นอกจากชาวโลกจะรอชมพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ของอังกฤษแล้ว พิธีนี้ยังจุดกระแสการเรียกร้องให้อังกฤษส่งคืนเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ประดับเป็นเพชรเม็ดเด่นอยู่บนคทาที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงถือเข้าพิธีในวันเสาร์นี้ให้แก่แอฟริกาใต้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
ขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อเรียกร้องทางออนไลน์กว่า 8,000 รายชื่อแล้ว โดย โมธูซี คาแมงกา นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวในเมืองโจฮันเนสเบิร์กของแอฟริกาใต้ที่เป็นแกนนำในการลงชื่อเรียกร้องทางออนไลน์เผยกับสำนักข่าว Reuters ว่า “เพชรต้องกลับมาที่แอฟริกาใต้ มันต้องเป็นสัญลักษณ์ของความภาคภูมิใจ มรดก และวัฒนธรรมของเรา ผมคิดว่าโดยทั่วไปแล้วคนแอฟริกันเริ่มตระหนักว่าการปลดปล่อยอาณานิคมไม่ใช่แค่การปล่อยให้ผู้คนมีเสรีภาพบางอย่าง แต่ยังเป็นการเอาคืนสิ่งที่ถูกยึดไปจากเราด้วย”
ขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อเรียกร้องทางออนไลน์กว่า 8,000 รายชื่อแล้ว โดย โมธูซี คาแมงกา นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวในเมืองโจฮันเนสเบิร์กของแอฟริกาใต้ที่เป็นแกนนำในการลงชื่อเรียกร้องทางออนไลน์เผยกับสำนักข่าว Reuters ว่า “เพชรต้องกลับมาที่แอฟริกาใต้ มันต้องเป็นสัญลักษณ์ของความภาคภูมิใจ มรดก และวัฒนธรรมของเรา ผมคิดว่าโดยทั่วไปแล้วคนแอฟริกันเริ่มตระหนักว่าการปลดปล่อยอาณานิคมไม่ใช่แค่การปล่อยให้ผู้คนมีเสรีภาพบางอย่าง แต่ยังเป็นการเอาคืนสิ่งที่ถูกยึดไปจากเราด้วย”

เช่นเดียวกับ ไวออลเวธู ซันกูลา นักการเมืองจากพรรคฝ่ายค้านของแอฟริกาใต้ที่บอกว่าเพชรเม็ดนี้เป็นของคนแอฟริกาใต้ “ผู้คนต้องล้มตาย ต้องเสียเลือดเนื้อเพื่อให้เพชรเหล่านั้นไปอยู่ที่อังกฤษ ความมั่งคั่งทางแร่ธาตุทั้งหมดในแอฟริกาใต้เป็นของชาวแอฟริกาใต้ ไม่ใช่ของอังกฤษ” และโมฮาเหม็ด อับดุลลาฮี ชาวเมืองโจฮันเนสเบิร์กที่บอกว่า “ผมเชื่อว่าควรพามันกลับบ้าน เพราะสุดท้าย พวกเขาเอามันไปจากเราในขณะที่พวกเขาบีบบังคับเรา”
เพชรคัลลิแนนถูกพบที่เหมืองของ โธมัส คัลลิแนน ในแอฟริกาใต้เมื่อปี 1905 เป็นเพชรที่ยังไม่ผ่านการเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยน้ำหนัก 3,106 กะรัต ต่อมาเพชรเม็ดนี้ถูกส่งไปที่กรุงอัมสเตอร์ดัมเพื่อตัดแบ่งออกเป็นเพชรเม็ดใหญ่ๆ 9 เม็ด และเม็ดเล็กๆ อีก 96 เม็ด
เพชรคัลลิแนนถูกพบที่เหมืองของ โธมัส คัลลิแนน ในแอฟริกาใต้เมื่อปี 1905 เป็นเพชรที่ยังไม่ผ่านการเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยน้ำหนัก 3,106 กะรัต ต่อมาเพชรเม็ดนี้ถูกส่งไปที่กรุงอัมสเตอร์ดัมเพื่อตัดแบ่งออกเป็นเพชรเม็ดใหญ่ๆ 9 เม็ด และเม็ดเล็กๆ อีก 96 เม็ด

ราชวงศ์อังกฤษครอบครองเพชรคัลลิแนนที่ถูกตัดแบ่งไว้จำนวนหนึ่ง นั่นคือ เพชรคัลลิแนน 1 หรือชื่อเดิมคือ Great Star of Africa (ดาวใหญ่แห่งแอฟริกา) ซึ่งเป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดที่แบ่งออกมาจากเพชรคัลลิแนน (หนัก 530.2 กะรัต) นำมาประดับไว้บนคทากางเขน (Sceptre with Cross)
