ย้อนกลับไปในสงครามเย็นช่วงระหว่างทศวรรษ 1950-1990 อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าห้วงเวลานี้เป็นการแข่งขันด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ 2 ฝ่ายระหว่างโลกประชาธิปไตยอย่างสหรัฐฯ และโลกคอมมิวนิสต์อย่างสหภาพโซเวียต ไม่ว่าจะเป็นการตั้งองค์กรหาแนวร่วมทางทหาร (นาโต vs วอร์ซอ) การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ การรบผ่านสงครามตัวแทน (สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม เป็นต้น) การพัฒนาแผนเศรษฐกิจ การโฆษณาชวนเชื่อ การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
สำหรับโครงการสำรวจอวกาศก็เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันด้วยเช่นกัน ซึ่งในปี 1957 กลายเป็นโซเวียตที่สามารถส่ง Sputnik 1 ดาวเทียมสำรวจวงโคจรโลกดวงแรกขึ้นไปก่อน ตามด้วย Sputnik 2 พร้อม ‘laika’ สุนัขอวกาศตัวแรกของโลก จากนั้นโซเวียตก็ทดลองส่งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขึ้นไปอีกครั้งในปี 1960 และพบว่าพวกมันรอดกลับมา ขณะที่สหรัฐฯ ก็ไม่น้อยหน้าส่ง ‘Ham’ ลิงชิมแปนซีตัวแรกของโลกขึ้นไปในปี 1961 และรอดกลับมาเหมือนกัน
แต่ทว่าในปีเดียวกัน (1961) โซเวียตประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยการส่ง ‘ยูรี กาการิน’ มนุษย์คนแรกขึ้นไปบนอวกาศได้สำเร็จ และนั่นทำให้สหรัฐฯ พยายามส่งยานอวกาศขึ้นไปหลายต่อหลายครั้งตลอด 8 ปีแต่ก็ดูเหมือนว่าจะยังเป็นรองโซเวียตอยู่ จนในปี 1969 สหรัฐฯ ก็ประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ซึ่งนับว่าเป็นอีกก้าวที่ยิ่งใหญ่ของวงการดาราศาสตร์ทีเดียว
สำหรับโครงการสำรวจอวกาศก็เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันด้วยเช่นกัน ซึ่งในปี 1957 กลายเป็นโซเวียตที่สามารถส่ง Sputnik 1 ดาวเทียมสำรวจวงโคจรโลกดวงแรกขึ้นไปก่อน ตามด้วย Sputnik 2 พร้อม ‘laika’ สุนัขอวกาศตัวแรกของโลก จากนั้นโซเวียตก็ทดลองส่งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขึ้นไปอีกครั้งในปี 1960 และพบว่าพวกมันรอดกลับมา ขณะที่สหรัฐฯ ก็ไม่น้อยหน้าส่ง ‘Ham’ ลิงชิมแปนซีตัวแรกของโลกขึ้นไปในปี 1961 และรอดกลับมาเหมือนกัน
แต่ทว่าในปีเดียวกัน (1961) โซเวียตประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยการส่ง ‘ยูรี กาการิน’ มนุษย์คนแรกขึ้นไปบนอวกาศได้สำเร็จ และนั่นทำให้สหรัฐฯ พยายามส่งยานอวกาศขึ้นไปหลายต่อหลายครั้งตลอด 8 ปีแต่ก็ดูเหมือนว่าจะยังเป็นรองโซเวียตอยู่ จนในปี 1969 สหรัฐฯ ก็ประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ซึ่งนับว่าเป็นอีกก้าวที่ยิ่งใหญ่ของวงการดาราศาสตร์ทีเดียว
ทำไมต้องเป็นภารกิจเยือนดวงจันทร์?

