บางครั้งการเมืองก็เป็นเรื่องโหดร้าย หากบริหารบ้านเมืองผิดพลาดก็อาจหมายถึงการถูกถอดออกจากตำแหน่ง อย่างที่หลายประเทศในยุโรปทำหลังวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 2008 แต่ก็นับว่าผู้นำเหล่านั้นยังโชคดีกว่า โยฮัน เดอ วิตต์ (Johan de Witt) ผู้นำสาธารณรัฐดัตช์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 หลังจากเกิดเหตุการณ์วุ่นวายหลายอย่างขึ้นกับประเทศ เขาก็ถูกประชาชนที่ไม่พอใจลงมือสังหารและกระทำกับร่างไร้วิญญาณอย่างทารุณ
ดัตช์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสเปนในศตวรรษที่ 16 โดยขณะนั้นราชวงศ์ออร์เรนจ์-นัสเซาของดัตช์เป็นแกนนำในการต่อต้านการปกครองของสเปน จนในที่สุดก็ทำสงครามประกาศอิสรภาพจากสเปนในปี 1568 ซึ่งรบๆ หยุดๆ กันนานถึง 80 ปี ก่อนที่สเปนจะยอมรับความพ่ายแพ้และยอมให้สาธารณรัฐดัตช์เป็นรัฐอิสระในปี 1648
หลังได้รับเอกราชดัตช์ก็ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ในศตวรรษที่ 17 ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ออร์เรนจ์-นัสเซา จนกระทั่งถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 17 โยฮัน เดอร์ วิตต์ และคอร์เนลิส เดอ วิตต์ พี่ชายซึ่งเป็นบุตรชายของนายกเทศมนตรี ได้รวบรวมกลุ่มขุนนางและพ่อค้าชาวดัตช์ที่ต้องการนำรูปแบบสาธารณรัฐมาใช้ลงมือทำการเปลี่ยนแปลงจนสำเร็จในปี 1650 หลังจากเจ้าชายวิลเลมที่ 2 แห่งราชวงศ์ออร์เรนจ์ที่ปกครองอยู่สิ้นพระชนม์ อำนาจต่างๆ จึงตกมาสู่ตระกูลชั้นสูงในระดับล่างๆ รวมทั้งตระกูลเดอ วิตต์ที่มีแนวคิดว่ากษัตริย์ควรแยกต่างหากจากการเมือง และพยายามกีดกันไม่ให้เจ้าชายวิลเลมที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องกับการมืองมาตลอด
โยฮัน เดอ วิตต์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง Grand Pensionary หรือเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีในปัจจุบันตั้งแต่ปี 1653 ขณะอายุเพียง 28 ปี ส่วนคอร์เนลิสเป็นเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินระดับสูงและผู้ว่าการเมืองดอร์เดรคต์ โดยระหว่างนั้นโยฮันใช้ความรู้ความสามารถหลากหลายสร้างความมั่งคั่งและรุ่งเรืองให้ดัตช์อย่างมาก จนกลายเป็นผู้นำและนักการเมืองที่โดดเด่นคนหนึ่ง
ภายใต้การนำของโยฮัน ดัตช์เป็นหนึ่งในมหาอำนาจใหญ่สุดของยุโรป เมืองอัมสเตอร์ดัมกลายเป็นศูนย์กลางการค้าของโลกและบริษัท ดัตช์ อีส อินเดีย ก็เป็นเจ้าแห่งเส้นทางการค่าในเอเชียซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศมหาศาล เรียกได้ว่าขณะนั้นคือ ‘ยุคทองของดัตช์’ เขาได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเลือกให้เป็นผู้นำสูงสุดถึง 3 ครั้ง คือในปี 1658, 1663 และ 1668
