นี่คือความล้มเหลวของธนาคารครั้งใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ หลังจากการล้มของ Washington Mutual เมื่อปี 2008
เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เกร็ก เบ็คเกอร์ ซีอีโอของธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ (SVB) พูดไว้ว่า “เราภูมิใจในการเป็นพันธมิตรทางการเงินที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุด”
1 สัปดาห์หลังจากนั้น SVB ก็ล้มครืนลงมาภายในเวลาราว 44 ชั่วโมงเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น
1.เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อวันพุธ เมื่อ SVB ประกาศว่าได้ขายพันธบัตรจำนวนมากไปในราคาขาดทุน และจะเปิดขายหุ้นใหม่มูลค่า 2,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเงินมาอุดรูรั่วที่ขาดทุนไป นั่นทำให้เกิดความวิตกขึ้นในหมู่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ที่แนะนำให้หลายบริษัทรีบถอนเงินของตัวเองออกจาก SVB รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่พากันถอนเงินออกหลังได้กลิ่นไม่ค่อยดี
2.ก่อนหน้านี้ SVB มีเงินฝากจากลูกค้าจำนวนมาก และมีการกู้เงินน้อย ธนาคารจึงต้องหาแหล่งพักเงินด้วยการนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนต่อยอด โดยเฉพาะการซื้อพันธบัตรระยะยาวในช่วงที่อันตราดอกเบี้ยยังต่ำแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของพันธบัตร ด้วยความคาดหวังว่าดอกเบี้ยจะไม่ขึ้นเกินกว่า 2%
3.หลังจากช่วงโควิด ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงหลายครั้งเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ และนี่คือฝันร้ายของ SVB เพราะเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวที่ทางธนาคารซื้อไว้ก็ยิ่งน้อยลง นอกจากนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นบรรดาบริษัทเทคก็รับผลกระทบไปด้วยคือ ทำให้หุ้นเทคมีมูลค่าลดลง และยังระดมเงินทุนยากขึ้น และนั่นทำให้บริษัทเทคหลายแห่งพากันถอนเงินที่ฝากไว้กับ SVB เพื่อนำมาขับเคลื่อนบริษัท
4.เมื่อลูกค้าพากันถอนเงิน SVB ที่ประสบปัญหาขาดทุนจากการนำเงินฝากไปลงทุนต่ออยู่ก่อนแล้ว ก็ยิ่งขาดสภาพคล่องทางการเงิน และยิ่งต้องเทขายพันธบัตรในราคาที่ขาดทุนมากขึ้น เพื่อให้มีเงินมาคืนลูกค้า และยิ่งสถานะทางการเงินของธนาคารสั่นคลอนลูกค้าก็ยิ่งแห่ถอนเงินมากขึ้น ธนาคารก็ต้องเร่งหาเงินมาคืนลูกค้าด้วยการขายพันธบัตร วนเป็นงูกินหางไปเรื่อยๆ ดังนั้นตัวเลขขาดทุนจึงเพิ่มขึ้นๆ
5.ตัวเลขขาดทุนของ SVB ตามการปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ตามราคาตลาดล่าสุดช่วงปลายปีที่แล้วอยู่ที่ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับพันธบัตรที่ถือครองจนครบกำหนด ทว่าหลังจาก SVB ประกาศผลประกอบการไตรมาส 4 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บรรดานักลงทุนก็ยังมีความหวัง โดยบทวิเคราะห์ของธนาคารแห่งอเมริการะบุว่า “ธนาคาราจผ่านพ้นจุดแรงกดดันสูงมาแล้ว”
6.แหล่งข่าวเผยกับ Bloomberg ว่า การประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Moody’s Investors Service เตือน SVB ว่า การขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของ SVB อาจทำให้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งอาจมากกว่า 1 ระดับ และในวันพุธ SVB ก็ถูก Moody’s ลดเครดิตจริงๆ
7.วันพฤหัสบดีหุ้นของ SVB ดิ่งลงถึง 60% จนในวันต่อมาต้องหยุดการซื้อขายหุ้น SVB ท่ามกลางข่าวลื่อว่าทางธนาคารไม่สามารถหาเงินมาโปะยอดขาดทุนและกำลังหาผู้ซื้อกิจการ ซ้ำยังฉุดให้หุ้นของสถาบันการเงินอื่นร่วงตามไปด้วย อาทิ เจพีมอร์แกนเชส, ธนาคารแห่งอเมริกา, เวลส์ฟาร์โก, ซิตีกรุ๊ป ที่ร่วงระหว่าง 4-7% หุ้นของธนาคารอื่นๆ ก็หยุดการซื้อขายในวันศุกร์ด้วย เช่น First Republic, PacWest Bancorp และ Signature Bank
