สงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ กับจีนเพื่อชิงความเป็นเจ้าแห่งเซมิคอนดักเตอร์กำลังทวีความร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง เมื่อจีนประกาศจำกัดการส่งออก 2 แร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และเป็นส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอุปกรณ์การสื่อสารทางไกล
แถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์จีนระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นไป แกลเลียมและเจอร์เมเนียม รวมทั้งสารประกอบทางเคมีของโลหะทั้งสองชนิดนี้ จะอยู่ภายใต้มาตรการจำกัดการส่งออก เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ (เหตุผลเดียวกับที่สหรัฐฯ ใช้อ้างเวลาแบนจีน) โดยผู้ส่งออกแร่ทั้งสองต้องขอใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์หากต้องการเริ่มต้นหรือดำเนินการส่งแร่เหล่านี้ออกนอกประเทศ และต้องรายงานรายละเอียดของผู้ซื้อในต่างประเทศและคำร้องของผู้ชื้อ
นักวิเคราะห์ของ Jefferies ระบุว่า “นี่คือการตอบโต้ครั้งที่ 2 และครั้งที่ใหญ่ขึ้นของจีนในสงครามเทค และน่าจะเป็นการตอบโต้มาตรการเข้มงวดของสหรัฐฯ ในการแบนชิป” ซึ่งครั้งแรกก็คือ การแบน Micron Technology ผู้ผลิตเมโมรีชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
แถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์จีนระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นไป แกลเลียมและเจอร์เมเนียม รวมทั้งสารประกอบทางเคมีของโลหะทั้งสองชนิดนี้ จะอยู่ภายใต้มาตรการจำกัดการส่งออก เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ (เหตุผลเดียวกับที่สหรัฐฯ ใช้อ้างเวลาแบนจีน) โดยผู้ส่งออกแร่ทั้งสองต้องขอใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์หากต้องการเริ่มต้นหรือดำเนินการส่งแร่เหล่านี้ออกนอกประเทศ และต้องรายงานรายละเอียดของผู้ซื้อในต่างประเทศและคำร้องของผู้ชื้อ
นักวิเคราะห์ของ Jefferies ระบุว่า “นี่คือการตอบโต้ครั้งที่ 2 และครั้งที่ใหญ่ขึ้นของจีนในสงครามเทค และน่าจะเป็นการตอบโต้มาตรการเข้มงวดของสหรัฐฯ ในการแบนชิป” ซึ่งครั้งแรกก็คือ การแบน Micron Technology ผู้ผลิตเมโมรีชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

สหรัฐฯ-จีนมาถึงจุดนี้ได้ยังไง
เดือนตุลาคมปีที่แล้วรัฐบาลไบเดนประกาศแผนควบคุมการส่งออกโดยจะแบนบริษัทจีนไม่ให้ซื้อชิปและอุปกรณ์ผลิตชิปโดยไม่ได้รับอนุญาต รัฐบาลสหรัฐฯ อ้างว่าเพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติ เพราะชิปถือเป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์ไฮเทคหลายอย่าง อาทิ สมาร์ตโฟน รถยนต์ไร้คนขับ ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์แต่ไบเดนก็ยังไม่หยุดแค่นั้น เพื่อให้การแบนจีนมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐบาลสหรัฐฯ จำเป็นต้องให้ผู้ผลิตชิปรายสำคัญอื่นๆ เข้าร่วมการแบนด้วย ไม่ว่าจะเป็นเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และปรากฏว่าสองประเทศนี้เข้าร่วมด้วย
ในที่สุดจีนก็เอาคืน เดือนเมษายนที่ผ่านมาทางการจีนสั่งตรวจสอบบริษัท Micron ของสหรัฐฯ ก่อนจะแบนไม่ให้ Micron ขายชิปให้บริษัทสัญชาติจีนที่ทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญๆ และล่าสุดคือการจำกัดการส่งออกแกลเลียมและเจอร์เมเนียม
แกลเลียมและเจอร์เมเนียมคืออะไร
แกลเลียม คือ โลหะสีเงินที่มีความนุ่ม สามารถใช้มีดตัดได้ มักนำมาใช้ในการผลิตสารประกอบที่เป็นวัสดุหลักในเซมิคอนดักเตอร์และแอลอีดี ส่วนเจอร์เมเนียมเป็นโลหะแข็งสีขาวอมเทาที่นำมาใช้ในการผลิตไฟเบอร์ออฟติคที่สามารถส่งสัญญาณแสงและข้อมูลอิเล็กทรอนิกคล้ายกรณีแรร์อิร์ธ
การจำกัดการส่งออกครั้งนี้คล้ายคลึงกับการจำกัดการส่งออกแร่แรร์เอิร์ธของจีนเมื่อปี 2021 โดยจีนมีแรร์เอิร์ธอยู่ในมือมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลก แม้ว่าทั้งแกลเลียมและเจอร์เมเนียมไม่ได้เป็นหนึ่งในแร่แรร์เอิร์ธ แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการทำเหมืองและการผลิตไม่ต่างกัน เนื่องจากแกลเลียมและเจอร์เมเนียมมักจะอยู่ในรูปของผลพลอยได้จากการทำเหมืองโลหะทั่วไปอย่างอลูมิเนียม สังกะสี และทองแดงจีนคือผู้ผลิตรายใหญ่