แน่นอนล่ะว่าเมื่อดัตช์มั่งคั่งรุ่งเรืองเช่นนี้ก็ย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศยุโรปอื่นๆ ช่วงทศวรรษ 1650-1670 ประเทศใหญ่หลายประเทศในยุโรปเปิดศึกสงครามกับดัตช์แทบจะทุกๆ 2-3 ปี เพื่อบ่อนทำลายความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยคุกคามในเขตทะเลหลวงจากอังกฤษ และบนบกโดยฝรั่งเศส โดยในขณะนั้นเกิดความตึงเครียดขึ้นระหว่างรัฐบาลดัตช์กับอังกฤษซึ่งต่างก็เป็นคู่แข่งทางทะเลกันอยู่ จนกระทั่งบานปลายกลายเป็นสงครามในปี 1665 แต่โยฮันสามารถจัดการจนควบคุมทะเลหลวงไว้ได้ เพราะกองทัพเรือของดัตช์แข็งแกร่งมาก
ดัตช์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสเปนในศตวรรษที่ 16 โดยขณะนั้นราชวงศ์ออร์เรนจ์-นัสเซาของดัตช์เป็นแกนนำในการต่อต้านการปกครองของสเปน จนในที่สุดก็ทำสงครามประกาศอิสรภาพจากสเปนในปี 1568 ซึ่งรบๆ หยุดๆ กันนานถึง 80 ปี ก่อนที่สเปนจะยอมรับความพ่ายแพ้และยอมให้สาธารณรัฐดัตช์เป็นรัฐอิสระในปี 1648
หลังได้รับเอกราชดัตช์ก็ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ในศตวรรษที่ 17 ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ออร์เรนจ์-นัสเซา จนกระทั่งถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 17 โยฮัน เดอร์ วิตต์ และคอร์เนลิส เดอ วิตต์ พี่ชายซึ่งเป็นบุตรชายของนายกเทศมนตรี ได้รวบรวมกลุ่มขุนนางและพ่อค้าชาวดัตช์ที่ต้องการนำรูปแบบสาธารณรัฐมาใช้ลงมือทำการเปลี่ยนแปลงจนสำเร็จในปี 1650 หลังจากเจ้าชายวิลเลมที่ 2 แห่งราชวงศ์ออร์เรนจ์ที่ปกครองอยู่สิ้นพระชนม์ อำนาจต่างๆ จึงตกมาสู่ตระกูลชั้นสูงในระดับล่างๆ รวมทั้งตระกูลเดอ วิตต์ที่มีแนวคิดว่ากษัตริย์ควรแยกต่างหากจากการเมือง และพยายามกีดกันไม่ให้เจ้าชายวิลเลมที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องกับการมืองมาตลอด
โยฮัน เดอ วิตต์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง Grand Pensionary หรือเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีในปัจจุบันตั้งแต่ปี 1653 ขณะอายุเพียง 28 ปี ส่วนคอร์เนลิสเป็นเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินระดับสูงและผู้ว่าการเมืองดอร์เดรคต์ โดยระหว่างนั้นโยฮันใช้ความรู้ความสามารถหลากหลายสร้างความมั่งคั่งและรุ่งเรืองให้ดัตช์อย่างมาก จนกลายเป็นผู้นำและนักการเมืองที่โดดเด่นคนหนึ่ง
ภายใต้การนำของโยฮัน ดัตช์เป็นหนึ่งในมหาอำนาจใหญ่สุดของยุโรป เมืองอัมสเตอร์ดัมกลายเป็นศูนย์กลางการค้าของโลกและบริษัท ดัตช์ อีส อินเดีย ก็เป็นเจ้าแห่งเส้นทางการค่าในเอเชียซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศมหาศาล เรียกได้ว่าขณะนั้นคือ ‘ยุคทองของดัตช์’ เขาได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเลือกให้เป็นผู้นำสูงสุดถึง 3 ครั้ง คือในปี 1658, 1663 และ 1668
