รู้หรือไม่? มนุษย์โบราณเขามี ‘จูบ’ แบบโรแมนติกมา 4,500 ปีแล้วนะ!

23 พ.ค. 2566 - 06:29

  • งานวิจัยใหม่เกี่ยวกับเมโสโปเตเมียโบราณชี้ว่าผู้คนจูบกันอย่างโรแมนติกเมื่อ 4,500 ปีที่แล้ว

  • การค้นพบนี้หมายความว่ามนุษย์เริ่มจูบกันเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ถึง 1,000 ปี

  • บทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Science เปิดเผยว่าการจูบไม่ได้เกิดขึ้นในภูมิภาคเดียว

first_recorded_romantic_kiss_SPACEBAR_Hero_228350e8ed.jpeg
หลักฐานชิ้นใหม่บ่งชี้ว่ามีการจูบแบบโรแมนติกอย่างน้อยตั้งแต่ 4,500 ปีก่อน ซึ่งเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คิดไว้ซะอีก! 
  
การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้เปิดเผยการค้นพบของพวกเขาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การจูบในสมัยโบราณ หลังจากการพบภาพบนแผ่นดินเหนียวและวัสดุอื่นๆ จากสังคมเมโสโปเตเมียยุคแรกซึ่งถือเป็นดินแดนของอิรักและซีเรียในปัจจุบัน 
  
มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ระบุว่า ก่อนหน้านี้เรามีความเชื่อกันว่า หลักฐานชิ้นแรก (แบบแรกจริงๆ) ของการจูบปากแบบโรแมนติกหรือในเชิงของการร่วมเพศเกิดขึ้นในเอเชียใต้เมื่อ 3,500 ปีที่แล้ว จากนั้นก็แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายทฤษฎี และค้นพบว่าการจูบเป็นเรื่องปกติในหลายภูมิภาคและวัฒนธรรมซึ่งมันมีการเริ่มต้นเร็วกว่าที่เคยคาดไว้มาก 
 
ในการตรวจสอบแผ่นดินเหนียวที่เขียนด้วยอักษรคูนิฟอร์มในการวิจัย นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่าในภาษาอัคคาเดียน การจูบแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม: 
  1. จูบเพื่อแสดงความรักที่เป็นมิตร และครอบครัว 
  2. การกระทำที่เร้าอารมณ์ 
โทลเอลส์ แพลง อาร์โบล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การแพทย์ในเมโสโปเตเมีย กล่าวว่า แผ่นดินเหนียวเหล่านี้จำนวนหลายพันชิ้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้ และมีตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการจูบถือเป็นส่วนหนึ่งของความใกล้ชิดแบบโรแมนติกในสมัยโบราณ อีกทั้งการจูบอาจเป็นส่วนหนึ่งของมิตรภาพและความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว 
  
“ดังนั้น การจูบไม่ควรถูกมองว่าเป็นประเพณีที่มีต้นกำเนิดเฉพาะในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งและแพร่กระจายจากที่นั่น แต่ดูเหมือนจะมีการปฏิบัติกันในวัฒนธรรมโบราณหลายแห่งมาเป็นเวลาหลายพันปี” อาร์โบล์ กล่าว 
  
แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของการจูบแบบโรแมนติกยังคงไม่แน่นอน แต่การศึกษาระบุว่า มีหลักฐานบางอย่างที่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเขียนภาพขึ้นมาอีก  
  
“ในความเป็นจริง การวิจัยเกี่ยวกับโบโนโบและลิงชิมแปนซี ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ที่สุด ได้แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 สปีชีส์ก็มีส่วนร่วมในการจูบ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าการจูบเป็นพฤติกรรมพื้นฐานในมนุษย์ จึงอธิบายได้ว่าทำไมจึงพบได้ในหลายวัฒนธรรม” โซฟี ลันด์ ลาสมูสเซน ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยกล่าว 
  
นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ตรวจสอบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคเริม ซึ่งนักวิจัยได้สังเกตเห็นบางอย่างจากคลังข้อมูลทางการแพทย์จากเมโสโปเตเมีย ที่สะท้อนถึงไวรัส (เริม) แม้จะอ้างอิงและนำมาใช้งานไม่ได้ทั้งหมดด้วยอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมบางอย่าง แต่มันก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะสังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างเริมและโรคโบราณชื่อ ‘บูชานู’ ที่ปรากฎอยู่ในตำราทางการแพทย์โบราณ  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์