เกิดเรื่องร้อนขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอินเดียและกับบางประเทศในอาเซียนเมื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีนเผยแพร่ “แผนที่มาตรฐานของจีนฉบับปี 2023” เมื่อวันจันทร์ (28 ส.ค.) เมื่อทางการจีนอ้างว่าพื้นที่ในรัฐอรุณาจัลประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งจีนอ้างว่าเป็นทิเบตใต้และภูมิภาคอักไซชินที่จีนเข้าไปยึดครองในสงครามปี 1962 รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้ซึ่งทับซ้อนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษของฟิลิปปินส์ในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตกว่าเป็นดินแดนของจีน
Global Times ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลจีนโพสต์ภาพแผนที่ฉบับใหม่ พร้อมระบุในทวิตเตอร์ว่า “แผนที่ฉบับนี้รวบรวมโดยใช้วิธีวาดเส้นแบ่งเขตแดนของจีนและประเทศต่างๆ ทั่วโลก”
หลังจากนั้นบรรดาประเทศที่ได้รับผลกระทบจากแผนที่ฉบับนี้ก็พากันส่งเสียงคัดค้านจีน
ส่วนความขัดแย้งเหนือภูมิภาคอักไซชินนั้นต้องย้อนกลับไปสมัยอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งอังกฤษล้มเหลวในการปักปันเขตแดนระหว่างอินเดียและจีน โดยปัจจุบันนี้เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริงแบ่งแยกแคว้นจัมมูกัศมีร์ออกของอินเดียออกจากอักไซชิน
ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับจีนซึ่งมีพรมแดนติดกันแย่ลงหลังจากทหารของทั้งสองฝั่งปะทะกันรุนแรงบริเวณชายแดนเทือกเขาหิมาลัยใกล้กับอักไซชินซึ่งเป็นพื้นที่ที่จีนควบคุมแต่ทั้งสองประเทศต่างก็อ้างสิทธิ์เมื่อปี 2020 ส่งผลให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย ทหารจีนเสียชีวิต 4 นาย จีนและอินเดียพยายามเจรจากันมา 19 ครั้งแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ และเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาจีนยังเผยแพร่แผนที่ที่เปลี่ยนชื่อสถานที่ 11 แห่งในอรุณาจัลประเทศ อาทิ ยอดเขา แม่น้ำสร้างความไม่พอในจให้อินเดียมาแล้วครั้งหนึ่ง
เมื่อจีนประกาศแผนที่ใหม่ออกมาอินเดียจึงเป็นประเทศแรกที่ออกมาตอบโต้ด้วยการประท้วงอย่างแข็งกร้าวต่อจีน โดย อารินดัม บักชี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียออกแถลงการณ์ว่า “วันนี้เราได้ประท้วงอย่างแข็งกร้าวผ่านช่องทางทางการทูตต่อทางการจีนกรณีที่แผนที่มาตรฐานของจีนอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของอินเดีย เราปฏิเสธการอ้งสิทธิ์เหล่านั้นเนื่องจากพวกเขาไม่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนดังกล่าวของฝ่ายจีนมีแต่ทำให้การแก้ปัญหาเขตแดนยุ่งยากเท่านั้น”
มาเลเซียแจงว่า แผนที่ของจีนฉบับใหม่นี้ทับซ้อนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษนอกชายฝั่งของรัฐซาบาห์และซาราวักบนเกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย และว่า ประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้เป็นเรื่อง “ซับซ้อนและละเอียดอ่อน” และต้อง “จัดการอย่างสันติและมีเหตุผลผ่านการพูดคุย” โดยยึดกฎหมายระหว่างประเทศ
ก่อนหน้านี้มีรายงานการปะทะกันหลายครั้งรอบๆ หมู่เกาะเซกันโธมัสในฟิลิปปินส์ ซึ่งทอดตัวอยู่ห่างจากเกาะปาลาวันของฟิลิปปินส์ราว 200 กิโลเมตร และห่างจากเกาะไห่หนานของจีนราว 1,000 กิโลเมตร และล่าสุดเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์เพิ่งเรียกทูตจีนเข้าพบหลังเรือยามฝั่งของจีนใช้ปืนฉีดน้ำยิงใส่เรือของฟิลิปปินส์ และเดือน ก.พ. ฟิลิปปินส์ก็ประท้วงที่จีนยิงเลเซอร์ใส่เรือ
