การหาเสียงเลือกตั้งในบ้านเรากำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น พรรคการเมืองต่างพากันเสนอนโยบายเอาอกเอาใจประชนชนด้วยการลดแลกแจกแถมสารพัดรูปแบบ จนถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแนวทางประชานิยมเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง
และหากพูดถึงต้นตำรับประชานิยมก็คงหนีไม่พ้นประเทศในแถบละตินอเมริกาอย่างอาร์เจนตินาและเวเนซุเอลา ที่แจกสนั่นจนเศรษฐกิจของประเทศร่อแร่ถึงขั้นล้มละลายมาแล้วทั้งคู่ และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัว
หากย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 19 อาร์เจนตินายังเป็น 1 ใน 10 ประเทศร่ำรวย เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไม่ขาดสาย ทั้งยังมีรายได้ส่วนใหญ่จากการส่งออกสินค้าเกษตร ทว่าสินค้าเกษตรของอาร์เจนตินาที่ส่งออกไปขายจนทำให้ร่ำรวยนั้นผลิตโดยชนชั้นเศรษฐีเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่
ชนชั้นเจ้าของที่ดินเหล่านั้นครอบงำการบริหารประเทศติดต่อกันเป็นเวลานานผ่านระบบการเลือกตั้ง ทำให้ชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองจนเกิดความเหลื่อมล้ำ
ในปี 1916 ฮิโปลิโต อิริโกเยน นักการเมืองคนหนึ่งได้ชูนโยบายประชานิยมขึ้นมาเพื่อโค่นล้มกลุ่มคนรวย ปรากฏว่าเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้นำและเริ่มแจกทุกอย่างให้ชาวอาร์เจนตินาทันที
อิริโกเยนได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นจากชาวอาร์เจนตินา แต่เขาไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 1922 ได้เนื่องจากกฎหมายห้ามมิให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งในปีนั้นพยายามยกเลิกนโยบายประชานิยม สร้างความไม่พอใจให้ชาวอาร์เจนตินาที่เสียผลประโยชน์ เมื่อถึงการเลือกตั้งปี 1928 อิริโกเยนลงสมัครอีกและชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่อยู่ไม่ครบ 6 ปีก็ถูกทหารยึดอำนาจ
ต่อมาผู้นำที่ยังครองอำนาจก็ใช้วิธีเดียวกันนี้จนชาวอาร์เจนตินาเสพติดของฟรี รวมทั้งนายพล ฮวน เปรอน ที่ใช้นโยบายประชานิยมเข้าสู่อำนาจและมอมเมาชาวอาร์เจนตินาด้วยของให้เปล่า โดยที่ไม่มีใครใส่ใจว่าเงินที่นำมาแจกจ่ายมหาศาลนั้นมาจากไหน
และหากพูดถึงต้นตำรับประชานิยมก็คงหนีไม่พ้นประเทศในแถบละตินอเมริกาอย่างอาร์เจนตินาและเวเนซุเอลา ที่แจกสนั่นจนเศรษฐกิจของประเทศร่อแร่ถึงขั้นล้มละลายมาแล้วทั้งคู่ และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัว
หากย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 19 อาร์เจนตินายังเป็น 1 ใน 10 ประเทศร่ำรวย เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไม่ขาดสาย ทั้งยังมีรายได้ส่วนใหญ่จากการส่งออกสินค้าเกษตร ทว่าสินค้าเกษตรของอาร์เจนตินาที่ส่งออกไปขายจนทำให้ร่ำรวยนั้นผลิตโดยชนชั้นเศรษฐีเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่
ชนชั้นเจ้าของที่ดินเหล่านั้นครอบงำการบริหารประเทศติดต่อกันเป็นเวลานานผ่านระบบการเลือกตั้ง ทำให้ชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองจนเกิดความเหลื่อมล้ำ
ในปี 1916 ฮิโปลิโต อิริโกเยน นักการเมืองคนหนึ่งได้ชูนโยบายประชานิยมขึ้นมาเพื่อโค่นล้มกลุ่มคนรวย ปรากฏว่าเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้นำและเริ่มแจกทุกอย่างให้ชาวอาร์เจนตินาทันที
อิริโกเยนได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นจากชาวอาร์เจนตินา แต่เขาไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 1922 ได้เนื่องจากกฎหมายห้ามมิให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งในปีนั้นพยายามยกเลิกนโยบายประชานิยม สร้างความไม่พอใจให้ชาวอาร์เจนตินาที่เสียผลประโยชน์ เมื่อถึงการเลือกตั้งปี 1928 อิริโกเยนลงสมัครอีกและชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่อยู่ไม่ครบ 6 ปีก็ถูกทหารยึดอำนาจ
