จากกรณีที่มีการพูดกันถึงราคาตั๋วเครื่องบินแพงในบ้านเรา โดยเฉพาะเส้นทางกรุงเทพฯ-ภูเก็ตที่ราคาทะยานไปกว่า 2,500 บาทนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินระบุว่า ปัญหาตั๋วเครื่องบินแพงนี้เจอกันทั่วทั้งเอเชียในปีนี้ แม้ว่าการบินจะกลับมาคึกคักแทบจะอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนที่โควิด-19 ระบาดแล้วก็ตาม
ข้อมูลจาก Skyscanner Travel Insight ระบุว่า ค่าตั๋วเครื่องบินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นถึง 33% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2019 ขณะที่ของยุโรปเพิ่มขึ้น 12% อเมริกาเหนือ 17% บางเคสผู้โดยสารต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัวจากที่เคยจ่ายเมื่อ 4 ปีก่อน
American Express Global Business Travel (Amex GBT) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของบริษัทบัตรเครดิตอเมริกันเอ็กซ์เพรส ระบุว่า ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจจากปารีสไปเซี่ยงไฮ้ซึ่งเคยราคา 5,650 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 193,312 บาทเมื่อปี 2019 ตอนนี้ราคาทะยานขึ้น 2 เท่าไปอยู่ที่ 11,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 393,530 บาท
Amex GBT เผยอีกว่า ราคาเฉลี่ยของตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจจากสิงคโปร์ไปเซี่ยงไฮ้ก็เพิ่มจากราคาเมื่อปี 2019 ถึง 2 เท่าเช่นกัน
ฮิวจ์ ไอต์เคน จาก Skyscanner เผยว่า โดยทั่วไปราคาตั๋วเครื่องบินทั่วโลกจะสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด เนื่องจากหลายปัจจัย แต่ขณะนี้ผู้โดยสารในเอเชียแปซิฟิกต้องเจอกับตั๋วเครื่องบินราคาสูงกว่าในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเน้นให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน
บรรดาผู้ชี่ยวชาญบอกว่า ต้นทุนที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และการปิดน่านฟ้ารัสเซียล้วนผลักให้ราคาตั๋วสูงขึ้น ทว่าปัจจัยหลักคือ เอเชียยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการกลับมาเปิดประเทศ ในขณะที่อเมริกาเหนือและยุโรปผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางเข้าประเทศนานแล้ว แต่ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพิ่งจะเปิดประเทศสำหรับการท่องเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่จีนเพิ่งจะยกเลิกมาตรการกักตัวสำหรับชาวต่างชาติเมื่อเดือนมกราคม และเพิ่งจะกลับมาออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ไอต์เคนเผยว่า “ในตลาดที่ยกเลิกข้อจำกัดเป็นแห่งสุดท้าย ซึ่งทำให้ความสามารถของระบบการบินกลับมาเริ่มต้นเป็นช้าสุด ความแตกต่างของราคาตั๋วเครื่องบินจะสูงที่สุด ตอนนี้คือเอเชียแปซิฟิก”
เจเรมี เคว็ก จาก Amex GBT เผยว่า แม้ความต้องการจะฟื้นตัวแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับสายการบินในการเพิ่มการบริการทันที สายการบินต้องใช้เวลาในการจัดวางตำแหน่งลูกเรือและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ประสานงานกับสนามบิน และเคลื่อนย้ายเครื่องบิน “การวางแผนตารางการบินต้องใช้เวลาหลายเดือน”
เจน ซุน ซีอีโอของ Trip.com ยกตัวอย่างของจีนว่า แม้ว่าจีนจะเปิดประเทศแล้วแต่ความสามารถในการรองรับเที่ยวบินขาออกปัจจุบันอยู่ที่เพียง 15-20% ของระดับก่อนโควิด-19 ระบาด ซุนกล่าวอีกว่า ภาวะคอขวดเป็นข้อจำกัดการฟื้นตัวโดยรวมของการเดินทางขาออกของจีน
ส่วนเคว็กบอกว่า “แม้ว่าความสามารถในการรองรับการบินของสายการบินจะกลับมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้กลับมาในอัตราที่เราคาดว่าความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังโควิด-19จะเป็น ซึ่งนั่นคือประเด็นสำคัญ ความสามารถในการรองรับการบินที่ลดลง และความต้องการที่เพิ่มขึ้น คือสาเหตุที่ทำให้ตั๋วราคาสูงขึ้น”
