ท่ามกลางภารกิจค้นหาและช่วยเหลือเรือดำน้ำไททันที่สูญหายระหว่างดำลงไปชมซากเรือไททานิคแข่งกับเวลาที่เหลือไม่ถึง 1 วันก่อนที่ออกซิเจนจะหมด ทางการฝรั่งเศสส่งหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ (ROV) ที่สามารถดำลงไปใต้ทะลได้ลึกที่สุดกว่าอุปกรณ์ไหนๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่การค้นหากลางมหาสมุทรแอตแลนติกในขณะนี้ มาช่วยในปฏิบัติการครั้งนี้
หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำตัวนี้มีชื่อว่า Victor 6000 สามารถดำลงไปใต้น้ำที่ความลึกถึง 6,000 เมตร (ซากเรือไททานิคจมอยู่ที่ความลึกราว 3,800 เมตร) และยังมีแขนกลที่ควบคุมจากระยะไกลเพื่อตัดเชือกขนาดใหญ่หรือทำการเคลื่อนไหวอื่นๆ เพื่อช่วยปลดปล่อยเรือที่ติดอยู่กับอะไรบางอย่างให้เป็นอิสระ
โอลิวิเยร์ เลอฟอต์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการทางทะเลของ Ifremer สถาบันวิจัยทางทะเลของรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมหุ่นยนต์นี้เผยกับ Reuters ว่า “Victor ไม่สามารถยกเรือดำน้ำขึ้นมาด้วยตัวเอง” แต่สามารถเกี่ยวเรือดำน้ำไททันที่หนัก 10 ตันขึ้นมาที่เรือที่มีศักยภาพในการยกมันขึ้นมาเหนือผิวน้ำได้
เลอฟอต์เผยอีกว่า “Victor สามารถสำรวจผ่านทางภาพด้วยอุปกรณ์บันทึกภาพทั้งหมดที่มี และยังติดตั้งแขนกลซึ่งสามารถช่วยให้เรือดำน้ำหลุดออกจากสิ่งที่ติดอยู่ เช่น เชือกขนาดใหญ่ หรือสิ่งอื่นที่ขวางทางมันอยู่ข้างล่างนั่น”
ทั้งนี้ Ifremer เคยเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่สามารถระบุตำแหน่งของซาเรือไททานิคในปี 1985 ร่วมกับ โรเบิร์ต บอลลาร์ด นักโบราณคดีใต้น้ำชาวอเมริกัน
นอกจากนี้ ยังมียานสำรวจใต้น้ำอื่นๆ เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบกู้ภัยใต้ทะเลลึกของกองทัพเรือสหรัฐฯ (US Navy Flyaway Deep Ocean Salvage System) ซึ่งเป็นระบบฉุดดึงที่ถูกออกแบบให้มีศักยภาพในการยกสิ่งของจากใต้ทะเลลึกที่เชื่อถือได้สำหรับการกู้คืนวัตถุใต้ทะเลขนาดใหญ่และหนัก
หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำตัวนี้มีชื่อว่า Victor 6000 สามารถดำลงไปใต้น้ำที่ความลึกถึง 6,000 เมตร (ซากเรือไททานิคจมอยู่ที่ความลึกราว 3,800 เมตร) และยังมีแขนกลที่ควบคุมจากระยะไกลเพื่อตัดเชือกขนาดใหญ่หรือทำการเคลื่อนไหวอื่นๆ เพื่อช่วยปลดปล่อยเรือที่ติดอยู่กับอะไรบางอย่างให้เป็นอิสระ
โอลิวิเยร์ เลอฟอต์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการทางทะเลของ Ifremer สถาบันวิจัยทางทะเลของรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมหุ่นยนต์นี้เผยกับ Reuters ว่า “Victor ไม่สามารถยกเรือดำน้ำขึ้นมาด้วยตัวเอง” แต่สามารถเกี่ยวเรือดำน้ำไททันที่หนัก 10 ตันขึ้นมาที่เรือที่มีศักยภาพในการยกมันขึ้นมาเหนือผิวน้ำได้
เลอฟอต์เผยอีกว่า “Victor สามารถสำรวจผ่านทางภาพด้วยอุปกรณ์บันทึกภาพทั้งหมดที่มี และยังติดตั้งแขนกลซึ่งสามารถช่วยให้เรือดำน้ำหลุดออกจากสิ่งที่ติดอยู่ เช่น เชือกขนาดใหญ่ หรือสิ่งอื่นที่ขวางทางมันอยู่ข้างล่างนั่น”
ทั้งนี้ Ifremer เคยเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่สามารถระบุตำแหน่งของซาเรือไททานิคในปี 1985 ร่วมกับ โรเบิร์ต บอลลาร์ด นักโบราณคดีใต้น้ำชาวอเมริกัน
นอกจากนี้ ยังมียานสำรวจใต้น้ำอื่นๆ เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบกู้ภัยใต้ทะเลลึกของกองทัพเรือสหรัฐฯ (US Navy Flyaway Deep Ocean Salvage System) ซึ่งเป็นระบบฉุดดึงที่ถูกออกแบบให้มีศักยภาพในการยกสิ่งของจากใต้ทะเลลึกที่เชื่อถือได้สำหรับการกู้คืนวัตถุใต้ทะเลขนาดใหญ่และหนัก