ต่อมาผู้นำที่ยังครองอำนาจก็ใช้วิธีเดียวกันนี้จนชาวอาร์เจนตินาเสพติดของฟรี รวมทั้งนายพล ฮวน เปรอน ที่ใช้นโยบายประชานิยมเข้าสู่อำนาจและมอมเมาชาวอาร์เจนตินาด้วยของให้เปล่า โดยที่ไม่มีใครใส่ใจว่าเงินที่นำมาแจกจ่ายมหาศาลนั้นมาจากไหน

ตอนที่นายพลเปรอนเข้าบริหารประเทศ อาร์เจนตินามีเงินสำรองมากกว่า 2 เท่าของเงินสำรองของประเทศละตินอเมริกาทั้งหมดรวมกัน ทว่าไม่นานหลังจากนั้นเงินสำรองก็หมด เมื่อเงินสำรองหมด อาร์เจนตินาก็พยายามกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ จนกระทั่งไม่มีใครให้ยืมอีกต่อไปก็เริ่มพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้จำนวนมาก
ไม่นานอาร์เจนตินาก็ประสบปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้าพุ่งขึ้นรายวัน วิกฤตครั้งนั้นพาอาร์เจนตินาไปสู่ความล้มละลายในปี 1956 หรือ 40 ปีหลังวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยม
จากนั้นมาอาร์เจนตินาก็พัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานและล้มละลายอีกหลายครั้ง เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของอาร์เจนตินายังถูกอภิมหาวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ระหว่างปี 1974-1990 เล่นงานจนเศรษฐกิจล่มสลาย อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นปีละ 3,000% และมีปัญหาลากยาวมาถึงปี 2002 ระหว่างนั้นรัฐบาลก็เริ่มกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มากระตุ้นเศรษฐกิจ และมีการชักดาบหนี้ต่างประเทศจำนวน 93,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2001
และล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เงินเฟ้อของอาร์เจนตินาพุ่งขึ้นทะลุ 100% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ภาวะเงินเฟ้อสิ้นสุดลงในช่วงต้นทศวรรษ 90 มาอยู่ที่ 102.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งหมายความว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขยับขึ้นจากปี 2022 กว่า 2 เท่าตัว ส่งผลให้ชาวอาร์เจนตินาหลายคนตกอยู่ในความยากจน
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ชาวอาร์เจนตินาพากันลงถนนประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาค่าครองชีพพุ่ง และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของอาร์เจนตินาประกาศว่าจะพิมพ์ธนบัตรใหม่ใบละ 2,000 เปโซออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับราคาสินค้าที่สูงขึ้น
ไม่นานอาร์เจนตินาก็ประสบปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้าพุ่งขึ้นรายวัน วิกฤตครั้งนั้นพาอาร์เจนตินาไปสู่ความล้มละลายในปี 1956 หรือ 40 ปีหลังวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยม
จากนั้นมาอาร์เจนตินาก็พัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานและล้มละลายอีกหลายครั้ง เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของอาร์เจนตินายังถูกอภิมหาวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ระหว่างปี 1974-1990 เล่นงานจนเศรษฐกิจล่มสลาย อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นปีละ 3,000% และมีปัญหาลากยาวมาถึงปี 2002 ระหว่างนั้นรัฐบาลก็เริ่มกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มากระตุ้นเศรษฐกิจ และมีการชักดาบหนี้ต่างประเทศจำนวน 93,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2001
และล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เงินเฟ้อของอาร์เจนตินาพุ่งขึ้นทะลุ 100% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ภาวะเงินเฟ้อสิ้นสุดลงในช่วงต้นทศวรรษ 90 มาอยู่ที่ 102.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งหมายความว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขยับขึ้นจากปี 2022 กว่า 2 เท่าตัว ส่งผลให้ชาวอาร์เจนตินาหลายคนตกอยู่ในความยากจน