รายงานของ Amex GBT ระบุว่า “ยกตัวอย่าง เที่ยวบินจากโตเกียวไปลอนดอนตอนนี้ต้องมุ่งไปทางตะวันออกเหนือแปซิฟิกเหนือ อะแลสกา แคนาดา และกรีนแลนด์ ทำให้ระยะเวลาบินเพิ่มขึ้นอีก 2.4 ชั่วโมง และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีก 5,600 แกลลอน หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 20%”
นอกจากนี้ ต้นทุนของเชื้อเพลิงเองยังทะยานขึ้นด้วย อลัน จอยซ์ ซีอีโอของสายการบิน Qantas ของออสเตรเลียเผยว่า บิลค่าชื้อเพลิงของบริษัทพิ่มขึ้นจากปี 2019 ถึง 65% “ค่าตั๋วเครื่องบินจะต้องสูงกว่าช่วงโควิด-19 เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น”
จอยซ์เผยอีกว่า สายการบินเองก็มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และจำเป็นต้องใช้เวลาฝึกอบรมลูกเรือใหม่หลังจากต้องหยุดงานไปในช่วงโควิด “นักบินของเราต้องไปขับรถบัสในซิดนีย์และเมงเบิร์นอยู่พักหนึ่งในช่วงที่ต้องหยุดงาน ดังนั้นหากจะเรียกนักบินกลับมาเราต้องส่งพวกเขาเข้าฝึกบินแบบจำลอง 23 ชั่วโมงและทำการบินบิน 5 เที่ยว”
ข้อมูลจาก Skyscanner Travel Insight ระบุว่า ค่าตั๋วเครื่องบินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นถึง 33% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2019 ขณะที่ของยุโรปเพิ่มขึ้น 12% อเมริกาเหนือ 17% บางเคสผู้โดยสารต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัวจากที่เคยจ่ายเมื่อ 4 ปีก่อน
American Express Global Business Travel (Amex GBT) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของบริษัทบัตรเครดิตอเมริกันเอ็กซ์เพรส ระบุว่า ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจจากปารีสไปเซี่ยงไฮ้ซึ่งเคยราคา 5,650 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 193,312 บาทเมื่อปี 2019 ตอนนี้ราคาทะยานขึ้น 2 เท่าไปอยู่ที่ 11,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 393,530 บาท
Amex GBT เผยอีกว่า ราคาเฉลี่ยของตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจจากสิงคโปร์ไปเซี่ยงไฮ้ก็เพิ่มจากราคาเมื่อปี 2019 ถึง 2 เท่าเช่นกัน
ฮิวจ์ ไอต์เคน จาก Skyscanner เผยว่า โดยทั่วไปราคาตั๋วเครื่องบินทั่วโลกจะสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด เนื่องจากหลายปัจจัย แต่ขณะนี้ผู้โดยสารในเอเชียแปซิฟิกต้องเจอกับตั๋วเครื่องบินราคาสูงกว่าในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเน้นให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน
และปัญหานี้จะไม่จบลงในเร็วๆ นี้
Amex GBT คาดการณ์ว่า ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดจากอเมริกาเหนือหรือยุโรปมายังเอเชียในปีนี้จะเพิ้มขึ้นจากปีก่อน 9.5% และ 9.8% ตามลำดับ โดยราคาหลังนี้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เกือบเท่าตัวสำหรับเส้นทางชั้นประหยัดจากยุโรปไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่นเดียวกับตั๋วชั้นธุรกิจบรรดาผู้ชี่ยวชาญบอกว่า ต้นทุนที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และการปิดน่านฟ้ารัสเซียล้วนผลักให้ราคาตั๋วสูงขึ้น ทว่าปัจจัยหลักคือ เอเชียยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการกลับมาเปิดประเทศ ในขณะที่อเมริกาเหนือและยุโรปผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางเข้าประเทศนานแล้ว แต่ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพิ่งจะเปิดประเทศสำหรับการท่องเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่จีนเพิ่งจะยกเลิกมาตรการกักตัวสำหรับชาวต่างชาติเมื่อเดือนมกราคม และเพิ่งจะกลับมาออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ไอต์เคนเผยว่า “ในตลาดที่ยกเลิกข้อจำกัดเป็นแห่งสุดท้าย ซึ่งทำให้ความสามารถของระบบการบินกลับมาเริ่มต้นเป็นช้าสุด ความแตกต่างของราคาตั๋วเครื่องบินจะสูงที่สุด ตอนนี้คือเอเชียแปซิฟิก”
เจเรมี เคว็ก จาก Amex GBT เผยว่า แม้ความต้องการจะฟื้นตัวแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับสายการบินในการเพิ่มการบริการทันที สายการบินต้องใช้เวลาในการจัดวางตำแหน่งลูกเรือและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ประสานงานกับสนามบิน และเคลื่อนย้ายเครื่องบิน “การวางแผนตารางการบินต้องใช้เวลาหลายเดือน”
