‘หวอ วัน เถือง’ ประธานาธิบดีเวียดนาม ผู้ยกระดับ ‘ไฟที่เคยมอด’ ให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง!

3 มี.ค. 2566 - 07:29

  • เวียดนามได้เลือกประธานาธิบดีคนใหม่หลังจากการต่อต้านการทุจริตและการแย่งชิงอำนาจผู้นำ โดย ‘หวอ วัน เถือง’ เข้ารับตำแหน่งต่อจาก ‘เหงียน ซวน ฟุค’ ซึ่งก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม

  • การเลือกตั้งของเถืองเกิดขึ้นหลังการลาออกอย่างกะทันหันในเดือนมกราคม ซึ่งพรรคกล่าวโทษว่าเป็นการละเมิดและการกระทำผิดโดยเจ้าหน้าที่ภายใต้การควบคุมของฟุค

Vietnam-parliament-elects-Vo-Van-Thuong-new-president-SPACEBAR-Thumbnail
เวียดนามได้เลือกประธานาธิบดีคนใหม่หลังจากการต่อต้านการทุจริตและการแย่งชิงอำนาจผู้นำ โดย ‘หวอ วัน เถือง’ เข้ารับตำแหน่งต่อจาก ‘เหงียน ซวน ฟุค’ ซึ่งก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม 

การเลือกตั้งของเถืองเกิดขึ้นหลังการลาออกอย่างกะทันหันในเดือนมกราคม ซึ่งพรรคกล่าวโทษว่าเป็นการละเมิดและการกระทำผิดโดยเจ้าหน้าที่ภายใต้การควบคุมของฟุค หลังมีการยกระดับครั้งใหญ่ของไฟที่ลุกโชนของประเทศในการปราบปรามการคอร์รัปชัน  

ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกต่อรัฐสภาในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ เถืองกล่าวว่าเขาจะ ‘แน่วแน่’ ที่จะดำเนินการต่อสู้กับการทุจริตต่อไป

“ผมจะจงรักภักดีต่อปิตุภูมิ ประชาชน และรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง โดยมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากพรรค รัฐ และประชาชน” เถืองกล่าวในถ้อยแถลงที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ทางการเวียดนาม

เถืองในวัย 52 ปี ที่มีประสบการณ์ในเส้นทางการเมืองมาอย่างโชกโชน เขาเป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของคณะโปลิตบูโร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของประเทศ และถือเป็นผู้คร่ำหวอดในพรรค นอกจากนี้ เขายังมีชื่อเสียงจากการทำงานเกือบทั้งหมดในพรรค และมีส่วนร่วมในลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ออร์ทอดอกซ์ 

นั่นอาจดูเป็นทางเลือกที่เก่าแก่และโบราณมาก ในประเทศที่ยอมรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่หยุดยั้งและยังเล่นกลกับความสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนกับสหรัฐฯ และจีน แต่ก็เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เหงียน ฝู จ่อง ซึ่งเป็นผู้นำที่มีอำนาจมากที่สุดของเวียดนามนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกับสหรัฐฯ ในปี 1975 

ในบรรดา ‘4 เสาหลัก’ ที่อยู่บนสุดของวงการการเมืองเวียดนาม ตำแหน่งของจ่องมีอิทธิพลมากที่สุด แม้ว่าประธานาธิบดีจะมีอำนาจสำคัญด้วยก็ตาม ส่วนอีก 2 รองลงมาเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภา เช่นเดียวกับเถืองซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งที่เขาต้องการ เนื่องจากจ่องก็เป็นนักอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่ริเริ่มการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นทางการเช่นกัน

แต่พรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งผูกขาดอำนาจในเวียดนามยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยาก 2 ประการ ซึ่งได้แก่
  • พรรคจะสามารถยับยั้งการคอร์รัปชั่น ขณะที่ยังคงรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง ซึ่งเป็นฐานของความชอบธรรมได้หรือไม่? 
  • สามารถวางแผนการสืบทอดตำแหน่งของเหงียนซวนฟุค ซึ่งมีอายุ 78 ปี และมีปัญหาสุขภาพ แต่ได้รับตำแหน่งเลขาธิการสภาสมัยที่ 3 เพราะพรรคไม่สามารถตกลงเกี่ยวกับทางเลือกอื่นได้หรือไม่?

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์