ในพุทธศาสนานั้นการดื่มสุราเมรัยถือเป็นเรื่องไม่ควรทำดังที่บัญญัติไว้ในศีลข้อ 5 แต่สำหรับศาสนาคริสต์ ไวน์กลับเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ในช่วงยุคกลางนั้นนักบวชในยุโรปจะบริโภคเบียร์แทนอาหารในช่วงจำศีล (Lent) และต่อมาสำนักสงฆ์หลายแห่งคือผู้ผลิตเบียร์ที่กลายมาเป็นเบียร์ชื่อดังที่ส่งขายไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้
ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ช่วงจำศีล (Lent) ของนักบวชในยุโรปน่าจะคล้ายกับช่วงเข้าพรรษา (Buddhist Lent) ของบ้านเราที่พระสงฆ์จะจำพรรษาในที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน แต่ช่วงจำศีลของนักบวชยุโรปจะกินเวลา 40 วัน เพื่อเป็นการระลึกถึงการอดอาหาร 40 วันของพระเยซู โดยตลอด 40 วันนี้นักบวชที่เคร่งครัดในเยอรมนีจะไม่กินอาหารแข็ง (ที่ต้องเคี้ยว) เลย นอกจากน้ำเท่านั้น
เมื่อดื่มแต่น้ำก็ไม่มีพลังงานให้ร่างกาย ในศตวรรษที่ 17 นักบวชกลุ่มพอลลาเนอร์ (Paulaner) ในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนีจึงตัดสินใจหมักเบียร์ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกายตลอดช่วงเวลาการอดอาหาร 40 วัน
ต้องบอกก่อนว่าการที่นักบวชลุกขึ้นมาหมักเบียร์ไม่ใช่เรื่องแปลกในเยอรมนี เพราะในขณะนั้นคนเยอรมันก็หมักเบียร์กินเอง และกลุ่มนักบวชคณะแทรปปิสต์ (Trappist) ในเบลเยียมก็เริ่มหมักเบียร์ที่ภายหลังเป็นหนึ่งในเบียร์ที่ดีที่สุดในโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.530 แล้ว
และก่อนหน้าคณะพอลลาเนอร์ นักบวชในเมืองไอน์เบค (Einbeck) ของเยอรมนีก็หมักเบียร์ไว้สำหรับบริโภคในช่วงจำศีลที่รู้จักกันในชื่อ Bock อยู่แล้ว แต่เบียร์นี้ไม่ค่อยอยู่ท้อง นักบวชกลุ่มพอลลาเนอร์จึงคิดค้นเบียร์สูตรใหม่ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและสารอาหารต่างๆ ไม่ต่างจากขนมปัง จนนักบวชหลายคนมอบฉายาให้เบียร์สูตรใหม่ที่ชื่อว่า Doppelbock (มาจาก Double Bock คือสูตรที่เข้มข้นกว่า Bock แต่นักบวชพอลลาเนอร์เรียกเบียร์นี้ว่า sankt-vater-bier ซึ่งแปลว่า เบียร์สันตะปาปา) นี้ว่า “ขนมปังเหลว”
ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ช่วงจำศีล (Lent) ของนักบวชในยุโรปน่าจะคล้ายกับช่วงเข้าพรรษา (Buddhist Lent) ของบ้านเราที่พระสงฆ์จะจำพรรษาในที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน แต่ช่วงจำศีลของนักบวชยุโรปจะกินเวลา 40 วัน เพื่อเป็นการระลึกถึงการอดอาหาร 40 วันของพระเยซู โดยตลอด 40 วันนี้นักบวชที่เคร่งครัดในเยอรมนีจะไม่กินอาหารแข็ง (ที่ต้องเคี้ยว) เลย นอกจากน้ำเท่านั้น
เมื่อดื่มแต่น้ำก็ไม่มีพลังงานให้ร่างกาย ในศตวรรษที่ 17 นักบวชกลุ่มพอลลาเนอร์ (Paulaner) ในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนีจึงตัดสินใจหมักเบียร์ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกายตลอดช่วงเวลาการอดอาหาร 40 วัน
ต้องบอกก่อนว่าการที่นักบวชลุกขึ้นมาหมักเบียร์ไม่ใช่เรื่องแปลกในเยอรมนี เพราะในขณะนั้นคนเยอรมันก็หมักเบียร์กินเอง และกลุ่มนักบวชคณะแทรปปิสต์ (Trappist) ในเบลเยียมก็เริ่มหมักเบียร์ที่ภายหลังเป็นหนึ่งในเบียร์ที่ดีที่สุดในโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.530 แล้ว