‘Artemis I’ ยานภารกิจไร้คนขับสำรวจดวงจันทร์ของ NASA ที่เพิ่งปล่อยจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในฟลอริดาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมาย คือ สำรวจอวกาศเป็นเวลา 25 วันซึ่งมีกำหนดกลับโลกในวันที่ 11 ธันวาคม และตั้งเป้าว่าปี 2024 จะส่งนักบินอวกาศ 4 คนในภารกิจ ‘Artemis 2’ ขึ้นไปสำรวจรอบดวงจันทร์ ต่อมาในปี 2025 จะส่งนักบินอวกาศ 2 คนไปเหยียบบนดวงจันทร์อีกครั้ง
ทั้งนี้ ยาน ‘Artemis’ เป็นหนึ่งในภารกิจที่ NASA ใช้เวลาในการวางแผนและเตรียมตัวค่อนข้างยาวนานถึง 53 ปี คำถามก็คือ ทำไมต้องเป็นภารกิจเยือนดวงจันทร์ล่ะ?
มีหลายปัจจัยที่ผลักดันให้ NASA ส่งนักบินอวกาศกลับสู่ดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี และหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นก็คือ ความปรารถนาอันยาวนานที่จะให้มนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร โดยภารกิจ Artemis จะทดสอบเทคโนโลยีและลอจิสติกส์ที่จำเป็นในการดำเนินการดังกล่าว
เคนเนธ ชาง นักข่าวด้านวิทยาศาสตร์ของ The New York Times ให้ความเห็นว่า “ถ้าคุณเชื่อว่าอนาคตของมนุษยชาติกำลังแผ่ขยายไปทั่วระบบสุริยะ จุดหมายแรกก็ต้องเป็นดวงจันทร์…ถ้าคุณคิดไปไม่ถึงที่นั่น คุณก็ไปไม่ถึงดาวอังคารอย่างแน่นอน”
ภารกิจสู่ดวงจันทร์นับว่ามีคุณค่าต่อวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ก้อนหินที่เก็บรวบรวมในภารกิจก่อนหน้านี้เผยให้เห็นต้นกำเนิดของดวงจันทร์ ซึ่งน่าจะก่อตัวขึ้นจากเศษซากหลังจากวัตถุขนาดเท่าดาวอังคารพุ่งชนโลกเมื่อกว่า 4 พันล้านปีก่อน
ในภารกิจ Artemis นั้น NASA สนใจการศึกษาน้ำแข็งในหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์เป็นพิเศษ เพราะพวกเขาเชื่อว่า น้ำแข็งและลักษณะของน้ำแข็งอาจทำให้รู้ที่มาของระบบสุริยะได้ นอกจากนี้ น้ำแข็งยังสามารถนำมาใช้สร้างฐานถาวรบนดวงจันทร์ ทั้งยังสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำดื่ม ออกซิเจน หรือเชื้อเพลิงยานอวกาศได้อีกด้วย
ก้าวต่อไปของ NASA

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่ากว่ายานภารกิจ ‘Artemis 1’ มีกำหนดปล่อยครั้งแรกช่วงปลายเดือนสิงหาคม แต่หลังจากนั้นก็ต้องเลื่อนการปล่อยอยู่หลายต่อหลายครั้งเนื่องจากเจอปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องและสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ ทำเอาสาวกคนรักอวกาศต้องรอเก้อ จนท้ายที่สุดก็ได้ฤกษ์ปล่อยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าเป้าหมายสูงสุดของยานภารกิจ คือ การส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์อีกครั้งให้ได้ภายในปี 2025 ภายใต้เงื่อนไขที่ว่านักบินอวกาศที่ส่งขึ้นไปจะต้องเป็นผู้หญิงและคนผิวสีที่ไปเยือนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
หากทั้งหมดนี้เป็นไปได้ด้วยดี ก้าวต่อไปของ NASA ก็คือ การสร้างด่านหน้าถาวรบนดวงจันทร์และในวงโคจรของมัน เพื่อใช้ทำการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าเป้าหมายสูงสุดของยานภารกิจ คือ การส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์อีกครั้งให้ได้ภายในปี 2025 ภายใต้เงื่อนไขที่ว่านักบินอวกาศที่ส่งขึ้นไปจะต้องเป็นผู้หญิงและคนผิวสีที่ไปเยือนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
หากทั้งหมดนี้เป็นไปได้ด้วยดี ก้าวต่อไปของ NASA ก็คือ การสร้างด่านหน้าถาวรบนดวงจันทร์และในวงโคจรของมัน เพื่อใช้ทำการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้
ทำไมต้องส่งยานภารกิจไปตอนนี้?