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ชาวอาร์เจนตินาพากันลงถนนประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาค่าครองชีพพุ่ง และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของอาร์เจนตินาประกาศว่าจะพิมพ์ธนบัตรใหม่ใบละ 2,000 เปโซออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับราคาสินค้าที่สูงขึ้น

ส่วนของเวเนซุเอลานั้น ในอดีตเคยส่งออกน้ำมันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก รายได้จากการส่งออกกว่า 90% ของเวเนซุเอลามาจากน้ำมัน ยิ่งน้ำมันดิบราคาสูงเท่าใด เวเนซุเอลาก็ยิ่งร่ำรวยมากเท่านั้น
จนกระทั่งในปี 1999 ที่ ฮูโก ชาเวซ ชนะการเลือกตั้งหลังจากชูนโยบายประชานิยมสุดขั้ว เช่น รัฐสนับสนุนการสร้างบ้านให้ประชาชน ให้ประชาชนอยู่สบายๆ และหยุดทำการเกษตรแล้วนำเข้าพืชผลมาจากต่างประเทศแทน ประชาชนสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกกว่ามูลค่าจริง รวมทั้งแจกตู้เย็นและทีวี
นโยบายเหล่านั้น ได้ทำให้ ฮูโก ชาเวซ กลายเป็นที่รักของคนยากจนในประเทศ เพราะสามารถทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และหลังจากชาเวซเสียชีวิตไปในปี 2013 เวเนซุเอลาก็ได้ นิโกลัส มาดูโร ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่แทน และรัฐบาลก็ยังเดินหน้าใช้นโยบายประชานิยมต่อไป
แต่แล้วชะตาก็เล่นตลกกับชาวเวเนซุเอลา เมื่อเกิดวิกฤตราคาน้ำมันตกต่ำในช่วงปี 2014-2016 ทำให้ราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่า 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากที่เคยสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แน่นอนว่าเวเนซุเอลาที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันเป็นหลักต้องรับผลกระทบไปเต็มๆ จนรายได้หายไปมหาศาล
รัฐบาลเวเนซุเอลาใช้รายได้จากการขายน้ำมันมาสนับสนุนโครงการประชานิยมภายในประเทศมาโดยตลอด เมื่อเกิดวิกฤตราคาน้ำมัน รายได้หลักของประเทศที่มาจากการการขายน้ำมันจึงลดต่ำลงและนำมาซึ่งวิกฤตของชาติในทันที ทำให้โครงการประชานิยมต่างๆ เริ่มสะดุดแต่ก็ไม่สามารถหยุดได้ เพราะผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับประโยชน์จากประชานิยมคือฐานเสียงหลักของรัฐบาลมาดูโร
เมื่อรายได้ลดลงแต่ค่าใช้จ่ายไม่ลดลง รัฐบาลเวเนซุเอลาจึงแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงินออกมาใช้เพิ่ม ส่งผลให้ค่าเงินโบลิวาร์แทบไม่ต่างจากเศษกระดาษ เวเนซุเอลาเจอปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyperinflation) ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้นถึง 929,000% ต่อปี (ณ สิ้นปี 2018 ตามประมาณการ IMF เพราะทางการหยุดประกาศตัวเลขจริงไปตั้งแต่ปี 2017) หรือเปรียบง่ายๆ ว่า ข้าว 1 จานที่เคยซื้อ 30 บาทเมื่อสิ้นปี 2017 กลับต้องซื้อจานละเกือบ 300,000 บาทตอนสิ้นปี 2018 ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของชาวเวเนซุเอลาอยู่ที่ประมาณเดือนละ 1.8 ล้านโบลิวาร์
เพื่อให้เห็นภาพว่าชาวเวเนซุเอลาต้องพกเงินมหาศาลขนาดไหนไปจ่ายตลาด จึงขอยกตัวอย่างของราคาสินค้า ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2018 กระดาษทิชชู่ 1 ม้วนราคา 2.6 ล้านโบลิวาร์ เงินจำนวนนี้หากเป็นธนบัตรใบละ 1,000 โบลิวาร์ทั้งหมดจะหนักถึง 2.6 กิโลกรัม ส่วนเนื้อไก่ราคา 14.6 ล้านโบลิวาร์ ชาวบ้านต้องแบกธนบัตรใบละ 1,000 โบลิวาร์หนัก 14.6 กิโลกรัมไปซื้อ
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องเปลี่ยนสกุลเงินใหม่เป็น Sovereign Bolivar ด้วยการตัดเลขศูนย์ 5 ตัวออก เพื่อให้เงิน 100,000 โบลิวาร์ มีค่าเท่ากับ 1 Sovereign Bolivar และยังปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 3,000% เพื่อให้ประชาชนมีเงินมาใช้จ่าย