ส่วนเพชรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ที่ตัดมาจากเพชรคัลลิแนนคือ เพชรคัลลิแนน 2 หรือชื่อเดิมคือ Second Star of Africa (ดาวดวงที่ 2 แห่งแอฟริกา) มีน้ำหนัก 317 กะรัต ถูกนำมาประดับไว้บนมงกุฎอิมพีเรียลสเตตที่ตั้งประดับไว้บนหีบพระบรมศพควีนเอลิซาเบธ โดยเป็นเพชรที่มีมูลค่ามากที่สุดบนมงกุฎ
ส่วนเพชรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ที่ตัดมาจากเพชรคัลลิแนนคือ เพชรคัลลิแนน 2 หรือชื่อเดิมคือ Second Star of Africa (ดาวดวงที่ 2 แห่งแอฟริกา) มีน้ำหนัก 317 กะรัต ถูกนำมาประดับไว้บนมงกุฎอิมพีเรียลสเตตที่ตั้งประดับไว้บนหีบพระบรมศพควีนเอลิซาเบธ โดยเป็นเพชรที่มีมูลค่ามากที่สุดบนมงกุฎ

นอกจากนี้ควีนเอลิซาเบธยังเป็นเจ้าของเพชรคัลลิแนนที่เม็ดใหญ่รองลงมาอีก 2 เม็ดซึ่งนำมาประดับไว้บนเข็มกลัดซึ่งรู้จักกันในชื่อ Granny’s Chips
ข้อมูลของสารานุกรม Brittanica ระบุว่า เพชรคัลลินันถูกซื้อโดยรัฐบาลในทรานส์วาลของแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นที่ที่พบเพชรเม็ดดังกล่าว และเมื่อปี 1907 ก็ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ซึ่งเป็นประมุขของอังกฤษในขณะนั้น และเป็นช่วงที่แอฟริกาใต้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
ส่วน Royal Collection Trust หน่วยงานที่ดูแลทรัพย์สินของราชวงศ์อังกฤษระบุว่า เพชรถูกทูลเกล้าฯ ถวายแด่คิงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเยียวยาความบาดหมางระหว่างอังกฤษและแอฟริกาใต้ภายหลังสงครามโบเออร์
ข้อมูลของสารานุกรม Brittanica ระบุว่า เพชรคัลลินันถูกซื้อโดยรัฐบาลในทรานส์วาลของแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นที่ที่พบเพชรเม็ดดังกล่าว และเมื่อปี 1907 ก็ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ซึ่งเป็นประมุขของอังกฤษในขณะนั้น และเป็นช่วงที่แอฟริกาใต้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
ส่วน Royal Collection Trust หน่วยงานที่ดูแลทรัพย์สินของราชวงศ์อังกฤษระบุว่า เพชรถูกทูลเกล้าฯ ถวายแด่คิงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเยียวยาความบาดหมางระหว่างอังกฤษและแอฟริกาใต้ภายหลังสงครามโบเออร์

นอกจากนี้ หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตยังเกิดกระแสเรียกร้องจากอินเดียให้รัฐบาลอังกฤษส่งคืนเพชรล้ำค่าโคอินัวร์ (Koh-i-Noor) ที่ประดับอยู่บนมงกุฎอิมพีเรียลสเตต
ขณะนั้นโลกทวิตเตอร์ในอินเดียพูดถึงเพชรโคอินัวร์กันเป็นวงกว้างซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทวงคืนจนแฮชแท็ก #kohinoor ติดเทรนด์
ผู้ที่ใช้ชื่อว่า วิเวก ซิงห์ ทวีตว่า “ควีนเอลิซาเบธสวรรคตวันนี้ พวกเราจะทวงคืนเพชร #โคอินัวร์ ที่ถูกชาวอังกฤษขโมยไปจาก #อินเดีย กลับมาได้หรือยัง พวกเขาสร้างความมั่งคั่งบนความตาย ความอดอยาก เผาและปล้น”
