กัมพูชากำลังพิจารณาหาทางทำงานร่วมกับไทยในการขจัดความขัดแย้งในประเด็นพื้นที่ชายแดนเพื่อพุ่งความสนใจไปที่การทำงานร่วมกันเพื่อสำรวจทรัพยากรทางทะเล อาทิ น้ำมันและก๊าซในอ่าวไทยร่วมกัน
ท่ามกลางการหารืออย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) รวมทั้งการพูดคุยกับผู้พิพากษา ฮิเดฮิสะ โฮริโนะอุจิ สมาชิกศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (ITLOS) ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายยุติข้อพิพาทเขตแดนทางทะเลเพื่อเร่งเจรจาการสำรวจและพัฒนาร่วมกัน
ระหว่างการเดินทางเยือนกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรี ฮุน มาเน็ต หารือกับนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในขณะนั้น ถึงความมุ่งมั่นของพวกเขาที่จะหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรไฮโดรคาร์บอนในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน (OCA) ระหว่างทั้งสองประเทศ
พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีทั้งน้ำมันและก๊าซสำรองมหาศาล เป็นประเด็นพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชามาตั้งแต่ทศวรรษ 1970
หลังจากการเสนาเรื่อง “การพัฒนาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลสู่ความร่วมมือทางทะเล” ที่ศูนย์ศึกษาภูมิภาคกัมพูชา (CCRS) ร่วมกับสถานทูตญี่ปุ่นในกัมพูชา เอกอัครราชทูต โพธิ โสธิรักษ์ ที่ปรึกษาอาวุผู้ทรงคุณวุฒิจาก CCRS ได้หารือถึงการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชากรณีการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย
ทูตโสธิรักษ์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน โดยยกตัวอย่างความสำเร็จของการร่วมมือกันระหว่างติมอร์เลสเตกับออสเตรเลียในการขุดเจาะแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
“ผมคิดว่าเป็นความคิดที่ดีที่กัมพูชาและไทยกลับมาทบทวนเจตนารมณ์ของการพัฒนาร่วมกัน ตามความเห็นโดยสุจริตของผม นั่นคือ การยุติการอ้างสิทธิ์อธิปไตย เมื่อคุณต้องการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซ ทางที่ดีที่สุดคือดูตัวอย่างจากสิ่งที่ติมอร์เลสเตทำกับออสเตรเลีย นั่นคือการพัฒนาร่วมกัน และนั่นคือวิธีที่ดีที่สุด” โพธิ โสธิรักษ์ ที่ปรึกษาอาวุผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์ศึกษาภูมิภาคกัมพูชา
โพธิ โสธิรักษ์ ที่ปรึกษาอาวุผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์ศึกษาภูมิภาคกัมพูชา
แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องหลายครั้งจากสมาชิกพรรคฝ่ายค้านให้รัฐบาลกัมพูชาแก้ปัญหาข้อพิพาททางทะเลกับไทยก่อนเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับการสำรวจน้ำมันและก๊าซ แต่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเจรจาเพื่อร่วมกันสำรวจและพัฒนาน้ำมันและก๊าซในพื้นที่พิพาทก่อน
ฮุน มาเน็ต อธิบายว่าพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวมี 2 ปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยแรกคือ ประเด็นเรื่องน้ำมันและก๊าซ ปัจจัยที่สองคือ ประเด็นเรื่องเขตแดนทางทะเล
“การเจรจาเรื่องเขตแดนของเราต้องดำเนินต่อไปอย่างระมัดระวังเพื่อปกป้องผลประโยชน์และอธิปไตของชาติ ส่วนฝั่งไทยก็เช่นเดียวกัน เราจำเป็นต้องเจรจาบนพื้นฐานในแง่เทคนิคและใช้เวลาของเราอย่างเต็มที่”
ฮุน มาเน็ต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
