The Guardian รายงานว่า แพทองธารและพรรคพวกทำผลงานได้ดีในการหาเสียง และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นหลังจากที่เธอคลอดลูก เธอบอกว่าเธอมั่นใจว่าจะได้รับคะแนนเสียงแบบถล่มทลาย เธอได้รับการสนับสนุนจากความเป็น ‘ชินวัตร’ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่มีใครเทียบได้ในสนามเลือกตั้ง และได้เสนอนโยบายต่างๆ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
อย่างไรก็ตาม เธอต้องเผชิญกับคำถามว่าเธอมีประสบการณ์ทางการเมืองเพียงพอที่จะบริหารประเทศหรือไม่
แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกจากพรรคเพื่อไทย เผชิญความท้าทายหลากหลาย ระบบที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารปี 2014 ถูกบิดเบือนโดยให้ผู้สมัครที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพ เช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบกผู้นำการรัฐประหาร และประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหาร ส.ว.ไทย 250 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยกองทัพ มีความเห็นในการเลือกนายกฯ คนต่อไป หมายความว่าการเลือกตั้งในเดือนนี้เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แม้ว่าพรรคของเธอจะได้ที่นั่งมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ แพทองธารยังต้องต่อสู้กับข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ ซึ่งในการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2020 เรียกร้องให้มีการปฏิรูปโครงสร้างสำคัญของสังคมไทย รวมถึงบทบาทของทหารและสถาบันกษัตริย์ที่มีอำนาจ
“พรรคเพื่อไทยได้พยายามดึงดูดผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อยด้วยการพูดถึงความเท่าเทียมของ LGBT และสัญญาว่าจะยุติการเกณฑ์ทหารภาคบังคับ” ภาณุวัฒน์ พันธุ์ดูประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว
ขณะที่ทักษิณยังพูดเป็นประจำใน คลับเฮาส์ (Clubhouse) ซึ่งเขาพูดถึงหัวข้อปัจจุบันเช่นเอไอ (AI) หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) แต่ภาณุวัฒน์มีความเห็นว่า ทักษิณก็ยังค่อนข้างเงอะงะในบางครั้ง จากการแสดงความคิดเห็นเรื่องการรุกรานยูเครนของรัสเซีย รวมทั้งประธานาธิบดียูเครน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี เป็น ‘ตัวตลก’ ซึ่งไม่สอดคล้องกับทัศนคติที่สนับสนุนประชาธิปไตยของคนหนุ่มสาว
อีกทั้งเมื่อแพทองธารถูกถามว่า เธอจะสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดของประเทศไทยหรือไม่ แพทองธารกล่าวว่า เรื่องนี้ควรหารือในรัฐสภา ประชาชนมากกว่า 230 คน รวมทั้งเด็ก ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายตั้งแต่การประท้วงในปี 2020
แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็อาจเผชิญกับภัยคุกคามนอกสภาในอนาคต รวมทั้งจากศาลที่ร้องเรียนพรรคก็ได้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว ขณะที่ความต้องการของทักษิณที่ต้องการกลับประเทศไทยเพิ่มเดิมพันมากขึ้น เขาถูกตัดสินว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตและจะต้องถูกจำคุกหากเขากลับมา
“มีความเป็นไปได้ที่การกลับมาอาจนำไปสู่การประท้วง ซึ่งอาจนำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้ง” ภาณุวัฒน์กล่าว
ที่เชียงใหม่ สายธาร สิทธิปราณี วัย 77 ปี บอกว่า เธอไม่อยากพูดถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชา นายพลที่บริหารประเทศตั้งแต่การยึดอำนาจ ซึ่งคุณก็รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา พวกเขาทำอะไรไม่ได้ พัฒนาประเทศไม่ได้ เศรษฐกิจก็แย่ อีกทั้งเธอยังบอกว่า เธอเชื่อมั่นในพรรคเพื่อไทย และสนับสนุนแพทองธารเพราะว่า ‘เธอมาจากสายเลือดทักษิณ’
ขณะที่ AP รายงานว่า แพทองธารยืนยันว่าเธอไม่ใช่แค่ตัวแทนของพ่อเท่านั้น
“ฉันไม่ใช่เงาของพ่อ ฉันเป็นลูกสาวของพ่อเสมอและตลอดไป แต่ฉันมีการตัดสินใจของตัวเอง” เธอบอกกับนักข่าวในการชุมนุม
พรรคที่สนับสนุนทักษิณประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งตั้งแต่ทักษิณชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2001 แต่ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้นานเนื่องจากการท้าทายทางกฎหมายในศาล ซึ่งสอดคล้องกับสถาบันอนุรักษนิิยม และการประท้วงบนท้องถนน
อย่างไรก็ตาม เธอต้องเผชิญกับคำถามว่าเธอมีประสบการณ์ทางการเมืองเพียงพอที่จะบริหารประเทศหรือไม่
แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกจากพรรคเพื่อไทย เผชิญความท้าทายหลากหลาย ระบบที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารปี 2014 ถูกบิดเบือนโดยให้ผู้สมัครที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพ เช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบกผู้นำการรัฐประหาร และประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหาร ส.ว.ไทย 250 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยกองทัพ มีความเห็นในการเลือกนายกฯ คนต่อไป หมายความว่าการเลือกตั้งในเดือนนี้เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แม้ว่าพรรคของเธอจะได้ที่นั่งมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ แพทองธารยังต้องต่อสู้กับข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ ซึ่งในการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2020 เรียกร้องให้มีการปฏิรูปโครงสร้างสำคัญของสังคมไทย รวมถึงบทบาทของทหารและสถาบันกษัตริย์ที่มีอำนาจ
“พรรคเพื่อไทยได้พยายามดึงดูดผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อยด้วยการพูดถึงความเท่าเทียมของ LGBT และสัญญาว่าจะยุติการเกณฑ์ทหารภาคบังคับ” ภาณุวัฒน์ พันธุ์ดูประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว
ขณะที่ทักษิณยังพูดเป็นประจำใน คลับเฮาส์ (Clubhouse) ซึ่งเขาพูดถึงหัวข้อปัจจุบันเช่นเอไอ (AI) หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) แต่ภาณุวัฒน์มีความเห็นว่า ทักษิณก็ยังค่อนข้างเงอะงะในบางครั้ง จากการแสดงความคิดเห็นเรื่องการรุกรานยูเครนของรัสเซีย รวมทั้งประธานาธิบดียูเครน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี เป็น ‘ตัวตลก’ ซึ่งไม่สอดคล้องกับทัศนคติที่สนับสนุนประชาธิปไตยของคนหนุ่มสาว
อีกทั้งเมื่อแพทองธารถูกถามว่า เธอจะสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดของประเทศไทยหรือไม่ แพทองธารกล่าวว่า เรื่องนี้ควรหารือในรัฐสภา ประชาชนมากกว่า 230 คน รวมทั้งเด็ก ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายตั้งแต่การประท้วงในปี 2020
แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็อาจเผชิญกับภัยคุกคามนอกสภาในอนาคต รวมทั้งจากศาลที่ร้องเรียนพรรคก็ได้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว ขณะที่ความต้องการของทักษิณที่ต้องการกลับประเทศไทยเพิ่มเดิมพันมากขึ้น เขาถูกตัดสินว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตและจะต้องถูกจำคุกหากเขากลับมา
“มีความเป็นไปได้ที่การกลับมาอาจนำไปสู่การประท้วง ซึ่งอาจนำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้ง” ภาณุวัฒน์กล่าว
ที่เชียงใหม่ สายธาร สิทธิปราณี วัย 77 ปี บอกว่า เธอไม่อยากพูดถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชา นายพลที่บริหารประเทศตั้งแต่การยึดอำนาจ ซึ่งคุณก็รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา พวกเขาทำอะไรไม่ได้ พัฒนาประเทศไม่ได้ เศรษฐกิจก็แย่ อีกทั้งเธอยังบอกว่า เธอเชื่อมั่นในพรรคเพื่อไทย และสนับสนุนแพทองธารเพราะว่า ‘เธอมาจากสายเลือดทักษิณ’
ขณะที่ AP รายงานว่า แพทองธารยืนยันว่าเธอไม่ใช่แค่ตัวแทนของพ่อเท่านั้น
“ฉันไม่ใช่เงาของพ่อ ฉันเป็นลูกสาวของพ่อเสมอและตลอดไป แต่ฉันมีการตัดสินใจของตัวเอง” เธอบอกกับนักข่าวในการชุมนุม
พรรคที่สนับสนุนทักษิณประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งตั้งแต่ทักษิณชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2001 แต่ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้นานเนื่องจากการท้าทายทางกฎหมายในศาล ซึ่งสอดคล้องกับสถาบันอนุรักษนิิยม และการประท้วงบนท้องถนน