อีกรายหนึ่งทวีตว่า “เส้นทางของโคอินัวร์: จากอินเดียสู่อังกฤษ มันควรกลับมาบ้านเกิดได้แล้ว นั่นคือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่อังกฤษทำได้หลังจากแสวงหาประโยชน์ กดขี่ เหยียดเชื้อชาติ ใช้แรงงานทาสกับคนอินเดียมาหลายร้อยปี”
หลายคนถึงกับเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมดี ขอให้อังกฤษคืนเพชรโคอินัวร์ให้อินเดียอย่างเป็นทางการ
เพชรโคอินัวร์ ซึ่งแปลว่า ‘ภูเขาแห่งแสงสว่าง’ ในภาษาเปอร์เซีย กลายเป็นประเด็นข้อพิพาททางการเมืองระหว่างอินเดียและอังกฤษมายาวนานว่าใครเป็นเจ้าของเพชรล้ำค่าหายากเม็ดนี้กันแน่ โดยชาวอินเดียส่วนใหญ่เชื่อว่าเพชรถูกอังกฤษขโมยไปในยุคอาณานิคม
เพชรโคอินัวร์ถูกพบในเหมือง Golconda ทางตอนกลางของภาคใต้ของอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 14 และผ่านมือเจ้าของมากหน้าหลายตา ไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโมกุล ชาร์แห่งอิหร่าน อาเมียร์ของอัฟกานิสถาน และมหาราชาของจักรวรรดิซิกข์
ขณะนั้นโลกทวิตเตอร์ในอินเดียพูดถึงเพชรโคอินัวร์กันเป็นวงกว้างซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทวงคืนจนแฮชแท็ก #kohinoor ติดเทรนด์
ผู้ที่ใช้ชื่อว่า วิเวก ซิงห์ ทวีตว่า “ควีนเอลิซาเบธสวรรคตวันนี้ พวกเราจะทวงคืนเพชร #โคอินัวร์ ที่ถูกชาวอังกฤษขโมยไปจาก #อินเดีย กลับมาได้หรือยัง พวกเขาสร้างความมั่งคั่งบนความตาย ความอดอยาก เผาและปล้น”
อีกรายหนึ่งทวีตว่า “เส้นทางของโคอินัวร์: จากอินเดียสู่อังกฤษ มันควรกลับมาบ้านเกิดได้แล้ว นั่นคือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่อังกฤษทำได้หลังจากแสวงหาประโยชน์ กดขี่ เหยียดเชื้อชาติ ใช้แรงงานทาสกับคนอินเดียมาหลายร้อยปี”
หลายคนถึงกับเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมดี ขอให้อังกฤษคืนเพชรโคอินัวร์ให้อินเดียอย่างเป็นทางการ
เพชรโคอินัวร์ ซึ่งแปลว่า ‘ภูเขาแห่งแสงสว่าง’ ในภาษาเปอร์เซีย กลายเป็นประเด็นข้อพิพาททางการเมืองระหว่างอินเดียและอังกฤษมายาวนานว่าใครเป็นเจ้าของเพชรล้ำค่าหายากเม็ดนี้กันแน่ โดยชาวอินเดียส่วนใหญ่เชื่อว่าเพชรถูกอังกฤษขโมยไปในยุคอาณานิคม
เพชรโคอินัวร์ถูกพบในเหมือง Golconda ทางตอนกลางของภาคใต้ของอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 14 และผ่านมือเจ้าของมากหน้าหลายตา ไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโมกุล ชาร์แห่งอิหร่าน อาเมียร์ของอัฟกานิสถาน และมหาราชาของจักรวรรดิซิกข์

ส่วนอังกฤษได้เป็นเจ้าของเพชรโคอินัวร์เมื่อปี 1849 หลังจากบริษัท อีสต์ อินเดีย ริบเพชรมาจากมหาราชาทุลีป ซิงห์ ของจักรวรรดิซิกข์ในปัญจาบ โดยการมอบเพชรเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาลาฮอร์ที่ระบุว่าจักรวรรดิซิกข์ต้องยอมจำนนต่ออังกฤษเพราะแพ้สงครามแองโกล-ซิกข์
หลายคนเชื่อว่าเพชรโคอินัวร์เป็นเพชรต้องคำสาปที่จำนำพาความโชคร้ายมาสู่ผู้สวมใส่ที่เป็นผู้ชาย แต่จะนำพาความโชคดีมาสู่ผู้หญิง เนื่องจากความเป็นมาอันโชคเลือดของเพชรตลอดเกือบ 1,000 ปีทั้งจากการฆาตกรรมและการทรยศหักหลัง