เจน ซุน ซีอีโอของ Trip.com ยกตัวอย่างของจีนว่า แม้ว่าจีนจะเปิดประเทศแล้วแต่ความสามารถในการรองรับเที่ยวบินขาออกปัจจุบันอยู่ที่เพียง 15-20% ของระดับก่อนโควิด-19 ระบาด ซุนกล่าวอีกว่า ภาวะคอขวดเป็นข้อจำกัดการฟื้นตัวโดยรวมของการเดินทางขาออกของจีน
ส่วนเคว็กบอกว่า “แม้ว่าความสามารถในการรองรับการบินของสายการบินจะกลับมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้กลับมาในอัตราที่เราคาดว่าความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังโควิด-19จะเป็น ซึ่งนั่นคือประเด็นสำคัญ ความสามารถในการรองรับการบินที่ลดลง และความต้องการที่เพิ่มขึ้น คือสาเหตุที่ทำให้ตั๋วราคาสูงขึ้น”
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ปีที่แล้วรัสเซียปิดน่านฟ้าสำหรับสายการบินจากหลายประเทศหลังเปิดฉากรุกรานยูเครน ส่งผลให้หลายเที่ยวบินต้องกำหนดเส้นทางใหม่ ทำให้ต้องใช้เวลาบินนานขึ้นและมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ตอนนี้ข้อจำกัดเรื่องน่านฟ้าก็ยังคงอยู่ และเส้นทางที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดก็หนีไม่พ้นเส้นทางระหว่างเอเชียและอเมริกาเหนือหรือยุโรปรายงานของ Amex GBT ระบุว่า “ยกตัวอย่าง เที่ยวบินจากโตเกียวไปลอนดอนตอนนี้ต้องมุ่งไปทางตะวันออกเหนือแปซิฟิกเหนือ อะแลสกา แคนาดา และกรีนแลนด์ ทำให้ระยะเวลาบินเพิ่มขึ้นอีก 2.4 ชั่วโมง และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีก 5,600 แกลลอน หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 20%”
นอกจากนี้ ต้นทุนของเชื้อเพลิงเองยังทะยานขึ้นด้วย อลัน จอยซ์ ซีอีโอของสายการบิน Qantas ของออสเตรเลียเผยว่า บิลค่าชื้อเพลิงของบริษัทพิ่มขึ้นจากปี 2019 ถึง 65% “ค่าตั๋วเครื่องบินจะต้องสูงกว่าช่วงโควิด-19 เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น”
จอยซ์เผยอีกว่า สายการบินเองก็มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และจำเป็นต้องใช้เวลาฝึกอบรมลูกเรือใหม่หลังจากต้องหยุดงานไปในช่วงโควิด “นักบินของเราต้องไปขับรถบัสในซิดนีย์และเมงเบิร์นอยู่พักหนึ่งในช่วงที่ต้องหยุดงาน ดังนั้นหากจะเรียกนักบินกลับมาเราต้องส่งพวกเขาเข้าฝึกบินแบบจำลอง 23 ชั่วโมงและทำการบินบิน 5 เที่ยว”

ผลกระทบกับผู้บริโภค
แม้ว่านักท่องเที่ยวบางคนจะเกิดอาการช็อกไปบ้างเมื่อเห็นราคาตั๋วเครื่องบิน แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอย่างไรนักท่องเที่ยวก็จะยังคงเดินทาง ไม่เช่นนั้นการฟื้นตัวโดยรวมของภาคการบินก็จะได้รับผลกระทบไอต์เคนเผยว่า “ขณะนี้เรายังไม่เห็นสัญญาณของผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความต้องการของนักเดินทาง เราเห็นความต้องการที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Skyscanner สำหรับการเดินทางในปี 2023”
สายการบินบางแห่งยังปรับตัวให้เข้ากับการโวยเรื่องราคาด้วยการเสนอส่วนลดที่ดึงดูดใจ อาทิ สายการบิน Qantas และ Jetstar พากันประกาศลดราคาตั๋วเครื่องบินกว่า 1 ล้านที่นั่งทั้งเส้นทางในประเทศและต่างประเทศในปีนี้ สายการบิน Japan Airlines ก็ตามรอยเช่นกันแต่กลับต้องพบกับความต้องการใช้บริการที่สูงเกินคาดจนเว็บไซต์ของสายการบินล่มเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาตอนที่ออกแคมเปญลดราคาเที่ยวบินในประเทศ
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าทุกเส้นทางจะขึ้นราคา ไอต์เคนเผยว่า ผู้บริโภคยังสามารถหาเที่ยวบินที่ราคาดีๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีความยืดหยุ่นด้านจุดหมายปลายทางและวันเวลาเดินทาง เช่น ตั๋วเครื่องบินจากสหราชอาณาจักรไปเวียดนาม หรือสหรัฐฯ ไปมาเลเซีย ราคาถูกลงเล็กน้อยสำหรับการจองในช่วงปลายปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ไอต์เคนทิ้งท้ายว่า สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ วิธีที่จะได้ตั๋วเครื่องบินราคาดีๆ ที่ง่ายที่สุดคือ ต้องจองแต่เนิ่นๆ