และก่อนหน้าคณะพอลลาเนอร์ นักบวชในเมืองไอน์เบค (Einbeck) ของเยอรมนีก็หมักเบียร์ไว้สำหรับบริโภคในช่วงจำศีลที่รู้จักกันในชื่อ Bock อยู่แล้ว แต่เบียร์นี้ไม่ค่อยอยู่ท้อง นักบวชกลุ่มพอลลาเนอร์จึงคิดค้นเบียร์สูตรใหม่ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและสารอาหารต่างๆ ไม่ต่างจากขนมปัง จนนักบวชหลายคนมอบฉายาให้เบียร์สูตรใหม่ที่ชื่อว่า Doppelbock (มาจาก Double Bock คือสูตรที่เข้มข้นกว่า Bock แต่นักบวชพอลลาเนอร์เรียกเบียร์นี้ว่า sankt-vater-bier ซึ่งแปลว่า เบียร์สันตะปาปา) นี้ว่า “ขนมปังเหลว”

แต่ด้วยความที่เบียร์ Doppelbock นี้รสชาติดีมาก นักบวชบางคนที่เคร่งครัดมากจึงริ่มตั้งคำถามว่าเบียร์นี้ขัดกับหลักการปลงอาบัติในช่วงจำศีลหรือไม่ ต่อมานักบวชคณะพอลลาเนอร์จึงขอคำปรึกษาจากสมเด็จพระสันตะปาปา โดยการส่งเบียร์นี้ไปยังวาติกันของอิตาลี
ทว่าขณะที่เดินทางนั้นเบียร์ถูกความร้อนมากเกินไปจึงทำให้เน่าเสียและมีรสชาติเปรี้ยวผิดจากรสชาติในตอนแรก เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาลองชิมพระองค์จึงมองว่าเบียร์นี้รสชาติไม่ดีและถือเป็นการปลงอาบัติได้อย่างดีจึงอนุญาตให้ดื่มเบียร์ดังกล่าวได้
มีงานวิจัยระบุว่า นักบวชในยุคกลางดื่มเบียร์ราว 5 ลิตรต่อวัน และอาจมากกว่านั้นในช่วงถือศีลอดอาหาร
ส่วนชาวบ้านในเมืองมิวนิกพอรู้เรื่องเบียร์รสอร่อยดีก็เริ่มพากันมาชิมเบียร์ที่สำนักสงฆ์ของนักบวชกลุ่มพอลลาเนอร์มากขึ้น จนในที่สุดปี 1629 เจ้าชายแม็กซิมิเลียนก็อนุญาตให้คณะนักบวชพอลลาเนอร์ผลิตเบียร์จำนวนมากๆ มาขายให้ประชาชน ทำให้สำนักสงฆ์มีรายได้ไปทำนุบำรุงศาสนา และกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นตำรับของโรงเบียร์พอลลาเนอร์ที่ก่อตั้งในปี 1634 มาจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่ทำให้ “เบียร์สันตะปาปา” มีรสชาติเข้มข้นมาจากปริมาณของมอลต์ที่ใส่ลงไปในเบียร์ 1 ลิตร โดยปริมาณน้ำตาล (แป้ง) และโปรตีนในเบียร์ลาเกอร์จะอยู่ที่ราว 11-13% ส่วนใน “เบียร์สันตะปาปา” จะอยู่ที่ราว 16-20% หมายความว่าเบียร์ 1 ลิตรจะมีมอลต์ราว 160-200 กรัม หรือเทียบเท่ากับขนมปังแผ่น 4-5 แผ่น ซึ่งให้แคลอรี 600 กิโลแคลอรี ส่วนแอลกอฮอล์มีราว 7%
ทว่าขณะที่เดินทางนั้นเบียร์ถูกความร้อนมากเกินไปจึงทำให้เน่าเสียและมีรสชาติเปรี้ยวผิดจากรสชาติในตอนแรก เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาลองชิมพระองค์จึงมองว่าเบียร์นี้รสชาติไม่ดีและถือเป็นการปลงอาบัติได้อย่างดีจึงอนุญาตให้ดื่มเบียร์ดังกล่าวได้
มีงานวิจัยระบุว่า นักบวชในยุคกลางดื่มเบียร์ราว 5 ลิตรต่อวัน และอาจมากกว่านั้นในช่วงถือศีลอดอาหาร
ส่วนชาวบ้านในเมืองมิวนิกพอรู้เรื่องเบียร์รสอร่อยดีก็เริ่มพากันมาชิมเบียร์ที่สำนักสงฆ์ของนักบวชกลุ่มพอลลาเนอร์มากขึ้น จนในที่สุดปี 1629 เจ้าชายแม็กซิมิเลียนก็อนุญาตให้คณะนักบวชพอลลาเนอร์ผลิตเบียร์จำนวนมากๆ มาขายให้ประชาชน ทำให้สำนักสงฆ์มีรายได้ไปทำนุบำรุงศาสนา และกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นตำรับของโรงเบียร์พอลลาเนอร์ที่ก่อตั้งในปี 1634 มาจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่ทำให้ “เบียร์สันตะปาปา” มีรสชาติเข้มข้นมาจากปริมาณของมอลต์ที่ใส่ลงไปในเบียร์ 1 ลิตร โดยปริมาณน้ำตาล (แป้ง) และโปรตีนในเบียร์ลาเกอร์จะอยู่ที่ราว 11-13% ส่วนใน “เบียร์สันตะปาปา” จะอยู่ที่ราว 16-20% หมายความว่าเบียร์ 1 ลิตรจะมีมอลต์ราว 160-200 กรัม หรือเทียบเท่ากับขนมปังแผ่น 4-5 แผ่น ซึ่งให้แคลอรี 600 กิโลแคลอรี ส่วนแอลกอฮอล์มีราว 7%