เมื่อปี 2016 เพชรโคอินัวร์กลายเป็นกรณีพิพาทถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล เมื่อองค์กรไม่แสวงกำไรแห่งหนึ่งในอินเดียยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้รัฐบาลอินเดียนำเพชรกลับสู่บ้านเกิด
ในขณะนั้นอัยการสูงสุดซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลอินเดียเผยว่า เพชรโคอินัวร์คือของขวัญที่อดีตผู้ปกครองปัญจาบมอบให้บริษัท อีสต์ อินเดียในปี 1849 และ “ไม่ใช่เพชรที่ถูกขโมยหรือถูกบีบบังคับเพื่อเอาไป”
ทว่าภายหลังรัฐบาลอินเดียเกิดเปลี่ยนใจ และกระทรวงวัฒนธรรมของอินเดียก็ยืนยันว่า “จะทำทุกวิถีทางที่เป็นไปได้เพื่อนำเพชรโคอินัวร์กลับคืนมาอย่างเป็นมิตร”
หลายคนเชื่อว่าเพชรโคอินัวร์เป็นเพชรต้องคำสาปที่จำนำพาความโชคร้ายมาสู่ผู้สวมใส่ที่เป็นผู้ชาย แต่จะนำพาความโชคดีมาสู่ผู้หญิง เนื่องจากความเป็นมาอันโชคเลือดของเพชรตลอดเกือบ 1,000 ปีทั้งจากการฆาตกรรมและการทรยศหักหลัง
เมื่อปี 2016 เพชรโคอินัวร์กลายเป็นกรณีพิพาทถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล เมื่อองค์กรไม่แสวงกำไรแห่งหนึ่งในอินเดียยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้รัฐบาลอินเดียนำเพชรกลับสู่บ้านเกิด
ในขณะนั้นอัยการสูงสุดซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลอินเดียเผยว่า เพชรโคอินัวร์คือของขวัญที่อดีตผู้ปกครองปัญจาบมอบให้บริษัท อีสต์ อินเดียในปี 1849 และ “ไม่ใช่เพชรที่ถูกขโมยหรือถูกบีบบังคับเพื่อเอาไป”
ทว่าภายหลังรัฐบาลอินเดียเกิดเปลี่ยนใจ และกระทรวงวัฒนธรรมของอินเดียก็ยืนยันว่า “จะทำทุกวิถีทางที่เป็นไปได้เพื่อนำเพชรโคอินัวร์กลับคืนมาอย่างเป็นมิตร”

และเพื่อไม่ให้เกิดประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง สมเด็จพระราชินีคามิลลาจะไม่ทรงประดับเพชรโคอินัวร์บนมงกุฎของพระองค์ในวันพิธีราชาภิเษก แต่จะทรงมงกุฎควีนแมรี (Queen Mary's Crown) แทน นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบสามศตวรรษที่สมเด็จพระราชินีมเหสี จะทรงใช้มงกุฎของพระราชินีพระองค์ก่อน แทนการสร้างมงกุฎองค์ใหม่เป็นการเฉพาะ
ในพิธีครั้งนี้ ช่างศิราภรณ์จะเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบเดิมของมงกุฎ ทั้งโครงสร้างและอัญมณีประดับมงกุฎสำหรับสมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ด้วย และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะมีการประดับเพชรคัลลิแนนที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถทรงใช้เป็นเข็มกลัดตลอดพระชนม์ชีพ
ในพิธีครั้งนี้ ช่างศิราภรณ์จะเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบเดิมของมงกุฎ ทั้งโครงสร้างและอัญมณีประดับมงกุฎสำหรับสมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ด้วย และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะมีการประดับเพชรคัลลิแนนที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถทรงใช้เป็นเข็มกลัดตลอดพระชนม์ชีพ