ทั้งนี้ จีนเข้ายึดหมู่เกาะสการ์โบโรจากฟิลิปปินส์เมื่อปี 2012 ครอบครองหมู่เกาะมิสชีฟเมื่อปี 1995 และยึดหมู่เกาะพาราเซลจากเวียดนามเมื่อปี 1974
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้จีนยังเดินหน้าสร้างสิ่งก่อสร้างทางการทหารเพิ่มขึ้นตามหหมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งนำเจ้าหน้าที่ยามฝั่งและกองกำละงทางทะเลเข้าประจำการ ซึ่งบางครั้งนำมาสู่การเผชิญหน้ากันกับประเทศอื่นที่อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้เช่นกัน อาทิ มาลเซีย เวียดนาม บรูไน และไต้หวัน
เส้นประ 9 เส้นของจีนนั้นมีอยู่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยราชวงศ์เซี่ยเมื่อเกือบ 4,000 ปีก่อน โดยแต่เดิมจีนใช้เส้นประ 11 เส้นกำหนดเขตแดน ก่อนละลดลงมาเหลือ 9 เส้นในสมัยเหมาเจ๋อตง แต่แผนที่มาตรฐานฉบับปี 2023 ดูเหมือนว่าจีนจะเพิ่มเส้นประเป็น 10 เส้น โดย 1 เส้นที่เพิ่มมาคือ เส้นที่อยู่ทางตะวันออกของไต้หวัน
วิลลี แลม นักวิจัยจากสถาบันคลังสมอง Jamestown Foundation ในสหรัฐฯ เผยว่า “แนวคิดทั่วไปคือ เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนแย่มากจนสีจิ้นผิงต้องหยิบไพ่ความรักชาติออกมาเล่นด้วยการกระตุ้นความรู้สึกรักชาติอย่างแรงกล้าของประชาชน สีจิ้นผิงไม่มีอาวุธอื่นเหลือในกล่องเครื่องมือแล้ว”
คอลลิน โก๊ะ นักวิจัยจาก Institute of Defence and Strategic Studies ในสิงคโปร์ มองว่า “มันจะสร้างความกังขาและจะไม่ช่วยลดความตึงเครียดในทะเลจีนใต้และชายแดนจีน-อินเดีย อินเดียตอบโต้ด้วยการประท้วง...และเวียดนามก็อาจทำแบบเดียวกัน การเผยแพร่แผนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบังคับใช้ "จุดยืนอันแน่วแน่ของปักกิ่ง" ต่ออำนาจอธิปไตยและสิทธิของจีนในภูมิภาคเหล่านั้น นี่คือแท็คติกนิติสงครามที่จีนใช้เป็นประจำ”
Global Times ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลจีนโพสต์ภาพแผนที่ฉบับใหม่ พร้อมระบุในทวิตเตอร์ว่า “แผนที่ฉบับนี้รวบรวมโดยใช้วิธีวาดเส้นแบ่งเขตแดนของจีนและประเทศต่างๆ ทั่วโลก”
หลังจากนั้นบรรดาประเทศที่ได้รับผลกระทบจากแผนที่ฉบับนี้ก็พากันส่งเสียงคัดค้านจีน
อินเดีย
จีนถือว่ารัฐอรุณาจัลประเทศที่อินเดียครอบครองอยู่เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตัวเองโดยเรียกว่า “จั้งหนาน” ที่แปลว่าทิเบตใต้ เมื่อปี 1962 ทั้งสองประเทศเคยรบกันในบริเวณนี้ และจีนได้รุกคืบเข้าไปในรัฐอรุณาจัลประเทศ แต่สุดท้ายจีนตัดสินใจคืนพื้นที่ให้อยู่ในการควบคุมของอินเดียและจัดทำ “เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง” (Line of Actual Control-LAC) ขึ้นมา ซึ่งมีระยะทางกว่า 3,500 กิโลเมตรผ่านแนวเทือกเขาหิมาลัยที่สลับซับซ้อนและทุรกันดารส่วนความขัดแย้งเหนือภูมิภาคอักไซชินนั้นต้องย้อนกลับไปสมัยอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งอังกฤษล้มเหลวในการปักปันเขตแดนระหว่างอินเดียและจีน โดยปัจจุบันนี้เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริงแบ่งแยกแคว้นจัมมูกัศมีร์ออกของอินเดียออกจากอักไซชิน
ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับจีนซึ่งมีพรมแดนติดกันแย่ลงหลังจากทหารของทั้งสองฝั่งปะทะกันรุนแรงบริเวณชายแดนเทือกเขาหิมาลัยใกล้กับอักไซชินซึ่งเป็นพื้นที่ที่จีนควบคุมแต่ทั้งสองประเทศต่างก็อ้างสิทธิ์เมื่อปี 2020 ส่งผลให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย ทหารจีนเสียชีวิต 4 นาย จีนและอินเดียพยายามเจรจากันมา 19 ครั้งแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ และเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาจีนยังเผยแพร่แผนที่ที่เปลี่ยนชื่อสถานที่ 11 แห่งในอรุณาจัลประเทศ อาทิ ยอดเขา แม่น้ำสร้างความไม่พอในจให้อินเดียมาแล้วครั้งหนึ่ง
