อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ‘ฮุน เซน’ นายกฯ กัมพูชาได้ทำการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมที่สุด เพื่อทำลายล้างฝ่ายค้านที่ได้รับความนิยม ด้วยการใช้อำนาจศาลสั่งยุบพรรคการเมืองที่คุกคามการปกครองของเขา ส่วน ส.ส.ก็ถูกไล่ออกจากสภา ขณะที่หัวหน้าพรรคถูกจับกุม
หลังจากกำจัดคู่แข่งได้ เขาก็คว้าชัยชนะในอีก 6 เดือนต่อมาในการเลือกตั้งปี 2018 โดยสามารถคว้าที่นั่งทั้งหมด 125 ที่นั่งในรัฐสภากัมพูชา
สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่กำลังจะไปใช้สิทธิอีกครั้งในวันอาทิตย์นี้ (23 ก.ค.) เหตุการณ์นี้อาจซ้ำรอยอีกครั้ง เพราะทางเลือกเดียวที่เป็นความหวังของพวกเขาถูกสกัดกั้นไปแล้ว
“มันเป็นการเลือกตั้งที่เข้มงวดเพราะไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งมากพอ” เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายหนึ่งในกรุงพนมเปญกล่าว
ขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงพนมเปญกล่าวว่า “ผมรู้สึกสิ้นหวังกับสถานการณ์ปัจจุบัน”
“สิ่งนี้จะทำให้ไม่มีเสียงตัวแทนในรัฐสภาที่สามารถพูดถึงปัญหาของประชาชนที่สามารถปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนได้…นั่นคือสาเหตุที่ผู้คนยังคงนิ่งเงียบในเวลานี้” ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกรายกล่าว
ฮุน เซน ในวัย 70 ปีซึ่งครองอำนาจยาวนานเกือบ 40 ปีนับตั้งแต่ปี 1985 ที่ทั้งรวมอำนาจผ่านเครือข่ายผลประโยชน์ ทหาร ตำรวจ และกลุ่มข่าวกรอง ตลอดจนกำจัดฝ่ายค้านจนเหลือแค่พรรคของเขาที่แข็งแกร่งอยู่พรรคเดียว แต่เขาก็ยังโอ้อวดว่าตัวเองเป็นนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลกด้วย
ทั้งนี้ สหประชาชาติได้กำหนดให้กัมพูชาเป็นประชาธิปไตยในทศวรรษที่ 1990 หลังจากเกิดเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวของระบอบการปกครองเขมรแดง แต่นักวิเคราะห์ทางการเมืองกล่าวว่าขณะนี้ ‘กัมพูชาเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว (one-party state) และ ฮุน เซน ก็เป็นเผด็จการซะส่วนใหญ่ด้วย’
อย่างไรก็ตาม กัมพูชายังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย และคนในท้องถิ่นก็กำลังดิ้นรนกับราคาเชื้อเพลิงและค่าจ้างที่ชะงักงัน ตลอดจนการทุจริต ความรับผิดชอบต่อความต้องการของประชาชนอ่อนแอ อีกทั้งการแย่งชิงที่ดินและอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้ชีวิตยากเกินที่จะรับไหว
แต่ประชาชนทุกคนต่างก็รู้ดีว่าการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) จะชนะอีกครั้งอยู่แล้ว
หลังจากกำจัดคู่แข่งได้ เขาก็คว้าชัยชนะในอีก 6 เดือนต่อมาในการเลือกตั้งปี 2018 โดยสามารถคว้าที่นั่งทั้งหมด 125 ที่นั่งในรัฐสภากัมพูชา
สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่กำลังจะไปใช้สิทธิอีกครั้งในวันอาทิตย์นี้ (23 ก.ค.) เหตุการณ์นี้อาจซ้ำรอยอีกครั้ง เพราะทางเลือกเดียวที่เป็นความหวังของพวกเขาถูกสกัดกั้นไปแล้ว