ย้อนกลับไปในปี 1969 นีล อาร์มสตรง และ บัซซ์ อัลดริน นักบินอวกาศผู้ได้ปักธงชาติอเมริกันบนดวงจันทร์ และกลายเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่ได้ไปเหยียบที่นั่น นอกจากนี้ คำพูดของเขายังปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์อีกด้วย “นั่นคือก้าวเล็กๆ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ”
หลายทศวรรษต่อมา NASA ร่วมมือกับบริษัทหลายแห่งอย่าง ‘SpaceX’ ของ Elon Musk และ ‘Blue Origin’ ของ Jeff Bezos ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนการเดินทางในอวกาศให้กลายเป็นองค์กรเชิงพาณิชย์ ทั้งยังมีความหวังว่าจะได้เดินทางกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ ‘Artemis I’
แอนดรูว์ สคูร์ ผู้จัดการการระบบ payload ของยานอวกาศ กล่าวว่า “เราสร้างจากสิ่งที่เราเรียนรู้ในอพอลโล…อุปกรณ์บางอย่างที่เราใช้นั้น เคยสร้างในจรวด Saturn สำหรับยานภารกิจอพอลโลแล้ว ดังนั้น เราจึงมีความเชื่อมโยงกับยานสำรวจ ‘Artemis I’ ”
“สำหรับยานภารกิจ ‘Apollo’ นั้นเราใช้จรวด Saturn V ตลอดโครงการอพอลโลทั้งหมด ซึ่งภารกิจครั้งสุดท้ายก็คือปี 1972 ส่วนภารกิจ ‘Artemis’ เราใช้จรวด SLS หรือ Space Launch System โดยเป็นรุ่นปรับปรุงร่วมสมัยของ Saturn V และใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ขณะที่ SLS มีกำลังมหาศาลมากกว่า Saturn ถึง 15%”
แต่ทว่า NASA กลับถูกกระตุ้นด้วยการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ อย่างจีนที่นำยานหุ่นยนต์ไปลงจอดบนดวงจันทร์ถึง 3 ครั้ง ด้าน บิล เนลสัน ผู้บริหาร NASA กล่าวกับ The Times ว่า “เรากังวลว่าพวกเขาจะพูดว่า นี่คือโซนพิเศษของเรา คุณอยู่นอกเขตนี้…และใช่ นั่นเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราเฝ้าดูอยู่”
“ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความทุ่มเทในการกลับไปสำรวจห้วงอวกาศเพิ่มเติมได้รับการต่ออายุใหม่และมันคือหนทางของเราในการเข้าสู่ห้วงอวกาศและไม่เพียงแค่สำรวจดวงจันทร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงดาวอังคารด้วย” เขากล่าว
หลายทศวรรษต่อมา NASA ร่วมมือกับบริษัทหลายแห่งอย่าง ‘SpaceX’ ของ Elon Musk และ ‘Blue Origin’ ของ Jeff Bezos ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนการเดินทางในอวกาศให้กลายเป็นองค์กรเชิงพาณิชย์ ทั้งยังมีความหวังว่าจะได้เดินทางกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ ‘Artemis I’
แอนดรูว์ สคูร์ ผู้จัดการการระบบ payload ของยานอวกาศ กล่าวว่า “เราสร้างจากสิ่งที่เราเรียนรู้ในอพอลโล…อุปกรณ์บางอย่างที่เราใช้นั้น เคยสร้างในจรวด Saturn สำหรับยานภารกิจอพอลโลแล้ว ดังนั้น เราจึงมีความเชื่อมโยงกับยานสำรวจ ‘Artemis I’ ”
“สำหรับยานภารกิจ ‘Apollo’ นั้นเราใช้จรวด Saturn V ตลอดโครงการอพอลโลทั้งหมด ซึ่งภารกิจครั้งสุดท้ายก็คือปี 1972 ส่วนภารกิจ ‘Artemis’ เราใช้จรวด SLS หรือ Space Launch System โดยเป็นรุ่นปรับปรุงร่วมสมัยของ Saturn V และใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ขณะที่ SLS มีกำลังมหาศาลมากกว่า Saturn ถึง 15%”
แต่ทว่า NASA กลับถูกกระตุ้นด้วยการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ อย่างจีนที่นำยานหุ่นยนต์ไปลงจอดบนดวงจันทร์ถึง 3 ครั้ง ด้าน บิล เนลสัน ผู้บริหาร NASA กล่าวกับ The Times ว่า “เรากังวลว่าพวกเขาจะพูดว่า นี่คือโซนพิเศษของเรา คุณอยู่นอกเขตนี้…และใช่ นั่นเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราเฝ้าดูอยู่”
ทำไม NASA ใช้เวลานานในการกลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง?
