อาเซียนประชุม ‘ฟื้นฟู’ การเมืองเมียนมา
สำนักข่าว The Irrawaddy ของเมียนมารายงานว่า ขณะที่เมียนมากำลังเข้าสู่วิกฤตหลังรัฐประหาร และรัฐบาลทหารเองก็กำลังเปลี่ยนประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับเมียนมาให้เป็นโอกาสในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อด้วยการโกหกเกี่ยวกับทุกประเด็นที่กำลังเผชิญอยู่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) รวมถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมาเพื่อเตรียมหนทางที่จะ ทำให้เมียนมากลับเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในระดับผู้นำอีกครั้ง
ย้อนกลับไปตั้งแต่ปลายปี 2021 ผู้นำระดับสูงของรัฐบาลพม่าและรัฐมนตรีต่างประเทศถูกกันออกจากการประชุมระดับสูงของอาเซียน หลังจากรัฐบาลทหารล้มเหลวในแผนการของกลุ่มอาเซียนเพื่อฟื้นฟูสันติภาพในประเทศ ซึ่งอยู่ในความวุ่นวายนับตั้งแต่กองทัพทำรัฐประหารเมื่อต้นปีนั้น
ขณะที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ปฏิเสธการเจรจาที่จัดขึ้นในรีสอร์ตพัทยาระหว่างวันที่ 18-19 มิ.ย. แต่ตัวแทนจากสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมานั้นเข้าร่วมการเจรจา
ส่วนประธานอาเซียนอย่างอินโดนีเซียได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยในการจัดการพูดคุย ซึ่งถูกประณามโดยสมัชชารัฐสภาอาเซียน รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติหรือรัฐบาลเงาเมียนมา (NUG) และองค์กรภาคประชาสังคมหลายร้อยแห่งในประเทศ
ข้อเท็จจริงของเมียนมาที่ถูกเผยแพร่อย่างอคติ…?
จากถ้อยแถลงของรัฐบาลพม่าระบุว่า ตาน สวี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลทหารใช้โอกาสแรกของเขาอย่างเต็มที่ในการพูดในที่ประชุมระดับภูมิภาค โดยกล่าวว่าข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเมียนมานั้นถูกปิดกั้นซึ่งมีเพียงข่าวเท็จและพาดพิงเกี่ยวกับประเทศเท่านั้นที่ถูกเผยแพร่โดยสื่อที่มีอคติ
ตาน สวี กล่าวในการเจรจาว่ากองทัพเมียนมากำลังมุ่งความพยายามไปที่ 3 ใน 5 ประเด็นสำคัญของอาเซียน ได้แก่ การยุติความรุนแรงในประเทศ การเริ่มต้นการเจรจาระหว่างทุกฝ่ายและส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวเมียนมา
“เป็นเวลากว่า 33 ปีแล้วที่รัฐบาลชุดต่อๆ มามีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างอดทน แทนที่จะต่อสู้เพื่อสร้างสันติภาพถาวรในเมียนมา แต่กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ (EAO) ตั้งใจที่จะชะลอการเจรจาออกไป” ตาน สวีกล่าว
นอกจากนี้ ตาน สวี ยังถือโอกาสเสนอมุมมองทางเลือกเกี่ยวกับการโจมตีทางอากาศโดยไม่เลือกปฏิบัติโดยมีเป้าหมายที่พลเรือน โดยกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ทหารของเมียนมาได้รับการฝึกฝนให้ปฏิบัติตามกฎการสู้รบที่ระบุไว้ในอนุสัญญาเวียนนา และไม่ใช้กำลังที่ไม่สมส่วน
จากนั้น เขาได้กล่าวหารัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ และกองกำลังป้องกันประชาชนฝ่ายติดอาวุธว่า ‘สังหารพลเรือนที่ปราศจากอาวุธกว่า 5,800 คน’ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้นิ่งเฉยเกี่ยวกับการที่รัฐบาลทหารสังหารประชาชนอย่างน้อย 3,692 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบการปกครองของพวก
ระหว่างการประชุมที่พัทยา ตาน สวี ไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงเวลา 2 ปีหลังการรัฐประหารนั้น รัฐบาลของเขายังคงไม่สามารถควบคุมประเทศได้และกำลังสูญเสียการควบคุมภาคพื้นดินจำนวนมากให้กับกองกำลัง ‘PDFs’ และยังละเลยที่จะกล่าวถึงว่ากองกำลังของรัฐบาลทหารได้รับความเสียหายอย่างหนักตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการสู้รบแล้ว
แต่ ตาน สวี กลับโอ้อวดว่า “กองทัพพม่าที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ มีประสบการณ์และมีความสามารถ สามารถบดขยี้กลุ่มติดอาวุธทั่วไป (กองกำลังต่อต้าน) ได้อย่างง่ายดาย”
คนอื่นๆ มองการประชุมนี้อย่างไร?
ทอม แอนดรูว์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาเรียกการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘เป็นอันตราย’ เพราะอาจทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่สมาชิกอาเซียนและช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหารของเมียนมา
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวว่า ‘การพูดคุยโดยตรงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปกป้องประเทศของเขา โดยอธิบายว่าประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากมีพรมแดนทางบกติดกับเมียนมา’
แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นเจ้าภาพในการประชุม แต่ก็ยังมีคำถามว่าทำไมไทยถึงรีบตัดสินใจจัดการเจรจา “การตัดสินใจของรัฐบาลที่จะจัดการประชุมทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียที่อาจเกี่ยวข้องกับการยอมรับระบอบทหารของเมียนมา”
“การประชุมดังกล่าวได้ทำลายสถานะระหว่างประเทศของไทย บ่อนทำลายบทบาทของภูมิภาคส่วนกลางของอาเซียน และบ่อนทำลายตำแหน่งของอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนปัจจุบัน”
“นโยบายที่น่าสงสัยของไทยได้สร้างศัตรูกับประชากรส่วนใหญ่ของเมียนมาที่ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลพม่า (SAC) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสงครามกลางเมืองที่ดุเดือด ซึ่งกองทัพไม่ชนะและไม่สามารถรวมอำนาจไว้ได้” ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว
แม้แต่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ปรัก โสขนน์ ก็ยังเพิกเฉยต่อคำเชิญเป็นการส่วนตัวจากรัฐมนตรีของไทย โดยส่ง คัง โพอัก ซึ่งเป็นเลขาธิการรัฐที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่งจากทั้งหมด 14 คนของเขาเข้าร่วมในการเจรจาแทน
หลังการการพูดคุยที่พัทยา นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ผู้นำเผด็จการของกัมพูชา ก็ปฏิเสธเมียนมา “ความสำเร็จล่าสุดของเมียนมานอกเหนือจากการทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์คืออะไร” ฮุนตั้งคำถาม