8.ช่วงสายของวันดียวกัน หน่วยงานกำกับดูแลภาคการธนาคารของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เข้ามาจัดการทันทีด้วยการสั่งปิดธนาคารและเรียกให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากของรัฐบาลกลาง (FDIC) เข้ามาเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์
9.FDIC ระบุว่า SVB มีสินทรัพย์รวมราว 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินฝากรวม 175,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ปลายปีที่แล้วซึ่งมากเป็นอันดับ 16 ของสหรัฐฯ โดยปกติแล้ว FDIC จะคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ FDIC จะดำเนินการให้ลูกค้าที่มีเงินฝากที่ได้รับการรับประกันได้เงินคืนภายในไม่เกินวันจันทร์ ส่วนเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินทรัพย์ของธนาคารจะนำไปจ่ายคืนให้ลูกค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก
10.การล้มของ SVB ครั้งนี้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ หลังจากการล้มละลายของธนาคาร Washington Mutual เมื่อปี 2008 ทำให้ธุรกิจที่ไม่ได้กี่ยวข้องโดยตรงพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย อาทิ ลูกค้าของบริษัท Rippling ที่ดำเนินการระบบซอฟท์แวร์จ่ายเงินเดือนที่ใช้บริการของ SVB โดย Rippling เตือนว่า การจ่ายเงินเดือนรอบปัจจุบันอาจล่าช้า และว่าทางบริษัทเปลี่ยนไปใช้บริการธนาคารเจ้าอื่นแล้ว
11.SVB ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1983 ในแคลิฟอร์เนียให้บริการทางการเงินแก่บริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสุขภาพที่มีบริษัท Venture Capital หนุนหลังในสหรัฐฯ เกือบครึ่งหนึ่ง SVB เติบโตอย่างรวดเร็วตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกจ้างทั่วโลกกว่า 8,500 คน โดยส่วนใหญ่ให้บริการอยู่ในสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เกร็ก เบ็คเกอร์ ซีอีโอของธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ (SVB) พูดไว้ว่า “เราภูมิใจในการเป็นพันธมิตรทางการเงินที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุด”
1 สัปดาห์หลังจากนั้น SVB ก็ล้มครืนลงมาภายในเวลาราว 44 ชั่วโมงเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น
1.เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อวันพุธ เมื่อ SVB ประกาศว่าได้ขายพันธบัตรจำนวนมากไปในราคาขาดทุน และจะเปิดขายหุ้นใหม่มูลค่า 2,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเงินมาอุดรูรั่วที่ขาดทุนไป นั่นทำให้เกิดความวิตกขึ้นในหมู่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ที่แนะนำให้หลายบริษัทรีบถอนเงินของตัวเองออกจาก SVB รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่พากันถอนเงินออกหลังได้กลิ่นไม่ค่อยดี
2.ก่อนหน้านี้ SVB มีเงินฝากจากลูกค้าจำนวนมาก และมีการกู้เงินน้อย ธนาคารจึงต้องหาแหล่งพักเงินด้วยการนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนต่อยอด โดยเฉพาะการซื้อพันธบัตรระยะยาวในช่วงที่อันตราดอกเบี้ยยังต่ำแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของพันธบัตร ด้วยความคาดหวังว่าดอกเบี้ยจะไม่ขึ้นเกินกว่า 2%
3.หลังจากช่วงโควิด ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงหลายครั้งเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ และนี่คือฝันร้ายของ SVB เพราะเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวที่ทางธนาคารซื้อไว้ก็ยิ่งน้อยลง นอกจากนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นบรรดาบริษัทเทคก็รับผลกระทบไปด้วยคือ ทำให้หุ้นเทคมีมูลค่าลดลง และยังระดมเงินทุนยากขึ้น และนั่นทำให้บริษัทเทคหลายแห่งพากันถอนเงินที่ฝากไว้กับ SVB เพื่อนำมาขับเคลื่อนบริษัท