หลังการเสวนา ผู้พิพากษา โฮริโนะอุจิ เผยกับ Khmer Times โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลของกัมพูชา เพื่อรักษาสิทธิทางทะเลและกลไกความร่วมมือ การเข้าร่วมอนุสัญญาจะเป็นการวางกรอบทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับข้อตกลงในอนาคตเกี่ยวกับการประมงและการสำรวจน้ำมัน
“การเป็นสมาชิกอนุสัญญาจะให้ประโยชน์กับกัมพูชามากมาย” ผู้พิพากษาโฮริโนะอุจิกล่าว “ไม่มีข้อเสียในการให้สัตยาบันหรือเข้าร่วมอนุสัญญา”
โสธิรักษ์เผยต่อว่า อาเซียนทุกประเทศรวมทั้งกัมพูชาควรลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลเพื่อให้ใช้สิทธิทางกฎหมายเหนือพื้นที่ทางทะเลได้อย่างเต็มที่
“อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจะช่วยให้คุณทำสิ่งนั้นได้ ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความของผู้พิพากษาที่ว่ากัมพูชาจะได้ประโยชน์มากมายจากการให้สัตยาบันอนุสัญญา”
โสธิรักษ์เตือนว่า หากกัมพูชาต้องการเดินหน้าแบ่งเขต หน่วยงานด้านกฎหมายของกัมพูชาต้องแข็งแกร่งและมีหลักฐานที่เพียงพอมาสนับสนุนข้อกล้าวอ้าง และย้ำว่ากฎหมายระหว่างประเทศที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจะเป็นกรอบกฎหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาท
โสธิรักษ์ยังย้ำถึงความสำคัญของการตรวจสอบทางกฎหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกัมพูชาและความจำเป็นของบุคคลที่สามหากทั้งสองประเทศยังอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน
Photo by Penny STEPHENS / ASEAN-Australia Special Summit 2024 / AFP
“ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ข้างใต้คือส่วนหนึ่งของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล หากเราถูกละเมิด ยกตัวอย่างเช่น หากมันอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเรา และเราพิสูจได้ว่าน้ำมันและก๊าซเป็นของเรา”
โสธิรักษ์เผย
หลังการเสวนา ผู้พิพากษา โฮริโนะอุจิ เผยกับ Khmer Times โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลของกัมพูชา เพื่อรักษาสิทธิทางทะเลและกลไกความร่วมมือ การเข้าร่วมอนุสัญญาจะเป็นการวางกรอบทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับข้อตกลงในอนาคตเกี่ยวกับการประมงและการสำรวจน้ำมัน
“การเป็นสมาชิกอนุสัญญาจะให้ประโยชน์กับกัมพูชามากมาย” ผู้พิพากษาโฮริโนะอุจิกล่าว “ไม่มีข้อเสียในการให้สัตยาบันหรือเข้าร่วมอนุสัญญา”
โสธิรักษ์เผยต่อว่า อาเซียนทุกประเทศรวมทั้งกัมพูชาควรลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลเพื่อให้ใช้สิทธิทางกฎหมายเหนือพื้นที่ทางทะเลได้อย่างเต็มที่
“อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจะช่วยให้คุณทำสิ่งนั้นได้ ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความของผู้พิพากษาที่ว่ากัมพูชาจะได้ประโยชน์มากมายจากการให้สัตยาบันอนุสัญญา”
โสธิรักษ์เตือนว่า หากกัมพูชาต้องการเดินหน้าแบ่งเขต หน่วยงานด้านกฎหมายของกัมพูชาต้องแข็งแกร่งและมีหลักฐานที่เพียงพอมาสนับสนุนข้อกล้าวอ้าง และย้ำว่ากฎหมายระหว่างประเทศที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจะเป็นกรอบกฎหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาท
โสธิรักษ์ยังย้ำถึงความสำคัญของการตรวจสอบทางกฎหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกัมพูชาและความจำเป็นของบุคคลที่สามหากทั้งสองประเทศยังอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน
Photo by Penny STEPHENS / ASEAN-Australia Special Summit 2024 / AFP