แน่นอนล่ะว่าเมื่อดัตช์มั่งคั่งรุ่งเรืองเช่นนี้ก็ย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศยุโรปอื่นๆ ช่วงทศวรรษ 1650-1670 ประเทศใหญ่หลายประเทศในยุโรปเปิดศึกสงครามกับดัตช์แทบจะทุกๆ 2-3 ปี เพื่อบ่อนทำลายความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยคุกคามในเขตทะเลหลวงจากอังกฤษ และบนบกโดยฝรั่งเศส โดยในขณะนั้นเกิดความตึงเครียดขึ้นระหว่างรัฐบาลดัตช์กับอังกฤษซึ่งต่างก็เป็นคู่แข่งทางทะเลกันอยู่ จนกระทั่งบานปลายกลายเป็นสงครามในปี 1665 แต่โยฮันสามารถจัดการจนควบคุมทะเลหลวงไว้ได้ เพราะกองทัพเรือของดัตช์แข็งแกร่งมาก

แต่ในปี 1672 สถานการณ์ต่างๆ กลับไม่ราบรื่นจนกิดความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสทรงประกาศสงครามกับดัตช์แบบทันทีทันใด นั่นเท่ากับว่าดัตช์ต้องรับศึกทั้งทางบกและทางทะเล กองทัพดัตช์พ่ายให้กับกองทัพฝรั่งเศสครั้งแล้วครั้งเล่า หลายเมืองและหลายภูมิภาคต้องยอมแพ้ เพราะกองทัพบกถูกละเลยจึงอ่อนแอ
ปี 1672 จึงถือเป็น ‘ปีแห่งหายนะ’ (rampjaar) ของดัตช์ และยังถือเป็น ‘จุดเริ่มต้นของจุดจบ’ ของโยฮัน
เมื่อไม่พอใจและหมดความอดทนกับโยฮัน ประชาชนชาวดัตช์จึงหันไปสนับสนุนเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 แห่งราชวงศ์ออร์เรนจ์ที่พวกเขามองว่าเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งแทน และพากันตราหน้าว่าโยฮันเป็น ‘คนทรยศ’ ต่อมามีการลอบสังหารโยฮันที่บ้านพักโดยเขารอดมาได้แต่ก็บาดเจ็บหนัก ส่วนคอร์เนลิสถูกจับกุมในข้อหากบฏและสมรู้ร่วมคิดลอบสังหารเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 (ถูกใส่ร้าย) คอร์เนลิสถูกทรมานและถูกกักขังในเรือนจำในเฮก
โยฮันถูกกดดันอย่างหนักจนในที่สุดก็ตัดสินใจลาออก และเดินทางไปเยี่ยมพี่ชายที่เรือนจำโดยไม่รู้เลยว่ามีคนกำลังวางแผนลอบสังหารเขาอีกครั้ง หลังจากโยฮันเข้าไปในเรือนจำ ฝูงชนจำนวนมากก็เข้ามาล้อมจับและสังหารสองพี่น้องเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1672 ร่างของทั้งคู่ถูกลากออกมามัดไว้บนตะแลงแกงและถูกหั่นออกเป็นชิ้นๆ
อเล็กซองด์ร์ ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสบรรยายภาพเหตุการณ์สุดโหดนี้ในหนังสือเรื่อง Black Tulip ว่า ทุกคนซึ่งโกรธแค้นจากความล้มเหลวของโยฮันต้องการยิงปืนใส่เขาหรือตีเขาด้วยค้อนปอนด์หรือแทงเขาด้วยมีดหรือดาบ ทุกคนต้องการให้เลือดของฮีโร่ที่ล้มเหลวหยดลงพื้น และฉีกเสื้อผ้าของเขาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ฝูงชนจึงบุกเข้ามาและลากพี่น้องออกไป ฝูงชนจึงฉีกพวกเขาเป็นชิ้นๆ
ปี 1672 จึงถือเป็น ‘ปีแห่งหายนะ’ (rampjaar) ของดัตช์ และยังถือเป็น ‘จุดเริ่มต้นของจุดจบ’ ของโยฮัน
เมื่อไม่พอใจและหมดความอดทนกับโยฮัน ประชาชนชาวดัตช์จึงหันไปสนับสนุนเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 แห่งราชวงศ์ออร์เรนจ์ที่พวกเขามองว่าเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งแทน และพากันตราหน้าว่าโยฮันเป็น ‘คนทรยศ’ ต่อมามีการลอบสังหารโยฮันที่บ้านพักโดยเขารอดมาได้แต่ก็บาดเจ็บหนัก ส่วนคอร์เนลิสถูกจับกุมในข้อหากบฏและสมรู้ร่วมคิดลอบสังหารเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 (ถูกใส่ร้าย) คอร์เนลิสถูกทรมานและถูกกักขังในเรือนจำในเฮก