เดอร์รอล เนลล์ โฆษกของ NASA กล่าวว่า “คำตอบนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการบริหารของประธานาธิบดีและลำดับความสำคัญของชาติด้วย”“ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความทุ่มเทในการกลับไปสำรวจห้วงอวกาศเพิ่มเติมได้รับการต่ออายุใหม่และมันคือหนทางของเราในการเข้าสู่ห้วงอวกาศและไม่เพียงแค่สำรวจดวงจันทร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงดาวอังคารด้วย” เขากล่าว
ข้อแตกต่างระหว่างยานภารกิจ ‘Apollo’ และ ‘Artemis’

50 กว่าปีมาแล้วนับตั้งแต่ชาวอเมริกันขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ และตอนนี้ NASA กำลังกลับเข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจระยะยาวของยาน ‘Artemis I’ ปัจจุบันมีกำหนดสำรวจอวกาศเป็นเวลา 25 วัน ซึ่งอยู่ในขั้นแรกของภารกิจ
ชื่อยานภารกิจ ‘Artemis’ เป็นความตั้งใจของ NASA ที่อยากตั้งให้สอดคล้องกับยาน ‘Apollo’ ซึ่งเป็นพี่น้องฝาแฝดตามตำนานเทพเจ้ากรีก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจอวกาศ การค้นพบพื้นที่ใหม่บนดวงจันทร์ รวมถึงการลงจอดบนดาวอังคารในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตลอดจนการส่งนักบินอวกาศหญิงและนักบินอวกาศผิวสีคนแรกขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ภายในปี 2025 ซึ่งถ้าหากประสบความสำเร็จ ยานภารกิจ ‘Artemis’ จะเป็นยานอวกาศที่ลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกของ NASA นับตั้งแต่ ‘Apollo17’ ในปี 1971 ในขณะที่ ‘Apollo’ มีเป้าหมายเดียว คือ การส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบบนผิวดวงจันทร์และมีชีวิตรอดกลับมายังโลก
หากพูดถึงความแตกต่าง ก็คงจะเป็นเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของยานอวกาศและเทคนิคที่ล้ำสมัยมากกว่ายาน ‘Apollo’ แน่นอนว่าโซนพื้นที่ใช้สอยในยานอวกาศของ ‘Artemis’ มีมากกว่าถึง 50% ทำให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับลูกเรือและเสบียง ในขณะที่ ‘Apollo’ มีลูกเรือเพียง 3 คน ซึ่งเดินทางในอวกาศได้นานถึง 14 วัน แต่ ‘Artemis’ จะมีลูกเรือ 4 คนและเดินทางได้นานถึง 21 วัน
ส่วนความแตกต่างด้านอื่นๆ ระหว่างยานภารกิจ ‘Artemis’ และ ‘Apollo’ ได้แก่ คอมพิวเตอร์เที่ยวบิน วัสดุผสมชนิดพิเศษ ชิ้นส่วนพิมพ์ 3 มิติ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และแผงป้องกันความร้อน
ทั้งนี้ พบว่า การลงจอดและเวลาที่ใช้ในการลงจอดของยาน ‘Artemis’ และ ‘Apollo' มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัยด้วยโดรนเพียงตัวเดียวและร่มชูชีพหลัก 2 ตัวในกรณีฉุกเฉิน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญก็ คือ จรวด SLS ของ Artemis มีมวลใหญ่กว่า และโมดูลลูกเรือก็หนักประมาณ 23,000 ปอนด์ ในขณะที่ Apollo หนักเพียง 12,000 ปอนด์เท่านั้น
นอกจากนี้ SLS ยังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ RS-25 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนราว 4 เครื่องและกลายเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก โดยสร้างแรงขับเคลื่อนได้มากกว่าจรวด Saturn V ของ Apollo ถึง 15%
