่งมูลนิธิ Save Elephant Foundation (SEF) โพสต์รูปภาพทิกิริ พร้อมเน้นย้ำถึงการถูกทารุณกรรม ด้านรัฐมนตรีการท่องเที่ยวศรีลังกาออกมายืนยันว่า ทิกิริจะถูกถอดออกจากการเดินขบวนดังกล่าว
สุดท้ายทิกิริก็ถูกส่งตัวกลับไปยังผู้ดูแลตามการรายงานของสื่อ แต่ผู้ก่อตั้ง SEF โพสต์ข้อความในเวลาต่อมาว่า ทิกิริเสียชีวิตแล้ว
“ความทุกข์ทรมานของทิกิริสิ้นสุดลงแล้ว ตอนนี้วิญญาณของเธอเป็นอิสระ ไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับเธออีกแล้ว ไปสู่สุขคตินะ อย่าหันกลับมามองโลกใบนี้ที่โหดร้ายกับเธอและเพื่อนๆ ของเธอเลย” เขากล่าวในโพสต์บนอินสตาแกรมประกอบกับภาพที่ทิกิริเดินขบวนในงานเทศกาลเพราเฮรา ด้วยร่างกายที่ถูกปกคลุมด้วยเครื่องแต่งกายสีสันสดใส
อย่างไรก็ตาม ทางวัดที่จัดงานเทศกาลดังกล่าวได้ออกมาบอกว่า ทิกิริทุกข์ทรมานจากโรคทางเดินอาหารทำให้ไม่สามารถกินอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักได้ อีกทั้งอาการป่วยนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งและความสามารถของเธอเลย
จากแถลงการณ์ข้างต้นทำให้เกิดเป็นกระแสต่อต้าน แม้ว่าก่อนที่ทิกิริจะตาย เธอก็ได้รับการรักษาแต่อาการของเธอก็ยังคงเหมือนเดิม
ก่อนหน้านี้กลุ่มสิทธิสัตว์ PETA บอกกับ BBC ว่า ช้างจำนวนมากในศรีลังกาต้องทนทุกข์ทรมานกับการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันหรือแย่กว่านั้นในการให้บริหารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แสวงหาผลประโยชน์และไม่เหมาะสม จึงขอเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฏหมายคุ้มครองสัตว์ที่เข้มงวดขึ้นและให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการขี่ช้าง หรือการแสดง
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน #Tikiri ก็ยังคงมีคนพูดถึงอยู่เสมอ ไม่เฉพาะแค่เพียงชาวศรีลังกาเท่านั้น แต่มีคนไทยหลายคนที่พร้อมใจกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของทิกิริ พร้อมทั้งบอกว่าไม่ต้องการเห็นช้างไทยทั้ง 3 ตัวในศรีลังกา (รวมถึงพลายศักดิ์สุรินทร์) ต้องมีชะตากรรมแบบเดียวกับทิกิริอีก
เมื่อปี 2019 ทิกิริ (Tikiri) ช้างศรีลังกาเพศเมียวัย 70 ปี เสียชีวิตในสภาพที่ผอมแห้งผิวหนังติดกระดูก โดยก่อนหน้านี้ทิกิริเป็นหนึ่งในช้าง 60 เชือกที่ถูกบังคับให้เดินขบวนในเทศกาลเพราเฮรา (Perahera) ในเมืองเคนดีทุกปี จนกระทั่งมูลนิธิ Save Elephant Foundation (SEF) โพสต์รูปภาพทิกิริ พร้อมเน้นย้ำถึงการถูกทารุณกรรม ด้านรัฐมนตรีการท่องเที่ยวศรีลังกาออกมายืนยันว่า ทิกิริจะถูกถอดออกจากการเดินขบวนดังกล่าว
สุดท้ายทิกิริก็ถูกส่งตัวกลับไปยังผู้ดูแลตามการรายงานของสื่อ แต่ผู้ก่อตั้ง SEF โพสต์ข้อความในเวลาต่อมาว่า ทิกิริเสียชีวิตแล้ว
“ความทุกข์ทรมานของทิกิริสิ้นสุดลงแล้ว ตอนนี้วิญญาณของเธอเป็นอิสระ ไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับเธออีกแล้ว ไปสู่สุขคตินะ อย่าหันกลับมามองโลกใบนี้ที่โหดร้ายกับเธอและเพื่อนๆ ของเธอเลย” เขากล่าวในโพสต์บนอินสตาแกรมประกอบกับภาพที่ทิกิริเดินขบวนในงานเทศกาลเพราเฮรา ด้วยร่างกายที่ถูกปกคลุมด้วยเครื่องแต่งกายสีสันสดใส
อย่างไรก็ตาม ทางวัดที่จัดงานเทศกาลดังกล่าวได้ออกมาบอกว่า ทิกิริทุกข์ทรมานจากโรคทางเดินอาหารทำให้ไม่สามารถกินอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักได้ อีกทั้งอาการป่วยนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งและความสามารถของเธอเลย
จากแถลงการณ์ข้างต้นทำให้เกิดเป็นกระแสต่อต้าน แม้ว่าก่อนที่ทิกิริจะตาย เธอก็ได้รับการรักษาแต่อาการของเธอก็ยังคงเหมือนเดิม
ก่อนหน้านี้กลุ่มสิทธิสัตว์ PETA บอกกับ BBC ว่า ช้างจำนวนมากในศรีลังกาต้องทนทุกข์ทรมานกับการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันหรือแย่กว่านั้นในการให้บริหารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แสวงหาผลประโยชน์และไม่เหมาะสม จึงขอเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฏหมายคุ้มครองสัตว์ที่เข้มงวดขึ้นและให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการขี่ช้าง หรือการแสดง
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน #Tikiri ก็ยังคงมีคนพูดถึงอยู่เสมอ ไม่เฉพาะแค่เพียงชาวศรีลังกาเท่านั้น แต่มีคนไทยหลายคนที่พร้อมใจกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของทิกิริ พร้อมทั้งบอกว่าไม่ต้องการเห็นช้างไทยทั้ง 3 ตัวในศรีลังกา (รวมถึงพลายศักดิ์สุรินทร์) ต้องมีชะตากรรมแบบเดียวกับทิกิริอีก