“มันเป็นการเลือกตั้งที่เข้มงวดเพราะไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งมากพอ” เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายหนึ่งในกรุงพนมเปญกล่าว
ขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงพนมเปญกล่าวว่า “ผมรู้สึกสิ้นหวังกับสถานการณ์ปัจจุบัน”
“สิ่งนี้จะทำให้ไม่มีเสียงตัวแทนในรัฐสภาที่สามารถพูดถึงปัญหาของประชาชนที่สามารถปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนได้…นั่นคือสาเหตุที่ผู้คนยังคงนิ่งเงียบในเวลานี้” ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกรายกล่าว
ฮุน เซน ในวัย 70 ปีซึ่งครองอำนาจยาวนานเกือบ 40 ปีนับตั้งแต่ปี 1985 ที่ทั้งรวมอำนาจผ่านเครือข่ายผลประโยชน์ ทหาร ตำรวจ และกลุ่มข่าวกรอง ตลอดจนกำจัดฝ่ายค้านจนเหลือแค่พรรคของเขาที่แข็งแกร่งอยู่พรรคเดียว แต่เขาก็ยังโอ้อวดว่าตัวเองเป็นนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลกด้วย
ทั้งนี้ สหประชาชาติได้กำหนดให้กัมพูชาเป็นประชาธิปไตยในทศวรรษที่ 1990 หลังจากเกิดเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวของระบอบการปกครองเขมรแดง แต่นักวิเคราะห์ทางการเมืองกล่าวว่าขณะนี้ ‘กัมพูชาเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว (one-party state) และ ฮุน เซน ก็เป็นเผด็จการซะส่วนใหญ่ด้วย’
อย่างไรก็ตาม กัมพูชายังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย และคนในท้องถิ่นก็กำลังดิ้นรนกับราคาเชื้อเพลิงและค่าจ้างที่ชะงักงัน ตลอดจนการทุจริต ความรับผิดชอบต่อความต้องการของประชาชนอ่อนแอ อีกทั้งการแย่งชิงที่ดินและอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้ชีวิตยากเกินที่จะรับไหว
แต่ประชาชนทุกคนต่างก็รู้ดีว่าการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) จะชนะอีกครั้งอยู่แล้ว
การโหวตที่ ‘น่าอับอาย’

ก่อนหน้านี้ ฮุน เซน เคยออกมาประกาศไว้ว่าในสนามการเลือกตั้งครั้งหน้าเขาจะให้โอกาสคนรุ่นใหม่เข้ามา และแน่นอนว่าจะเป็นใครไปได้เลยนอกจาก ‘ฮุน มาเนต’ ลูกชายของเขา
“เมื่อใดที่เขาวางมือจะไม่มีใครรู้ แต่เขากลายเป็นคนเอาแน่เอานอนไม่ได้ บางครั้งเขาดูเหมือนอดกลั้น และบางครั้งก็เหมือนจะอาฆาตพยาบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคของเขาที่ใกล้จะสิ้นสุดลง” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
สำหรับการเลือกตั้งในปีนี้ ประชาชนก็แทบจะเดาผลการเลือกตั้งออกว่ายังไงก็ต้องเป็นพรรคของเขาที่ชนะแน่นอน เพราะที่ผ่านมาเขาพยายามกำจัดฝ่ายค้านอย่างพรรคเพลิงเทียน (candlelight party) มาโดยตลอด
“สำหรับ ฮุน เซน นั้นเป็นเรื่องที่เกินทน…เขาดูกลัวพรรคเพลิงเทียนและรีบกำจัดก่อนที่จะกลายเป็นภัยคุกคาม” ลี มอร์เกนเบสเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเผด็จการแห่งมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลียซึ่งติดตาม ฮุน เซน มาหลายปีกล่าว