จีนเป็นผู้ผลิตแกลเลียมและเจอร์เมเนียมอันดับต้นๆ ของโลก ข้อมูลของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ (USGS) ระบุว่า จีนผลิตแกลเลียมได้ 98% ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งโลก ส่วนเจอร์เมเนียมมีสัดส่วนอยู่ที่ 68%นักวิเคราะห์จาก Eurasia Group เผยกับ CNN ว่า “การผลิตในจำนวนมากจนทำให้ได้เปรียบในด้านต้นทุน (economies of scale) ในการดำเนินการขุดและแปรรูปที่กว้างขวางมากขึ้นของจีน ประกอบกับเงินอุดหนุนจากรัฐ ทำให้สามารถส่งออกแร่แปรรูปในราคาที่ผู้ประกอบการที่อื่นไม่สามารถเทียบได้ ทำให้จีนกลายเป็นเจ้าตลาดอย่างถาวรในสินค้าสำคัญ”
เว็บไซต์ข่าว Caixin รายงานโดยอ้างรายงานของศุลกากรจีนว่า สำหรับปี 2022 ประเทศที่นำเข้าแกลเลียมของจีนในอันดับต้นๆ คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่นำเข้าเจอร์เมเนียมของจีนในอันดับต้นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐฯ
จะทำให้เกิดสงครามชิปได้ยังไง
สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาจีนสำหรับแร่ทั้งสองชนิดนี้ ข้อมูลจาก USGS ระบุว่า สหรัฐฯ นำเข้าแกลเลียมและเจร์เมเนียมจากจีนมากกว่า 50% ของปริมาณที่ใช้ทั้งหมดในปี 2021นักวิเคราะห์ของ Eurasia Group มองว่า การควบคุมการส่งออกของจีนเป็น “การเตือน” โดยในรายงานการวิจัยของ Eurasia Group ระบุว่า “มันเป็นการเตือนหลายๆ ประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ว่าจีนมีทางเลือกในการตอบโต้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการป้องกันไม่ให้ประเทศเหล่านี้กำหนดข้อจำกัดเพิ่มเติมในการเข้าถึงชิปและเครื่องมือระดับไฮเอนด์ของจีน”
หรืออีกมุมหนึ่ง ทางการจีนอาจตั้งใจใช้ความเป็นเจ้าตลาดของแร่ทั้งสองชนิดนี้เป็นเครื่องมือต่อรองระหว่างหารือกับ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ที่มีกำหนดเดินทางเยือนจีนเร็วๆ นี้
นักวิเคราะห์ของ Jefferies เผยว่า ช่วงเวลาของการประกาศไม่น่าจะเป็นการตัดสินใจโดยบังเอิญ “จีนให้เวลาสหรัฐฯ อย่างน้อย 2 วันในการทำความเข้าใจและตอบโต้อย่างรอบคอบ”
อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวของจีนครั้งนี้ “ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย” สำหรับสหรัฐฯ และพันธมิตร
นักวิเคราะห์ของ Eurasia Group มองว่า จีนอาจเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ แต่ก็ยังมีผู้ผลิตรายอื่นเป็นตัวเลือกอีกมากมาย รวมทั้งผู้ผลิตที่จะมาแทนที่สำหรับแร่ทั้งสองชนิดนี้ นอกจากจีนแล้ว สหรัฐฯ ยังนำเข้า 1 ใน 5 ของแกลเลียมจากสหราชอาณาจักรและเยอรมนี และยังซื้อเจอร์เมเนียมมากกว่า 30% จากเบลเยียมและเยอรมนี
จะมีการควบคุมแร่อย่างอื่นตามมาอีกมั้ย
นักวิเคราะห์เผยว่าปักกิ่งอาจยกระดับการตอบโต้เพิ่มเติมหากการควบคุมแกลเลียมและเจอร์เมเนียมครั้งนี้ไม่สามารถทำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนท่าที และว่าแร่แรร์เอิร์ธซึ่งเป็นแร่หายากและมีกระบวนการซับซ้อนในการสกัดก็เป็นอีกหนึ่งแร่ที่สำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และอาจตกเป็นเป้าหมายรายต่อไป“หากการกระทำนี้ไม่สามารถเปลี่ยนพลวัตรระหว่างสหรัฐฯ กับจีน น่าจะมีการควบคุมการส่งออกแร่แรร์เอิร์ธมากกว่านี้”
ดาบสองคม
นักวิเคราะห์จาก Eurasia Group เตือนว่า การจำกัดการส่งออกถือเป็นดาบสองคม ความพยายามในอดีตของจีนในการใช้ความเป็นผู้นำตลาดแร่แรร์เอิร์ธเป็นเครื่องมือต่อรองทำให้แร่แรร์เอิร์ธลดลงและราคาสูง เมื่อราคาสูงขึ้นก็ทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น เพราะทำให้การทำเหมืองและการแปรรูปแรร์เอิร์ธนอกประเทศจีนแข่งขันในเรื่องราคาได้ปี 2010 จีนตัดลดโควตาการส่งออกแรร์เอิร์ธท่ามกลางความตึงเครียดกับสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ผลิตแรร์เอิร์ธที่อยู่นอกจีนพากันเพิ่มกำลังการผลิต ข้อมูลของสหรัฐฯ พบว่าส่วนแบ่งการตลาดแร่แรร์เอิร์ธของจีนลดลงจาก 97% ในปี 2010 เหลือ 60% ในปี 2019