‘อินเดีย’ หรือ ‘ภารัต’
หลังจากที่ประธานาธิบดี เทราปที มุรมู ของอินเดียได้ส่งคำเชิญรับประทานอาหารค่ำไปยังแขกที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่ม G20 ในสัปดาห์นี้ ก็ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก เมื่อในคำเชิญนั้นใช้คำว่า ‘ภารัต’ (Bharat) แทนชื่อ ‘อินเดีย’เมื่อคำเชิญนี้ถูกเผยแพร่ออกไปจึงเกิดกระแสตามมาว่า ‘อินเดียกำลังจะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ‘ภารัต’ หรอ?’ ท่ามกลางความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของพรรคภารตียชนตาซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฮินดูภายใต้รัฐบาลของ ‘นเรนทระ โมที’ ในการลบ หรือ กำจัด ‘ชื่อ’ ในยุคอาณานิคม
เดิมทีแดนภารตเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการใน 2 ชื่อ ได้แก่ อินเดียและภารัต แต่ ‘อินเดีย’ จะถูกใช้กันมากที่สุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
‘ภารัต’ เป็นคำภาษาสันสกฤตโบราณที่นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่ามีมาตั้งแต่ตำราฮินดูยุคแรก และยังหมายถึง ‘อินเดีย’ ในภาษาฮินดีอีกด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับชาวอินเดียอยู่แล้วเพราะ แต่ก่อนพวกเขาก็เรียก ‘ภารัต’ มาก่อน แต่เปลี่ยนไปเรียกอินเดียเนื่องจากเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ขณะที่รัฐบาลโมทีกล่าวว่า ‘การเปลี่ยนชื่อเป็นความพยายามที่จะกอบกู้อดีตของชาวฮินดูในอินเดีย’
จาก ‘ภารัต’ สู่ ‘อินเดีย’
‘ภารัต’ ‘ภารตะ’ หรือ ‘ภารัตวาร์ชา’ มีต้นกำเนิดมาจากวรรณกรรมปุราณะ และมหากาพย์มหาภารตะ โดยตามคำกล่าวของปุราณะอธิบายว่า ‘ภารตะเป็นดินแดนระหว่างทะเลทางทิศใต้และที่พำนักหิมะทางทิศเหนือ’นอกจากนี้ ภารตะยังเป็นชื่อของราชาแห่งตำนานโบราณซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าฤคเวทแห่งภารตะ และยังเป็นบรรพบุรุษของทุกชนชาติในอนุทวีป
ขณะที่ ชวาหร์ลาล เนห์รู เขียนไว้เมื่อปี 1927 ว่า “ความสามัคคีพื้นฐานของอินเดียที่สืบทอดมาจาก ‘อดีตอันห่างไกล’ ก็คือ ความสามัคคีของศรัทธาและวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน…อินเดียคือ ภารตะ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู และสถานที่แสวงบุญของชาวฮินดูที่ยิ่งใหญ่นั้นตั้งอยู่ 4 มุมของอินเดีย โดยทางทิศใต้สุดคือ ศรีลังกา ทางตะวันตกติดทะเลอาหรับ ทางตะวันออกหันหน้าไปทางอ่าวเบงกอลและทางเหนือติดเทือกเขาหิมาลัย”
อีกชื่อคือ ‘ฮินดูสถาน’

ชื่อภาษาท้องถิ่นอีกชื่อหนึ่งของประเทศนี้คือ ‘ฮินดูสถาน’ ซึ่งเป็นชื่อที่ต่างชาติ (เปอร์เซีย) เรียกอินเดียตามภูมิศาสตร์ (หรือที่เราเรียกว่า exonym เช่น ปักกิ่ง เป็นชื่อที่ชาวต่างชาติตั้งให้) โดย ‘ฮินดู’ มาจากภาษาเปอร์เซียที่มีรากศัพท์ในภาษาสันสกฤตจากคำว่า ‘สินธุ’
เมื่อถึงสมัยโมกุลตอนต้น (ศตวรรษที่ 16) ชื่อ ‘ฮินดูสถาน’ ถูกใช้เพื่ออธิบายที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคาทั้งหมด โดยนักประวัติศาสตร์ เอียน เจ แบร์โรว์ ได้เขียนในบทความของเขาเรื่อง 'From Hindustan to India: Name Change in Changing Names' ว่า ‘ในช่วงกลางถึงปลายศตวรรษที่ 18 ชาวฮินดูสถานมักกล่าวถึงดินแดนของ จักรพรรดิโมกุลซึ่งประกอบไปด้วยเอเชียใต้เป็นส่วนใหญ่’
เมื่อถึงสมัยโมกุลตอนต้น (ศตวรรษที่ 16) ชื่อ ‘ฮินดูสถาน’ ถูกใช้เพื่ออธิบายที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคาทั้งหมด โดยนักประวัติศาสตร์ เอียน เจ แบร์โรว์ ได้เขียนในบทความของเขาเรื่อง 'From Hindustan to India: Name Change in Changing Names' ว่า ‘ในช่วงกลางถึงปลายศตวรรษที่ 18 ชาวฮินดูสถานมักกล่าวถึงดินแดนของ จักรพรรดิโมกุลซึ่งประกอบไปด้วยเอเชียใต้เป็นส่วนใหญ่’
เมื่อ ‘อินเดีย’ ตกเป็นอาณานิคมของ ‘อังกฤษ’

ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา แผนที่ของอังกฤษเริ่มใช้ชื่อ ‘อินเดีย’ มากขึ้นเรื่อยๆ และชาวฮินดูเองก็เริ่มสูญเสียความเป็นเอเชียใต้ทั้งหมด
ทว่าในเวลาต่อมา รัฐธรรมนูญของอินเดียก็มีผลบังคับใช้ในปี 1951 และเลือกที่จะละทิ้งคำว่า ‘ฮินดูสถาน’ โดยตามมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า ‘อินเดียซึ่งก็คือ ภารัต จะเป็นสหภาพของรัฐ’ หมายความว่ารัฐธรรมนูญยอมต่างรับทั้ง ‘อินเดีย’ และ ‘ภารัต’ เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ
แม้ว่าชื่อฮินดูสถานจะไม่มีสถานะในสายตาของรัฐอินเดีย แต่ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและเป็นธรรมชาติในภาษาพูดของภาษาฮินดี-อูรดูสำหรับประเทศนี้ ด้วยเหตุนี้ ฮินดูสถานจึงเป็นคำทั่วไปที่ใช้ในวงการหนังบอลลีวูดสำหรับภาพยนตร์และเนื้อเพลงมากกว่า ในขณะที่ภารัตนั้นจะสงวนไว้สำหรับโอกาสที่เป็นทางการเท่านั้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลโมทีพยายามกำจัด ‘อินเดีย’ จากอิทธิพลอาณานิคมมาโดยตลอด และมีรายงานว่าทางการกำลังวางแผนที่จะถอดคำว่า ‘อินเดีย’ ออกจากรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการ ซึ่งดูเหมือนว่าจากบัตรเชิญที่อินเดียส่งไปเชิญแขกกลุ่ม G20 แล้วใช้ชื่อ ‘ภารัต’ นั้นอาจส่งสัญญาณบางอย่าง…
ขณะที่พรรคฝ่ายค้านของอินเดียต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวดังกล่าวกันต่างๆ นานาว่า
“แม้จะไม่มีการคัดค้านตามรัฐธรรมนูญที่จะเรียกอินเดียว่า ‘ภารัต’ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ แต่ผมหวังว่ารัฐบาลจะไม่โง่เขลาที่จะเลิกใช้ ‘อินเดีย’ ซึ่งสร้างมูลค่าแบรนด์อย่างประเมินค่าไม่ได้อย่างสิ้นเชิงมานานหลายศตวรรษ”
“ชาวอินเดียควรใช้ทั้ง 2 คำต่อไป แทนที่จะละทิ้งการอ้างสิทธิ์ของเราต่อชื่อที่ซ้ำซากจำเจในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นชื่อที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก” ชาชิ ธฤออร์ สมาชิกสภาฝ่ายค้านทวีตบน X
ทว่าในเวลาต่อมา รัฐธรรมนูญของอินเดียก็มีผลบังคับใช้ในปี 1951 และเลือกที่จะละทิ้งคำว่า ‘ฮินดูสถาน’ โดยตามมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า ‘อินเดียซึ่งก็คือ ภารัต จะเป็นสหภาพของรัฐ’ หมายความว่ารัฐธรรมนูญยอมต่างรับทั้ง ‘อินเดีย’ และ ‘ภารัต’ เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ
แม้ว่าชื่อฮินดูสถานจะไม่มีสถานะในสายตาของรัฐอินเดีย แต่ก็เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและเป็นธรรมชาติในภาษาพูดของภาษาฮินดี-อูรดูสำหรับประเทศนี้ ด้วยเหตุนี้ ฮินดูสถานจึงเป็นคำทั่วไปที่ใช้ในวงการหนังบอลลีวูดสำหรับภาพยนตร์และเนื้อเพลงมากกว่า ในขณะที่ภารัตนั้นจะสงวนไว้สำหรับโอกาสที่เป็นทางการเท่านั้น
และจาก ‘อินเดีย’ อาจเหลือแค่ ‘ภารัต’
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลโมทีพยายามกำจัด ‘อินเดีย’ จากอิทธิพลอาณานิคมมาโดยตลอด และมีรายงานว่าทางการกำลังวางแผนที่จะถอดคำว่า ‘อินเดีย’ ออกจากรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการ ซึ่งดูเหมือนว่าจากบัตรเชิญที่อินเดียส่งไปเชิญแขกกลุ่ม G20 แล้วใช้ชื่อ ‘ภารัต’ นั้นอาจส่งสัญญาณบางอย่าง…
ขณะที่พรรคฝ่ายค้านของอินเดียต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวดังกล่าวกันต่างๆ นานาว่า
“แม้จะไม่มีการคัดค้านตามรัฐธรรมนูญที่จะเรียกอินเดียว่า ‘ภารัต’ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ แต่ผมหวังว่ารัฐบาลจะไม่โง่เขลาที่จะเลิกใช้ ‘อินเดีย’ ซึ่งสร้างมูลค่าแบรนด์อย่างประเมินค่าไม่ได้อย่างสิ้นเชิงมานานหลายศตวรรษ”
“ชาวอินเดียควรใช้ทั้ง 2 คำต่อไป แทนที่จะละทิ้งการอ้างสิทธิ์ของเราต่อชื่อที่ซ้ำซากจำเจในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นชื่อที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก” ชาชิ ธฤออร์ สมาชิกสภาฝ่ายค้านทวีตบน X