ในเวลานี้ดูเหมือนว่าสถานการณ์สู้รบในเมียนมาระหว่างฝ่ายกองทัพรัฐบาลทหารกับกลุ่มกบฏจะตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาสายตาของโลกยังคงมุ่งความสนใจไปที่ความขัดแย้งในทวีปอื่นๆ ซึ่งสร้างความตกตะลึงให้กับผู้คนจำนวนมากในเมียนมาที่สงสัยว่าเหตุใดความวุ่นวายและความตายของคนที่นี่จึงได้รับความสนใจจากทั่วโลกเพียงเล็กน้อย
บัดนี้ หลังจาก 3 ปีแห่งการต่อต้านอย่างสิ้นหวัง แนวรบก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เมื่อกลุ่มกบฏได้บุกฐานทัพทหารหลายแห่งและยึดครองเมืองหลายสิบแห่ง ในขณะนี้พวกเขายังอ้างอีกว่าได้ควบคุมดินแดนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเมียนมาแล้ว ตั้งแต่ป่าที่ราบลุ่มไปจนถึงเชิงเขาหิมาลัย
หากกลุ่มกบฏสามารถรุกเข้าสู่ใจกลางของประเทศได้ (ซึ่งไม่แน่ใจนัก) และโค่นล้มกองทัพที่ยึดพม่าไว้ได้นานกว่าครึ่งศตวรรษไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอำนาจมากเท่ากับการทำลายประเทศชาติ แต่ขอบเขตอันกว้างใหญ่ของมันหลุดออกจากการควบคุมจากศูนย์กลางอย่างถาวร
“เราต้องการอิสรภาพจากกองทัพเมียนมา ฉันยอมเสียสละตัวเองเพื่อสิ่งนั้น”
อองซานซูจี อดีตนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยบอก
กองกำลังป้องกันชาติกะเรนนี หรือ K.N.D.F. เป็นกองกำลังเยาวชนติดอาวุธในรัฐกะเรนนี รัฐที่เล็กที่สุดของเมียนมา และเป็นสถานที่เกิดการสู้รบดุเดือดที่สุด
“K.N.D.F. และกองกำลังติดอาวุธพันธมิตรจะสามารถควบคุมกะเรนนีทั้งหมดได้ในไม่ช้า ทำให้เป็นรัฐแรกในเมียนมาที่หลุดพ้นจากการควบคุมของรัฐบาลเผด็จการทหาร” นักวิเคราะห์ทางทหารกล่าว

ในการรุกทั่วประเทศต่อเนื่องกันตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว กลุ่มกบฏได้ขับไล่รัฐบาลเผด็จการจากพื้นที่กว้างใหญ่ทางภาคเหนือ ตะวันตก และตะวันออกของเมียนมา อีกทั้งในเดือนนี้ยังยึด ‘เมียวดี’ เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายแดนไทยได้อีกด้วย
เมื่อเผชิญกับการต่อต้านจากหลายด้าน รัฐบาลทหารก็ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่ากำลังดำเนินการเกณฑ์ทหารทั้งชายหนุ่มและหญิงสาวทุกคนในประเทศ หลังมีทหารหนีทัพแปรพักตร์จำนวนมากท่ามกลางการโจมตีของกลุ่มกบฏที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
แต่ถึงกระนั้นสงครามกลางเมืองของเมียนมาก็ยังห่างไกลจากความสนใจของนานาชาติที่ยังคงติดอยู่กับความขัดแย้งในยูเครนและฉนวนกาซา
ความไม่เท่าเทียมดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้กับประชาชนชาวเมียนมาจำนวน 55 ล้านคน ซึ่งในช่วงหลายเดือนหลังรัฐประหารได้เรียกร้องให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงเพื่อปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบาง ในประเทศ ทว่ากลับไม่มีประเทศใดที่ยอมรับรัฐบาลเงาที่สนับสนุนประชาธิปไตยของเมียนมา
แม้ว่าสถานการณ์ของพวกเขาจะไม่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก แต่กลุ่มแพทย์ ทนายความ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ครู นักบินกองทัพอากาศ และคนอื่นๆ ก็ได้หลบหนีไปยังพื้นที่ที่ถูกยึดครองโดยกลุ่มกบฏเพื่อให้ความเชี่ยวชาญแก่กลุ่มต่อต้านติดอาวุธ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวหลายพันคนที่อาศัยอยู่ในป่าของเมียนมา และอีกหลายพันคนอยู่ในแนวรบด้านหน้า
“การมองหาความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ และจากรัฐบาลระหว่างประเทศ ก็เหมือนกับการเดินในความมืด เราต้องลงมือเองเพื่อหนีจากนรกขุมนี้” ลินน์นีโจ นักศึกษาแพทย์บอกกับสำนักข่าว The New York Times

การรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้วเริ่มต้นด้วยการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตและการจับกุมคณะรัฐมนตรีพลเรือนของเมียนมา รวมทั้ง อองซาน ซูจี “ภายใน 20 วันหลังการรัฐประหาร มีผู้ประท้วงและนักโทษการเมืองมากกว่า 4,800 รายถูกสังหาร และประชาชนถูกจับกุมแล้ว 26,500 ราย” ตามการระบุของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (พม่า)
“เราสูญเสียทั้งชีวิต อนาคตทั้งหมดของเรา สิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมืองที่ถูกละเมิดทุกวัน” ลินน์นีโจบอก
K.N.D.F. เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มกบฏมีความกระตือรือร้นและกำลังใจจนสามารถขับไล่กองทัพขนาดใหญ่ เกินขอบเขตและขีดจำกัดของกองทหารอาสาสมัครได้อย่างไร
ปัจจุบันนี้ ประชากรมากกว่า 80% ของรัฐกะเรนนีต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ในขณะที่กองทัพเมียนมาถอยทัพ แต่ก็กระจายกองกำลังเหมือนเมล็ดข้าว
“เราพยายามประท้วงอย่างสันติ แต่ภาษาเดียวที่กองทัพเมียนมาเข้าใจคือ ‘กระสุน’…การต่อต้านด้วยอาวุธเป็นวิธีเดียวที่การปฏิวัติของเราจะประสบความสำเร็จ”
รองผู้บัญชาการ เมาอิ โพ ไทยเก สมาชิกชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์บามาร์กล่าว
อย่างไรก็ดี กองกำลังกะเรนนีกล่าวเมื่อปลายเดือนมีนาคมว่า พวกเขายึดครองพื้นที่ 90% ของรัฐ ขณะที่ทหารเมียนมาเรียกพลเรือนว่าเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’ และข่มขู่พวกเขาด้วยการโจมตีทางอากาศและปืนใหญ่ระยะไกล
Photo by Manan VATSYAYANA / AFP