นับแต่นั้นมาเวเนซุเอลาก็เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเรื่อยมา
อย่างไรก็ดี ประชานิยมอาจไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่การนำมาใช้อย่างสุดโต่งอาจนำมาสู่ความเสียหายจนประเทศแทบล้มละลายเหมือนที่อาร์เจนตินาและเวเนซุเอลาเจอมาแล้ว
จนกระทั่งในปี 1999 ที่ ฮูโก ชาเวซ ชนะการเลือกตั้งหลังจากชูนโยบายประชานิยมสุดขั้ว เช่น รัฐสนับสนุนการสร้างบ้านให้ประชาชน ให้ประชาชนอยู่สบายๆ และหยุดทำการเกษตรแล้วนำเข้าพืชผลมาจากต่างประเทศแทน ประชาชนสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกกว่ามูลค่าจริง รวมทั้งแจกตู้เย็นและทีวี
นโยบายเหล่านั้น ได้ทำให้ ฮูโก ชาเวซ กลายเป็นที่รักของคนยากจนในประเทศ เพราะสามารถทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และหลังจากชาเวซเสียชีวิตไปในปี 2013 เวเนซุเอลาก็ได้ นิโกลัส มาดูโร ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่แทน และรัฐบาลก็ยังเดินหน้าใช้นโยบายประชานิยมต่อไป
แต่แล้วชะตาก็เล่นตลกกับชาวเวเนซุเอลา เมื่อเกิดวิกฤตราคาน้ำมันตกต่ำในช่วงปี 2014-2016 ทำให้ราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่า 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากที่เคยสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แน่นอนว่าเวเนซุเอลาที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันเป็นหลักต้องรับผลกระทบไปเต็มๆ จนรายได้หายไปมหาศาล
รัฐบาลเวเนซุเอลาใช้รายได้จากการขายน้ำมันมาสนับสนุนโครงการประชานิยมภายในประเทศมาโดยตลอด เมื่อเกิดวิกฤตราคาน้ำมัน รายได้หลักของประเทศที่มาจากการการขายน้ำมันจึงลดต่ำลงและนำมาซึ่งวิกฤตของชาติในทันที ทำให้โครงการประชานิยมต่างๆ เริ่มสะดุดแต่ก็ไม่สามารถหยุดได้ เพราะผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับประโยชน์จากประชานิยมคือฐานเสียงหลักของรัฐบาลมาดูโร
เมื่อรายได้ลดลงแต่ค่าใช้จ่ายไม่ลดลง รัฐบาลเวเนซุเอลาจึงแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงินออกมาใช้เพิ่ม ส่งผลให้ค่าเงินโบลิวาร์แทบไม่ต่างจากเศษกระดาษ เวเนซุเอลาเจอปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyperinflation) ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้นถึง 929,000% ต่อปี (ณ สิ้นปี 2018 ตามประมาณการ IMF เพราะทางการหยุดประกาศตัวเลขจริงไปตั้งแต่ปี 2017) หรือเปรียบง่ายๆ ว่า ข้าว 1 จานที่เคยซื้อ 30 บาทเมื่อสิ้นปี 2017 กลับต้องซื้อจานละเกือบ 300,000 บาทตอนสิ้นปี 2018 ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของชาวเวเนซุเอลาอยู่ที่ประมาณเดือนละ 1.8 ล้านโบลิวาร์
เพื่อให้เห็นภาพว่าชาวเวเนซุเอลาต้องพกเงินมหาศาลขนาดไหนไปจ่ายตลาด จึงขอยกตัวอย่างของราคาสินค้า ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2018 กระดาษทิชชู่ 1 ม้วนราคา 2.6 ล้านโบลิวาร์ เงินจำนวนนี้หากเป็นธนบัตรใบละ 1,000 โบลิวาร์ทั้งหมดจะหนักถึง 2.6 กิโลกรัม ส่วนเนื้อไก่ราคา 14.6 ล้านโบลิวาร์ ชาวบ้านต้องแบกธนบัตรใบละ 1,000 โบลิวาร์หนัก 14.6 กิโลกรัมไปซื้อ
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องเปลี่ยนสกุลเงินใหม่เป็น Sovereign Bolivar ด้วยการตัดเลขศูนย์ 5 ตัวออก เพื่อให้เงิน 100,000 โบลิวาร์ มีค่าเท่ากับ 1 Sovereign Bolivar และยังปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 3,000% เพื่อให้ประชาชนมีเงินมาใช้จ่าย
นับแต่นั้นมาเวเนซุเอลาก็เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเรื่อยมา
อย่างไรก็ดี ประชานิยมอาจไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่การนำมาใช้อย่างสุดโต่งอาจนำมาสู่ความเสียหายจนประเทศแทบล้มละลายเหมือนที่อาร์เจนตินาและเวเนซุเอลาเจอมาแล้ว