ทุกวันนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักตกเป็นเป้าและเหยื่อของมิจฉาชีพในการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมการเงินโดยเฉพาะการถูกหลอกให้โอนเงินด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแกล้งเข้าไปแนะนำหรือมีท่าทีเข้าไปช่วยดำเนินธุรกรรมผ่านตู้ ATM ทีละขั้นตอน
แต่จะมีเหยื่อสูงอายุสักกี่คนกันที่โชคดีมีพลเมืองดีเข้ามาเห็นเหตุการณ์ทันพอดี ทว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่กลับไม่โชคดีแบบนั้นน่ะสิโดยเฉพาะใน ‘ญี่ปุ่น’ ซึ่งพบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวเกิดความเสียหายแล้วกว่า 1.5 หมื่นล้านเยน (ราว 3.6 พันล้านบาท) จากการหลอกลวงประเภทนี้
เห็นได้ชัดว่าประเด็นนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาที่จะเข้ามาจำกัดวิธีการใช้ตู้ ATM ของผู้สูงอายุทุกคน โดยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เสนอให้ล็อกการใช้ตู้ ATM สำหรับบัญชีธนาคารใดๆ ซึ่งถือโดยบุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและไม่ได้ทำธุรกรรมมานานกว่า 1 ปี
ถึงกระนั้นด้านผู้สูงอายุเองก็ไม่ได้ตื่นเต้นกับข่าวดังกล่าวมากนัก โดยพวกเขากล่าวว่า “การกำหนดอายุที่จำกัดสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้นนั้นไม่ยุติธรรม และการกำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 65 ปีก็ดูไร้เหตุผลเป็นพิเศษ” นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อุตสาหกรรมการธนาคารก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าใดนักกับแนวคิดที่สำนักงานตำรวจเสนอมาด้วยเช่นเดียวกัน
ขณะที่บนโลกออนไลน์ที่ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 65 ปีก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้มากมาย ซึ่งก็ไม่ได้ต่อต้านมาตรการตอบโต้การฉ้อโกงแต่อย่างใด แต่บางคนก็สงสัยว่านี่อาจเป็นวิถีทางที่รัฐบาลจะเข้าถึงบัญชีธนาคารทั้งหมดของเรามากเกินไปหรือไม่
“ฉันไม่ได้คิดว่าแนวคิดนี้ไม่ดี…”
“พวกเขายังสามารถไปที่เคาน์เตอร์ได้ พวกเขาคงจะชอบแบบนั้นมากกว่า”
“นักต้มตุ๋นจะหาทางอื่นเสมอ…”
“ธนาคารบางแห่งจำกัดอยู่แล้วว่าสามารถถอนได้เท่าไหร่ใน 1 วัน”
“มีคนอายุ 40-50 ที่ถูกหลอกลวงได้ง่ายเช่นกัน”
“นี่ฟังดูเหมือนโยกินฟุสะ (Yokinfusa = การล็อกบัญชี) เลย”
ทั้งนี้ ‘Yokinfusa’ หรือ ‘การล็อกบัญชี’ นั้นในบริบทนี้อธิบายถึง ‘การอายัดทรัพย์สินของประชาชนที่ครอบคลุมโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะด้วยการกำหนดวงเงินการถอนเงิน หรือการเก็บภาษีที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อในการทำธุรกรรมของธนาคารใดๆ’ ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่นหลังสงครามเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อรุนแรง
และดูเหมือนว่าแนวคิดนี้มีแนวโน้มที่จะปรากฏขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อเป็นทางออกที่เป็นไปได้สำหรับรับมือกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังดำเนินอยู่
แต่ทั้งนี้ นี่ยังเป็นเพียงข้อเสนอเพียงเท่านั้นซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่ชื่นชอบอย่างกว้างขวางเท่าใดนัก แต่ถ้าคุณอายุใกล้ๆ หรือมากกว่า 65 ปีและยังรู้สึกว่าคุณเองก็ยังมีไหวพริบดีพอที่จะไม่ถูกคนใจร้ายหลอกได้ ข้อเสนอนี้ก็อาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป
แล้วคุณล่ะ? คิดอย่างไร? ประเทศไทยควรจะแก้ปัญหาด้วยข้อเสนอแบบเดียวกันกับญี่ปุ่นดีไหม? หรือมันควรแก้ที่บทลงโทษเอาผิดมิจฉาชีพให้หลากจำ? หรือจริงๆ แล้วต้องแก้ที่สำนึกผิดชอบชั่วดีที่บางคนไม่มีเลยด้วยซ้ำ
แต่จะมีเหยื่อสูงอายุสักกี่คนกันที่โชคดีมีพลเมืองดีเข้ามาเห็นเหตุการณ์ทันพอดี ทว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่กลับไม่โชคดีแบบนั้นน่ะสิโดยเฉพาะใน ‘ญี่ปุ่น’ ซึ่งพบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวเกิดความเสียหายแล้วกว่า 1.5 หมื่นล้านเยน (ราว 3.6 พันล้านบาท) จากการหลอกลวงประเภทนี้
เห็นได้ชัดว่าประเด็นนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาที่จะเข้ามาจำกัดวิธีการใช้ตู้ ATM ของผู้สูงอายุทุกคน โดยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เสนอให้ล็อกการใช้ตู้ ATM สำหรับบัญชีธนาคารใดๆ ซึ่งถือโดยบุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและไม่ได้ทำธุรกรรมมานานกว่า 1 ปี
ถึงกระนั้นด้านผู้สูงอายุเองก็ไม่ได้ตื่นเต้นกับข่าวดังกล่าวมากนัก โดยพวกเขากล่าวว่า “การกำหนดอายุที่จำกัดสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้นนั้นไม่ยุติธรรม และการกำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 65 ปีก็ดูไร้เหตุผลเป็นพิเศษ” นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อุตสาหกรรมการธนาคารก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าใดนักกับแนวคิดที่สำนักงานตำรวจเสนอมาด้วยเช่นเดียวกัน
ขณะที่บนโลกออนไลน์ที่ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 65 ปีก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้มากมาย ซึ่งก็ไม่ได้ต่อต้านมาตรการตอบโต้การฉ้อโกงแต่อย่างใด แต่บางคนก็สงสัยว่านี่อาจเป็นวิถีทางที่รัฐบาลจะเข้าถึงบัญชีธนาคารทั้งหมดของเรามากเกินไปหรือไม่
“ฉันไม่ได้คิดว่าแนวคิดนี้ไม่ดี…”
“พวกเขายังสามารถไปที่เคาน์เตอร์ได้ พวกเขาคงจะชอบแบบนั้นมากกว่า”
“นักต้มตุ๋นจะหาทางอื่นเสมอ…”
“ธนาคารบางแห่งจำกัดอยู่แล้วว่าสามารถถอนได้เท่าไหร่ใน 1 วัน”
“มีคนอายุ 40-50 ที่ถูกหลอกลวงได้ง่ายเช่นกัน”
“นี่ฟังดูเหมือนโยกินฟุสะ (Yokinfusa = การล็อกบัญชี) เลย”
ทั้งนี้ ‘Yokinfusa’ หรือ ‘การล็อกบัญชี’ นั้นในบริบทนี้อธิบายถึง ‘การอายัดทรัพย์สินของประชาชนที่ครอบคลุมโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะด้วยการกำหนดวงเงินการถอนเงิน หรือการเก็บภาษีที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อในการทำธุรกรรมของธนาคารใดๆ’ ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่นหลังสงครามเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อรุนแรง
และดูเหมือนว่าแนวคิดนี้มีแนวโน้มที่จะปรากฏขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อเป็นทางออกที่เป็นไปได้สำหรับรับมือกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังดำเนินอยู่
แต่ทั้งนี้ นี่ยังเป็นเพียงข้อเสนอเพียงเท่านั้นซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่ชื่นชอบอย่างกว้างขวางเท่าใดนัก แต่ถ้าคุณอายุใกล้ๆ หรือมากกว่า 65 ปีและยังรู้สึกว่าคุณเองก็ยังมีไหวพริบดีพอที่จะไม่ถูกคนใจร้ายหลอกได้ ข้อเสนอนี้ก็อาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป
แล้วคุณล่ะ? คิดอย่างไร? ประเทศไทยควรจะแก้ปัญหาด้วยข้อเสนอแบบเดียวกันกับญี่ปุ่นดีไหม? หรือมันควรแก้ที่บทลงโทษเอาผิดมิจฉาชีพให้หลากจำ? หรือจริงๆ แล้วต้องแก้ที่สำนึกผิดชอบชั่วดีที่บางคนไม่มีเลยด้วยซ้ำ