เมื่อจีนประกาศแผนที่ใหม่ออกมาอินเดียจึงเป็นประเทศแรกที่ออกมาตอบโต้ด้วยการประท้วงอย่างแข็งกร้าวต่อจีน โดย อารินดัม บักชี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียออกแถลงการณ์ว่า “วันนี้เราได้ประท้วงอย่างแข็งกร้าวผ่านช่องทางทางการทูตต่อทางการจีนกรณีที่แผนที่มาตรฐานของจีนอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของอินเดีย เราปฏิเสธการอ้งสิทธิ์เหล่านั้นเนื่องจากพวกเขาไม่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนดังกล่าวของฝ่ายจีนมีแต่ทำให้การแก้ปัญหาเขตแดนยุ่งยากเท่านั้น”
มาเลเซีย
กระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียปฏิเสธแผนที่มาตรฐานฉบับปี 2023 ของจีนว่า เป็น “การกล่าวอ้างโดยฝ่ายเดียว” และว่า มาเลเซียจะยึดมั่นในตำแหน่งของตนในการปฏิเสธการเรียกร้องของประเทศใดๆ ต่ออธิปไตย สิทธิอธิปไตย และเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับลักษณะทางทะเลของมาเลเซีย “มาเลเซียไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ตามที่ปรากฏในแผนที่มาตรฐานฉบับปี 2023 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลของมาเลเซีย”มาเลเซียแจงว่า แผนที่ของจีนฉบับใหม่นี้ทับซ้อนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษนอกชายฝั่งของรัฐซาบาห์และซาราวักบนเกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย และว่า ประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้เป็นเรื่อง “ซับซ้อนและละเอียดอ่อน” และต้อง “จัดการอย่างสันติและมีเหตุผลผ่านการพูดคุย” โดยยึดกฎหมายระหว่างประเทศ
ฟิลิปปินส์
กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ออกแถลงการณ์ปฏิเสธแผนที่ของจีนว่า “ความพยายามครั้งล่าสุดในการทำให้การอ้างอธิปไตยและเขตอำนาจศาลเหนือเขตเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์โดยจีนเป็นเรื่องถูกกฎหมายนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS)” และว่า คำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกเมื่อปี 2016 ทำให้เส้นประ 9 เส้นเป็นโมฆะก่อนหน้านี้มีรายงานการปะทะกันหลายครั้งรอบๆ หมู่เกาะเซกันโธมัสในฟิลิปปินส์ ซึ่งทอดตัวอยู่ห่างจากเกาะปาลาวันของฟิลิปปินส์ราว 200 กิโลเมตร และห่างจากเกาะไห่หนานของจีนราว 1,000 กิโลเมตร และล่าสุดเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์เพิ่งเรียกทูตจีนเข้าพบหลังเรือยามฝั่งของจีนใช้ปืนฉีดน้ำยิงใส่เรือของฟิลิปปินส์ และเดือน ก.พ. ฟิลิปปินส์ก็ประท้วงที่จีนยิงเลเซอร์ใส่เรือ
ทั้งนี้ จีนเข้ายึดหมู่เกาะสการ์โบโรจากฟิลิปปินส์เมื่อปี 2012 ครอบครองหมู่เกาะมิสชีฟเมื่อปี 1995 และยึดหมู่เกาะพาราเซลจากเวียดนามเมื่อปี 1974
ไต้หวัน
แผนที่มาตรฐานของจีนเรียกเสียงคัดค้านจากไต้หวันที่ถูกรวมเข้าไปอยู่ในแผนที่ด้วยเช่นกัน กระทรวงการต่างประเทศของไต้หวันเผยกับ Nikkei Asia ว่า “ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) เป็นประเทศที่มีอธิปไตยและเป็นอิสระ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เคยปกครองไต้หวัน สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และเป็นสถานะที่เป็นอยู่ในประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่ารัฐบาลจีนจะบิดเบือนการอ้างสิทธิ์ในอธิปไตยของไต้หวันอย่างไร ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่เป็นกลางของการดำรงอยู่ของประเทศของเราได้”จีนโต้กลับ