อย่างไรก็ดี ภารกิจการกลับไปสู่ดวงจันทร์อีกครั้งนับเป็นก้าวสำคัญของ NASA และมวลมนุษยชาติอย่างมาก ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศแบบก้าวกระโดด ใครจะไปรู้ว่า ‘ก้าวเล็กๆ ในวันนั้น’ ของ นีล อาร์มสตรองและทีม จะสร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจจนเกิดภารกิจ ‘Artemis’ ขึ้นมา ซึ่งหากว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่เตรียมการไว้ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จก้าวสำคัญอย่างประเมินค่าไม่ได้ของมนุษยชาติ
ชื่อยานภารกิจ ‘Artemis’ เป็นความตั้งใจของ NASA ที่อยากตั้งให้สอดคล้องกับยาน ‘Apollo’ ซึ่งเป็นพี่น้องฝาแฝดตามตำนานเทพเจ้ากรีก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจอวกาศ การค้นพบพื้นที่ใหม่บนดวงจันทร์ รวมถึงการลงจอดบนดาวอังคารในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตลอดจนการส่งนักบินอวกาศหญิงและนักบินอวกาศผิวสีคนแรกขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ภายในปี 2025 ซึ่งถ้าหากประสบความสำเร็จ ยานภารกิจ ‘Artemis’ จะเป็นยานอวกาศที่ลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกของ NASA นับตั้งแต่ ‘Apollo17’ ในปี 1971 ในขณะที่ ‘Apollo’ มีเป้าหมายเดียว คือ การส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบบนผิวดวงจันทร์และมีชีวิตรอดกลับมายังโลก
หากพูดถึงความแตกต่าง ก็คงจะเป็นเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของยานอวกาศและเทคนิคที่ล้ำสมัยมากกว่ายาน ‘Apollo’ แน่นอนว่าโซนพื้นที่ใช้สอยในยานอวกาศของ ‘Artemis’ มีมากกว่าถึง 50% ทำให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับลูกเรือและเสบียง ในขณะที่ ‘Apollo’ มีลูกเรือเพียง 3 คน ซึ่งเดินทางในอวกาศได้นานถึง 14 วัน แต่ ‘Artemis’ จะมีลูกเรือ 4 คนและเดินทางได้นานถึง 21 วัน
ส่วนความแตกต่างด้านอื่นๆ ระหว่างยานภารกิจ ‘Artemis’ และ ‘Apollo’ ได้แก่ คอมพิวเตอร์เที่ยวบิน วัสดุผสมชนิดพิเศษ ชิ้นส่วนพิมพ์ 3 มิติ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และแผงป้องกันความร้อน
ทั้งนี้ พบว่า การลงจอดและเวลาที่ใช้ในการลงจอดของยาน ‘Artemis’ และ ‘Apollo' มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัยด้วยโดรนเพียงตัวเดียวและร่มชูชีพหลัก 2 ตัวในกรณีฉุกเฉิน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญก็ คือ จรวด SLS ของ Artemis มีมวลใหญ่กว่า และโมดูลลูกเรือก็หนักประมาณ 23,000 ปอนด์ ในขณะที่ Apollo หนักเพียง 12,000 ปอนด์เท่านั้น
นอกจากนี้ SLS ยังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ RS-25 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนราว 4 เครื่องและกลายเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก โดยสร้างแรงขับเคลื่อนได้มากกว่าจรวด Saturn V ของ Apollo ถึง 15%
อย่างไรก็ดี ภารกิจการกลับไปสู่ดวงจันทร์อีกครั้งนับเป็นก้าวสำคัญของ NASA และมวลมนุษยชาติอย่างมาก ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศแบบก้าวกระโดด ใครจะไปรู้ว่า ‘ก้าวเล็กๆ ในวันนั้น’ ของ นีล อาร์มสตรองและทีม จะสร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจจนเกิดภารกิจ ‘Artemis’ ขึ้นมา ซึ่งหากว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่เตรียมการไว้ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จก้าวสำคัญอย่างประเมินค่าไม่ได้ของมนุษยชาติ