หลังจากที่กำจัดผู้นำพรรคเพลิงเทียนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และตัดสิทธิ์พรรคเมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 ขณะที่พรรคอื่นๆ อีก 17 พรรคที่เหลืออยู่นั้นก็ไม่แข็งแกร่งมากพอที่จะสู้กับพรรค ฮุน เซน ได้
“เราทุ่มเทแรงกายแรงใจและทรัพยากรของเราในการจัดและดำเนินการหาเสียง เราคัดเลือกผู้สมัครในทุกที่นั่ง…การถูกตัดสิทธิ์ในรอบสุดท้ายเนื่องจากข้อกำหนดด้านการบริหารที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเขาเพิ่งเปลี่ยนกฎในช่วงกลางเกม” ตัวแทนจากพรรคเพลิงเทียนกล่าว
“เมื่อใดที่เขาวางมือจะไม่มีใครรู้ แต่เขากลายเป็นคนเอาแน่เอานอนไม่ได้ บางครั้งเขาดูเหมือนอดกลั้น และบางครั้งก็เหมือนจะอาฆาตพยาบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคของเขาที่ใกล้จะสิ้นสุดลง” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
สำหรับการเลือกตั้งในปีนี้ ประชาชนก็แทบจะเดาผลการเลือกตั้งออกว่ายังไงก็ต้องเป็นพรรคของเขาที่ชนะแน่นอน เพราะที่ผ่านมาเขาพยายามกำจัดฝ่ายค้านอย่างพรรคเพลิงเทียน (candlelight party) มาโดยตลอด
“สำหรับ ฮุน เซน นั้นเป็นเรื่องที่เกินทน…เขาดูกลัวพรรคเพลิงเทียนและรีบกำจัดก่อนที่จะกลายเป็นภัยคุกคาม” ลี มอร์เกนเบสเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเผด็จการแห่งมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลียซึ่งติดตาม ฮุน เซน มาหลายปีกล่าว
หลังจากที่กำจัดผู้นำพรรคเพลิงเทียนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และตัดสิทธิ์พรรคเมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 ขณะที่พรรคอื่นๆ อีก 17 พรรคที่เหลืออยู่นั้นก็ไม่แข็งแกร่งมากพอที่จะสู้กับพรรค ฮุน เซน ได้
“เราทุ่มเทแรงกายแรงใจและทรัพยากรของเราในการจัดและดำเนินการหาเสียง เราคัดเลือกผู้สมัครในทุกที่นั่ง…การถูกตัดสิทธิ์ในรอบสุดท้ายเนื่องจากข้อกำหนดด้านการบริหารที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเขาเพิ่งเปลี่ยนกฎในช่วงกลางเกม” ตัวแทนจากพรรคเพลิงเทียนกล่าว
ทศวรรษแห่ง ‘ความตกต่ำ’ ของประชาธิปไตย

“แม้ว่ากัมพูชาจะได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศมาหลาย 10 ปี แต่ทว่าประเทศก็ยังเต็มไปด้วยความรุนแรงและความไม่ปกติอยู่เสมอ แต่จนถึงการเลือกตั้งปี 2018 ซึ่งขณะนั้นพรรคฝ่ายค้านอาจเป็นความหวังของประชาชนไปสู่อำนาจอย่างแท้จริง แม้ว่าเส้นทางนั้นจะดูสูงชัน” มอร์เกนเบสเซอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี 2017 ฮุน เซน เริ่มตื่นตระหนกจากฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งและเป็นเอกภาพ เนื่องจากพรรคพันธมิตรฝ่ายค้านที่รู้จักกันในนาม ‘พรรคสงเคราะห์ชาติ’ (CNRP) นำโดยทหารผ่านศึก 2 คน ได้แก่ สม รังสี และ กึม สุขา ได้คะแนนเสียงทั่วประเทศถึง 44% ในปี 2013 ซึ่งนั่นทำให้ ฮุน เซน ตกใจมาก