โยฮันถูกกดดันอย่างหนักจนในที่สุดก็ตัดสินใจลาออก และเดินทางไปเยี่ยมพี่ชายที่เรือนจำโดยไม่รู้เลยว่ามีคนกำลังวางแผนลอบสังหารเขาอีกครั้ง หลังจากโยฮันเข้าไปในเรือนจำ ฝูงชนจำนวนมากก็เข้ามาล้อมจับและสังหารสองพี่น้องเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1672 ร่างของทั้งคู่ถูกลากออกมามัดไว้บนตะแลงแกงและถูกหั่นออกเป็นชิ้นๆ
อเล็กซองด์ร์ ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสบรรยายภาพเหตุการณ์สุดโหดนี้ในหนังสือเรื่อง Black Tulip ว่า ทุกคนซึ่งโกรธแค้นจากความล้มเหลวของโยฮันต้องการยิงปืนใส่เขาหรือตีเขาด้วยค้อนปอนด์หรือแทงเขาด้วยมีดหรือดาบ ทุกคนต้องการให้เลือดของฮีโร่ที่ล้มเหลวหยดลงพื้น และฉีกเสื้อผ้าของเขาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ฝูงชนจึงบุกเข้ามาและลากพี่น้องออกไป ฝูงชนจึงฉีกพวกเขาเป็นชิ้นๆ

มีการพูดกันว่าคนดัตช์ถึงกับควักตับของโยฮันออกมากินเพื่อให้หายแค้น บางรายงานระบุว่า ชายคนหนึ่งยอมรับว่าเขากินลูกตาของโยฮัน แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันเกี่ยวกับรายละเอียดในครั้งนั้น แต่ก็ยอมรับกันในวงกว้างว่าการสังหารสองพี่น้องเดอ วิตต์ เป็นการลงมืออย่างโหดร้าย
หลังหมดยุคของโยฮันแล้ว เจ้าชายวิลเลียมที่ 3 ก็เข้ามาปกครองดัตช์ต่อ และไม่มีการดำเนินคดีกับแกนนำม็อบที่บุกสังหารโยฮันแต่อย่างใด
ทุกวันนี้ลิ้นของโยฮันและนิ้วมือของคอร์เนลิส (นิ้วกลาง) ยังถูกเก็บไว้เพื่อใช้จดจำเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุจัดแสดงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในพิพิธภัณฑ์ Historical Museum of The Hague และยังมีรูปปั้นของโยฮัน เดอ วิตต์ ตั้งอยู่ 3 จุดในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทั้งหมดสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 เพื่อเป็นการระลึกถึงชายที่ถูกฆ่าอย่างไม่เป็นธรรมโดยประชาชนของเขาเอง
หลังหมดยุคของโยฮันแล้ว เจ้าชายวิลเลียมที่ 3 ก็เข้ามาปกครองดัตช์ต่อ และไม่มีการดำเนินคดีกับแกนนำม็อบที่บุกสังหารโยฮันแต่อย่างใด
ทุกวันนี้ลิ้นของโยฮันและนิ้วมือของคอร์เนลิส (นิ้วกลาง) ยังถูกเก็บไว้เพื่อใช้จดจำเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุจัดแสดงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในพิพิธภัณฑ์ Historical Museum of The Hague และยังมีรูปปั้นของโยฮัน เดอ วิตต์ ตั้งอยู่ 3 จุดในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทั้งหมดสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 เพื่อเป็นการระลึกถึงชายที่ถูกฆ่าอย่างไม่เป็นธรรมโดยประชาชนของเขาเอง