NASA พบองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของชีวิตบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) ซึ่งเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ โดยตรวจพบฟอสฟอรัสในเม็ดน้ำแข็งที่มีรสเค็มที่ถูกปล่อยออกสู่อวกาศโดยมลสารที่ปะทุระหว่างรอยแตกของเปลือกน้ำแข็งของดวงจันทร์ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีมหาสมุทรอยู่ใต้พื้นผิวที่หนาและเป็นน้ำแข็งของเอนเซลาดัส อีกทั้งมวลสารต่างๆ ก็ถูกปล่อยออกมาจากกีย์เซอร์ (ลักษณะของน้ำพุร้อนที่ปล่อยกระแสน้ำพร้อมกับไอน้ำออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ) บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นประจำ
มวลสารดังกล่าวจะรวมอยู่ในวงแหวน E ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของดาวเสาร์ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลจากยานภารกิจกัสซินี (Cassini) ของ NASA ที่ศึกษาดาวเสาร์และดวงจันทร์บริวารระหว่างปี 2004-2017 โดยเคลื่อนผ่านมวลสารของเอนเซลาดัส และวงแหวน E ของดาวเสาร์หลายครั้ง โดยพบว่าเครื่องวิเคราะห์ฝุ่นจักรวาลของยานภารกิจตรวจเจอแร่ธาตุและสารประกอบอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ตรวจพบโซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน และสารประกอบคาร์บอเนตในเม็ดน้ำแข็งที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์โดยยานกัสซินีด้วยเหมือนกัน
และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบ ‘ฟอสฟอรัส’ ในมหาสมุทรนอกโลก
“ฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟตมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก มันจำเป็นสำหรับการสร้าง DNA และ RNA, เยื่อหุ้มเซลล์ และ ATP (ตัวส่งพลังงานสากลในเซลล์) เป็นต้น อย่างที่เราทราบกันดีการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตอาจไม่ปรากฏหากว่าไม่มีฟอสเฟต” ดร.แฟรงก์ โพสเบิร์ก หัวหน้าทีมวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลินกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีมหาสมุทรอยู่ใต้พื้นผิวที่หนาและเป็นน้ำแข็งของเอนเซลาดัส อีกทั้งมวลสารต่างๆ ก็ถูกปล่อยออกมาจากกีย์เซอร์ (ลักษณะของน้ำพุร้อนที่ปล่อยกระแสน้ำพร้อมกับไอน้ำออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ) บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นประจำ
มวลสารดังกล่าวจะรวมอยู่ในวงแหวน E ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของดาวเสาร์ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลจากยานภารกิจกัสซินี (Cassini) ของ NASA ที่ศึกษาดาวเสาร์และดวงจันทร์บริวารระหว่างปี 2004-2017 โดยเคลื่อนผ่านมวลสารของเอนเซลาดัส และวงแหวน E ของดาวเสาร์หลายครั้ง โดยพบว่าเครื่องวิเคราะห์ฝุ่นจักรวาลของยานภารกิจตรวจเจอแร่ธาตุและสารประกอบอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ตรวจพบโซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน และสารประกอบคาร์บอเนตในเม็ดน้ำแข็งที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์โดยยานกัสซินีด้วยเหมือนกัน
และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบ ‘ฟอสฟอรัส’ ในมหาสมุทรนอกโลก
“ฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟตมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก มันจำเป็นสำหรับการสร้าง DNA และ RNA, เยื่อหุ้มเซลล์ และ ATP (ตัวส่งพลังงานสากลในเซลล์) เป็นต้น อย่างที่เราทราบกันดีการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตอาจไม่ปรากฏหากว่าไม่มีฟอสเฟต” ดร.แฟรงก์ โพสเบิร์ก หัวหน้าทีมวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลินกล่าว
เป้าหมายต่อไป = ค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิต?

แม้ว่าภารกิจยานกัสซินีจะจบลงด้วยการพุ่งชนชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์เมื่อปี 2017 แต่ข้อมูลที่รวบรวมโดยยานภารกิจกำลังเปลี่ยนวิธีที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเอนเซลาดัสและโลกมหาสมุทรที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกในระบบสุริยะของเรา
“ตอนนี้เรารู้ว่ามีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตมากมายอยู่ที่นั่นแล้ว คำถามต่อจากนี้ก็คือ ‘มีสิ่งชีวิตนอกโลกที่บางทีอาจอยู่ในระบบสุริยะของเราเอง?’ ฉันรู้สึกว่ามรดกที่ยั่งยืนของยานกัสซินีจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภารกิจในอนาคตซึ่งอาจตอบคำถามนั้นได้ในที่สุด” ลินดา สปิลเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์กล่าว
แม้ว่าจะพบส่วนประกอบและสภาวะการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนเอนเซลาดัส แต่ก็ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตที่แท้จริง
“การมีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับสภาพแวดล้อมนอกโลกที่จะเป็นที่อยู่อาศัย…สิ่งมีชีวิตสามารถกำเนิดในมหาสมุทรของเอนเซลาดัสได้หรือไม่ยังคงเป็นคำถามปลายเปิดอยู่” คริสโตเฟอร์ เกลน นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และนักธรณีเคมีกล่าว
ขณะที่ ดร.โนแซร์ คาวาจา นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลินกล่าวว่า “ขั้นตอนต่อไปต้องชัดเจน เราต้องกลับไปที่เอนเซลาดัสเพื่อดูว่ามหาสมุทรที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตนั้นมีผู้อยู่อาศัยจริงหรือไม่”
“ตอนนี้เรารู้ว่ามีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตมากมายอยู่ที่นั่นแล้ว คำถามต่อจากนี้ก็คือ ‘มีสิ่งชีวิตนอกโลกที่บางทีอาจอยู่ในระบบสุริยะของเราเอง?’ ฉันรู้สึกว่ามรดกที่ยั่งยืนของยานกัสซินีจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภารกิจในอนาคตซึ่งอาจตอบคำถามนั้นได้ในที่สุด” ลินดา สปิลเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์กล่าว
แม้ว่าจะพบส่วนประกอบและสภาวะการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนเอนเซลาดัส แต่ก็ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตที่แท้จริง
“การมีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับสภาพแวดล้อมนอกโลกที่จะเป็นที่อยู่อาศัย…สิ่งมีชีวิตสามารถกำเนิดในมหาสมุทรของเอนเซลาดัสได้หรือไม่ยังคงเป็นคำถามปลายเปิดอยู่” คริสโตเฟอร์ เกลน นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และนักธรณีเคมีกล่าว
ขณะที่ ดร.โนแซร์ คาวาจา นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลินกล่าวว่า “ขั้นตอนต่อไปต้องชัดเจน เราต้องกลับไปที่เอนเซลาดัสเพื่อดูว่ามหาสมุทรที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตนั้นมีผู้อยู่อาศัยจริงหรือไม่”