และดูเหมือนว่าคะแนนเสียงของ CNRP จะนำหน้า CPP ด้วยซ้ำ ทำให้ชาวกัมพูชาหลายหมื่นคนพร้อมใจออกมาประท้วงเป็นเวลาหลายเดือนในปีนั้นเพื่อคัดค้านชัยชนะของ ฮุน เซน เพราะพวกเขารู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองภายในมือของพวกเขา
แต่หลังจากนั้นในปี 2017 CNRP ก็ลงสนามเลือกตั้งท้องถิ่นอีกครั้ง และ ฮุน เซน ก็ไม่รีรอที่จะจัดการฝ่ายค้าน ด้วยการอำนาจรัฐสภาที่ควบคุมโดย CPP ออกกฎหมายยุบพรรคใดๆ ก็ตามด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย จากนั้นเขาจึงใช้อำนาจใหม่ของเขาเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งยุบพรรค CNRP ไปในที่สุด นอกจากนี้ สมาชิก CNRP ประมาณ 100 คนยังถูกดำเนินคดี ส่วนแกนนำพรรคหลายคนก็ต้องลี้ภัยไปที่อื่นอีกด้วย
ขณะเดียวกันในช่วงเวลานั้น ฮุน เซน ยังบังคับให้หนังสือพิมพ์อย่าง The Cambodia Daily ปิดตัวลงและขับไล่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐ (US Peace Corps) ซึ่งนั่นทำให้ประชาคมระหว่างประเทศตกตะลึงกับการปราบปรามที่รุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ด้านสหรัฐฯ ก็เริ่มคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชาในปี 2019 แต่ท่าทีของ ฮุน เซน ยังคงเฉยเมยและสนับสนุนจีนต่อไป
นอกจากนี้ ฮุน เซน ยังคงข่มขู่และตั้งข้อหาทางอาญากับฝ่ายค้านอย่างพรรคเพลิงเทียนเรื่อยมา ทั้งยังไล่ปิดสำนักข่าวที่เป็นกระบอกเสียงประชาธิปไตยที่ยังเหลืออยู่ด้วย ตลอดจนติดสินบนคนในองค์กรให้มีการแปรพักตร์มากมาย ไม่ใช่แค่พรรคเพลิงเทียนเท่านั้น แต่รวมถึงสหภาพแรงงานและกลุ่มเกษตรกรด้วย ขณะที่ตัวแทนพรรค CPP ก็ตระเวนซื้อเสียงและข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อีกด้วย
นักการทูตชาวตะวันตกคนหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์ออกนามกล่าวกับ BBC ว่า “ทุกคนค่อนข้างหดหู่ และสิ้นหวังมาก”
“เราจะพยายามอยู่รอดให้ได้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า…หลังจากนั้นเราจะกลับมาอีกครั้ง” คนวงในกล่าว
ขณะที่นักการทูตชาวตะวันตกกล่าวว่า “เรากำลังทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อสนับสนุนพื้นที่พลเมืองที่เหลืออยู่ แต่มีมุมมองที่ทุกคนมองไปยังกัมพูชาหลังยุค ฮุน เซน…มีความหวังบางอย่างที่จะดีขึ้นเมื่อ ฮุน มาเนต ลูกชายของเขาที่มีการศึกษาแบบตะวันตก และเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพอาจจะเข้ารับตำแหน่งแทน”
“ผมไม่คิดว่าเขาเป็นผู้กอบกู้ประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา แต่ผมคิดว่าเขามีใจปฏิรูปและต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก” นักการทูตกล่าวเสริม
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนให้ประชาชนไม่ฝากความหวังลมๆ แล้งๆ กับลูกหลานของเผด็จการ “แอปเปิ้ลไม่ค่อยหล่นไกลจากต้นมากนัก”
แล้วประชาธิปไตยกัมพูชายังมีความหวังอยู่ไหม?
