กระเป๋าเดินทางถูกโหลดเก็บใต้ท้องเครื่องยังไง โยนกันอย่างที่เคยได้ยินมาหรือเปล่า

24 มี.ค. 2566 - 08:24

  • ส่องวิธีโหลดกระเป๋าสัมภาระลงใต้ท้องเครื่องบินผ่านคลิปจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลานจอด

how-your-checked-luggage-is-stored-underneath-a-plane-SPACEBAR-Thumbnail
เคยสงสัยกันไหมว่าเกิดอะไรขึ้นกับกระเป๋าเดินทางของเราบ้างหลังจากมันถูกเคลื่อนย้ายออกจากจุดเช็กอินในสนามบินแล้ว วันนี้เรามีคำตอบ 

เส้นทางของกระเป๋าจากจุดเช็กอินไปยังใต้ท้องเครื่องในสนามบินส่วนใหญ่จะถูกจัดการโดย ‘ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS)’ กระเป๋าเดินทางแต่ละใบจะถูกติดบาร์โค้ดและถูกคัดแยกไปในแต่ละจุด ขึ้นอยู่กับว่ามันต้องเดินทางไปกับเครื่องบินลำไหน หรือจะต้องไปต่อเครื่องที่ไหน 

แน่นอนว่าการออกแบบและความซับซ้อนของระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระจะแตกต่างกันไปในแต่ละสนามบิน บางแห่งจะทำการสแกนและกำหนดทิศทางของกระเป๋าโดยอัตโนมัติ ในขณะที่บางแห่งจะเป็นแบบแมนนวล และขณะนี้หลายแห่งรวมการคัดกรองความปลอดภัยของกระเป๋าไว้ในกระบวนการนี้ด้วย ขณะที่บางแห่งเริ่มใช้ชิป RFID และบาร์โค้ดเข้ามาจัดการและติดตามกระเป๋าสัมภาระ

เมื่อปี 2020 สายการบิน ANA ของญี่ปุ่นเคยทดลองระบบลำเลียงกระเป๋าแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบด้วยการใช้หุ่นยนต์ขนกลลำเลียงกระเป๋าสัมภาระและรถแทรกตอร์ลากจูงอัตโนมัติในสนามบินนานาชาติคิวชู ซางะ โดยแขนกลลำเลียงกระเป๋านี้ถือเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องบิน และสามารถโหลดกระเป๋า 1 ใบในทุกๆ 25 วินาที ยกกระเป๋าสัมภาระหนัก 35 กิโลกรัมได้สบายๆ ทั้งยังสามารถวางกระเป๋าซ้อนกันตามขนาดได้อย่างแม่นยำเพื่อการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพสูงสุดบนเครื่องบิน 

โหลดกระเป๋าแบบแมนนวล 

กระเป๋าสัมภาระจะถูกโหลดเข้าใต้ท้องเครื่องโดยตรง หรือจัดเข้าตู้คอนเทนเนอร์ก่อน การโหลดกระเป๋าแบบแมนนวลนิยมทำในเครื่องบินที่มีลำตัวแคบ แม้ว่าเครื่องบินบางรุ่น เช่น แอร์บัส เอ320 จะมีตู้คอนเทนเนอร์ขนาดล็กกว่าที่ออกแบบมาเป็นพิเศาษให้เลือก 

กระเป๋าสัมภาระจะถูกโหลดจากรถเข็นกระเป๋าโดยใช้สายพานลำเลียง จากนั้นจะถูกนำไปเรียงใต้ท้องเครื่องด้วยมือ โดยปกติมักจะมีชั้นวางและตาข่ายรองรับเพื่อช่วยเว้นระยะและป้องกันไม่ให้กระเป๋าขยับเขยื้อน สำหรับเครื่อวบินใหญ่ ใต้ท้องเครื่องอาจถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆ กันเพื่อให้การจัดวางกระจายทั่วถึงเสมอกัน 

อีกวิธีหนึ่งคือ Container loaded หรือการนำกระเป๋าสัมภาระใส่ตู้คอนเทนเนอร์ก่อนจะนำไปใส่ใต้ท้องเครื่อง ปกติแล้วจะมีตู้คอนเทนเนอร์อะลูมิเนียมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเรียกว่า Unit Load Devices (ULD) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้พอดีกับพื้นที่เก็บเครื่องบิน ใช้กับเครื่องบินลำตัวกว้างทุกลำเพื่อเก็บสัมภาระและสินค้า 

เจ้าหน้าที่สามารถบรรจุกระเป๋าสัมภาระหรือสินค้าลง ULD ก่อนที่เครื่องบินจะมาถึง จากนั้นตู้เหล่านี้จะถูกโหลดลงใต้ท้องเครื่อง ซึ่งมีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่าการโหลดกระเป๋าแบบแมนนวล นอกจากนี้ ULD ยังถูกออกแบบให้พอดีกับใต้ท้องเครื่อง โดยมีหลายขนาดที่ใช้สำหรับเครื่องบินที่แตกต่างกัน หลายๆ แบบสามารถใช้แทนกันได้ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างเครื่องบินได้อย่างราบรื่น แต่อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการโหลดคอนเทนเนอร์ที่มีขนาดเหมาะสมที่สุดสำหรับเครื่องบินลำนั้น  

ULD ขนาด LD3 ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้มากที่สุด สามารถใช้ได้กับครื่องบินแอร์บัสลำตัวกว้างได้ทุกรุ่น รวมทั้งของโบอิ้ง 747, 777 และ 787 ส่วนเครื่อง 747 สามารถใช้ ULD ที่กว้างกว่าเล็กน้อยอย่าง LD1 ซึ่งมีความสูงกับความลึกเท่ากัน แต่ LD3 ถูกใช้บ่อยกว่าเพราะหาง่ายกว่า  

เครื่องบินที่ลำตัวแคบบางรุ่นก็สามารถใช้ ULD ได้ อาทิ เครื่อง A320 สามารถใช้ตู้ขนาด LD3-45 ซึ่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ LD3 ที่มีขนาดตรงตามมาตรฐาน เพียงแต่มีความสูงลดลงเพื่อให้พอดีกับช่องเก็บที่เล็กลงของ A320 (สูง 1.14 เมตร เทียบกับขนาดปกติที่ 1.63 เมตร)
ในคลิปนี้ซึ่งแชร์โดยเจ้าชองบัญชี TikTok @djsugue ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลานจอด (ramp agent) จะเห็นว่า เจ้าหน้าที่จะเดินเข้าไปใต้ท้องเครื่องด้านในสุดก่อน จากนั้นจะวางสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระแบบเคลื่อนที่ไปส่งกระเป๋าเข้าไปด้านใน 

เจ้าตัวเผยว่ากระเป๋าที่สร้างความรำคาญใจให้เขาที่สุดคือ กระเป๋าใส่อุปกรณ์สกีและสโนว์บอร์ด 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์