หลังจากหลายประเทศส่งเสียงคัดค้าน หวังเหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องวางตัวเป็นกลาง และว่าการกระทำของจีนเป็น “การใช้อธิปไตยของจีนตามกฎหมายที่ปฏิบัติเป็นประจำ...เราหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะวางตัวเป็นกลางและอยู่ในความสงบ และงดเว้นการตีความเกินประเด็น”ทะเลจีนใต้ พื้นที่แห่งความตึงเครียด
ทะเลจีนใต้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั้งทางทหารและการค้าการเดินเรือ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมระหว่างแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย และเป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อเอเชียตะวันออกกับยุโรปและตะวันออกกลาง ความตึงเครียดในทะลจีนใต้ทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากจีนเริ่มเข้ามาอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่มากขึ้น แม้ว่าศาลระหว่างประเทศจะตัดสินว่าสิ่งที่เรียกว่า “เส้นประ 9 เส้น” ของจีนนั้นไม่สมควรมาตั้งแต่ปี 2016 แล้วก็ตามในช่วงไม่กี่ปีมานี้จีนยังเดินหน้าสร้างสิ่งก่อสร้างทางการทหารเพิ่มขึ้นตามหหมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งนำเจ้าหน้าที่ยามฝั่งและกองกำละงทางทะเลเข้าประจำการ ซึ่งบางครั้งนำมาสู่การเผชิญหน้ากันกับประเทศอื่นที่อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้เช่นกัน อาทิ มาลเซีย เวียดนาม บรูไน และไต้หวัน
เส้นประ 9 เส้นของจีนนั้นมีอยู่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยราชวงศ์เซี่ยเมื่อเกือบ 4,000 ปีก่อน โดยแต่เดิมจีนใช้เส้นประ 11 เส้นกำหนดเขตแดน ก่อนละลดลงมาเหลือ 9 เส้นในสมัยเหมาเจ๋อตง แต่แผนที่มาตรฐานฉบับปี 2023 ดูเหมือนว่าจีนจะเพิ่มเส้นประเป็น 10 เส้น โดย 1 เส้นที่เพิ่มมาคือ เส้นที่อยู่ทางตะวันออกของไต้หวัน
ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนประกาศแผนที่ตามใจชอบ
The Diplomat ระบุว่า เมื่อปี 2014 จีนเผยแพร่แผนที่ฉบับปรับปรุงที่เน้นถึงเส้นประ 9 เส้นในทะเลจีนใต้และทำให้เกาะและดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ปรากฏเป็นส่วนสำคัญในบูรณภาพแห่งดินแดนของจีนมากกว่าแผนที่ฉบับก่อนๆ ส่วนในปี 2012 การเผยแพร่แผนที่ในพาสปอร์ตแบบใหม่ของจีนก็ทำให้หลายประเทศ เช่น เวียดนาม อินเดีย คัดค้านหันเหความสนใจประชาชน
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า การเผยแพร่แผนที่ฉบับใหม่ของจีนเป็นความพยายามของรัฐบาลปักกิ่งในการจะหันเหความสนใจของประชาชนจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้นของประเทศวิลลี แลม นักวิจัยจากสถาบันคลังสมอง Jamestown Foundation ในสหรัฐฯ เผยว่า “แนวคิดทั่วไปคือ เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนแย่มากจนสีจิ้นผิงต้องหยิบไพ่ความรักชาติออกมาเล่นด้วยการกระตุ้นความรู้สึกรักชาติอย่างแรงกล้าของประชาชน สีจิ้นผิงไม่มีอาวุธอื่นเหลือในกล่องเครื่องมือแล้ว”
คอลลิน โก๊ะ นักวิจัยจาก Institute of Defence and Strategic Studies ในสิงคโปร์ มองว่า “มันจะสร้างความกังขาและจะไม่ช่วยลดความตึงเครียดในทะเลจีนใต้และชายแดนจีน-อินเดีย อินเดียตอบโต้ด้วยการประท้วง...และเวียดนามก็อาจทำแบบเดียวกัน การเผยแพร่แผนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบังคับใช้ "จุดยืนอันแน่วแน่ของปักกิ่ง" ต่ออำนาจอธิปไตยและสิทธิของจีนในภูมิภาคเหล่านั้น นี่คือแท็คติกนิติสงครามที่จีนใช้เป็นประจำ”