“ทุกคนมีความหวังอยู่เสมอ…” มอร์เกนเบสเซอร์กล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี 2017 ฮุน เซน เริ่มตื่นตระหนกจากฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งและเป็นเอกภาพ เนื่องจากพรรคพันธมิตรฝ่ายค้านที่รู้จักกันในนาม ‘พรรคสงเคราะห์ชาติ’ (CNRP) นำโดยทหารผ่านศึก 2 คน ได้แก่ สม รังสี และ กึม สุขา ได้คะแนนเสียงทั่วประเทศถึง 44% ในปี 2013 ซึ่งนั่นทำให้ ฮุน เซน ตกใจมาก
และดูเหมือนว่าคะแนนเสียงของ CNRP จะนำหน้า CPP ด้วยซ้ำ ทำให้ชาวกัมพูชาหลายหมื่นคนพร้อมใจออกมาประท้วงเป็นเวลาหลายเดือนในปีนั้นเพื่อคัดค้านชัยชนะของ ฮุน เซน เพราะพวกเขารู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองภายในมือของพวกเขา
แต่หลังจากนั้นในปี 2017 CNRP ก็ลงสนามเลือกตั้งท้องถิ่นอีกครั้ง และ ฮุน เซน ก็ไม่รีรอที่จะจัดการฝ่ายค้าน ด้วยการอำนาจรัฐสภาที่ควบคุมโดย CPP ออกกฎหมายยุบพรรคใดๆ ก็ตามด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย จากนั้นเขาจึงใช้อำนาจใหม่ของเขาเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งยุบพรรค CNRP ไปในที่สุด นอกจากนี้ สมาชิก CNRP ประมาณ 100 คนยังถูกดำเนินคดี ส่วนแกนนำพรรคหลายคนก็ต้องลี้ภัยไปที่อื่นอีกด้วย
ขณะเดียวกันในช่วงเวลานั้น ฮุน เซน ยังบังคับให้หนังสือพิมพ์อย่าง The Cambodia Daily ปิดตัวลงและขับไล่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐ (US Peace Corps) ซึ่งนั่นทำให้ประชาคมระหว่างประเทศตกตะลึงกับการปราบปรามที่รุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ด้านสหรัฐฯ ก็เริ่มคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชาในปี 2019 แต่ท่าทีของ ฮุน เซน ยังคงเฉยเมยและสนับสนุนจีนต่อไป
นอกจากนี้ ฮุน เซน ยังคงข่มขู่และตั้งข้อหาทางอาญากับฝ่ายค้านอย่างพรรคเพลิงเทียนเรื่อยมา ทั้งยังไล่ปิดสำนักข่าวที่เป็นกระบอกเสียงประชาธิปไตยที่ยังเหลืออยู่ด้วย ตลอดจนติดสินบนคนในองค์กรให้มีการแปรพักตร์มากมาย ไม่ใช่แค่พรรคเพลิงเทียนเท่านั้น แต่รวมถึงสหภาพแรงงานและกลุ่มเกษตรกรด้วย ขณะที่ตัวแทนพรรค CPP ก็ตระเวนซื้อเสียงและข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อีกด้วย
นักการทูตชาวตะวันตกคนหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์ออกนามกล่าวกับ BBC ว่า “ทุกคนค่อนข้างหดหู่ และสิ้นหวังมาก”
ยุคหลัง ‘ฮุน เซน’ จะเป็นยังไงต่อไป?
หลังจากที่พรรคเพลิงเทียนลังเลว่าจะทำอย่างไรหลังจากถูกตัดสิทธิ์ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ในที่สุดเพลิงเทียนก็เลือกที่จะกลับมาตั้งหลักเพื่อรักษาเปลวไฟให้คงอยู่“เราจะพยายามอยู่รอดให้ได้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า…หลังจากนั้นเราจะกลับมาอีกครั้ง” คนวงในกล่าว
ขณะที่นักการทูตชาวตะวันตกกล่าวว่า “เรากำลังทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อสนับสนุนพื้นที่พลเมืองที่เหลืออยู่ แต่มีมุมมองที่ทุกคนมองไปยังกัมพูชาหลังยุค ฮุน เซน…มีความหวังบางอย่างที่จะดีขึ้นเมื่อ ฮุน มาเนต ลูกชายของเขาที่มีการศึกษาแบบตะวันตก และเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพอาจจะเข้ารับตำแหน่งแทน”
“ผมไม่คิดว่าเขาเป็นผู้กอบกู้ประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา แต่ผมคิดว่าเขามีใจปฏิรูปและต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก” นักการทูตกล่าวเสริม
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนให้ประชาชนไม่ฝากความหวังลมๆ แล้งๆ กับลูกหลานของเผด็จการ “แอปเปิ้ลไม่ค่อยหล่นไกลจากต้นมากนัก”
แล้วประชาธิปไตยกัมพูชายังมีความหวังอยู่ไหม?
“ทุกคนมีความหวังอยู่เสมอ…” มอร์เกนเบสเซอร์กล่าวทิ้งท้าย