4.เมื่อลูกค้าพากันถอนเงิน SVB ที่ประสบปัญหาขาดทุนจากการนำเงินฝากไปลงทุนต่ออยู่ก่อนแล้ว ก็ยิ่งขาดสภาพคล่องทางการเงิน และยิ่งต้องเทขายพันธบัตรในราคาที่ขาดทุนมากขึ้น เพื่อให้มีเงินมาคืนลูกค้า และยิ่งสถานะทางการเงินของธนาคารสั่นคลอนลูกค้าก็ยิ่งแห่ถอนเงินมากขึ้น ธนาคารก็ต้องเร่งหาเงินมาคืนลูกค้าด้วยการขายพันธบัตร วนเป็นงูกินหางไปเรื่อยๆ ดังนั้นตัวเลขขาดทุนจึงเพิ่มขึ้นๆ
5.ตัวเลขขาดทุนของ SVB ตามการปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ตามราคาตลาดล่าสุดช่วงปลายปีที่แล้วอยู่ที่ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับพันธบัตรที่ถือครองจนครบกำหนด ทว่าหลังจาก SVB ประกาศผลประกอบการไตรมาส 4 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บรรดานักลงทุนก็ยังมีความหวัง โดยบทวิเคราะห์ของธนาคารแห่งอเมริการะบุว่า “ธนาคาราจผ่านพ้นจุดแรงกดดันสูงมาแล้ว”
6.แหล่งข่าวเผยกับ Bloomberg ว่า การประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Moody’s Investors Service เตือน SVB ว่า การขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของ SVB อาจทำให้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งอาจมากกว่า 1 ระดับ และในวันพุธ SVB ก็ถูก Moody’s ลดเครดิตจริงๆ
7.วันพฤหัสบดีหุ้นของ SVB ดิ่งลงถึง 60% จนในวันต่อมาต้องหยุดการซื้อขายหุ้น SVB ท่ามกลางข่าวลื่อว่าทางธนาคารไม่สามารถหาเงินมาโปะยอดขาดทุนและกำลังหาผู้ซื้อกิจการ ซ้ำยังฉุดให้หุ้นของสถาบันการเงินอื่นร่วงตามไปด้วย อาทิ เจพีมอร์แกนเชส, ธนาคารแห่งอเมริกา, เวลส์ฟาร์โก, ซิตีกรุ๊ป ที่ร่วงระหว่าง 4-7% หุ้นของธนาคารอื่นๆ ก็หยุดการซื้อขายในวันศุกร์ด้วย เช่น First Republic, PacWest Bancorp และ Signature Bank
8.ช่วงสายของวันดียวกัน หน่วยงานกำกับดูแลภาคการธนาคารของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เข้ามาจัดการทันทีด้วยการสั่งปิดธนาคารและเรียกให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากของรัฐบาลกลาง (FDIC) เข้ามาเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์
9.FDIC ระบุว่า SVB มีสินทรัพย์รวมราว 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินฝากรวม 175,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ปลายปีที่แล้วซึ่งมากเป็นอันดับ 16 ของสหรัฐฯ โดยปกติแล้ว FDIC จะคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ FDIC จะดำเนินการให้ลูกค้าที่มีเงินฝากที่ได้รับการรับประกันได้เงินคืนภายในไม่เกินวันจันทร์ ส่วนเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินทรัพย์ของธนาคารจะนำไปจ่ายคืนให้ลูกค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก
10.การล้มของ SVB ครั้งนี้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ หลังจากการล้มละลายของธนาคาร Washington Mutual เมื่อปี 2008 ทำให้ธุรกิจที่ไม่ได้กี่ยวข้องโดยตรงพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย อาทิ ลูกค้าของบริษัท Rippling ที่ดำเนินการระบบซอฟท์แวร์จ่ายเงินเดือนที่ใช้บริการของ SVB โดย Rippling เตือนว่า การจ่ายเงินเดือนรอบปัจจุบันอาจล่าช้า และว่าทางบริษัทเปลี่ยนไปใช้บริการธนาคารเจ้าอื่นแล้ว
11.SVB ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1983 ในแคลิฟอร์เนียให้บริการทางการเงินแก่บริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสุขภาพที่มีบริษัท Venture Capital หนุนหลังในสหรัฐฯ เกือบครึ่งหนึ่ง SVB เติบโตอย่างรวดเร็วตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกจ้างทั่วโลกกว่า 8,500 คน โดยส่วนใหญ่ให้บริการอยู่ในสหรัฐฯ