วิเคราะห์ศึกชิงเก้าอี้ ‘นายกฯ ไทย’ ที่ยังคุกรุ่น! หลัง ‘พิธา’ หมดสิทธิเสนอชื่อ

20 ก.ค. 2566 - 08:32

  • ประเทศไทยกำลังเผชิญกับกลียุคทางการเมืองมากขึ้น หลังจากที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกรัฐสภาห้ามไม่ให้เสนอชื่อเป็น ‘นายกรัฐมนตรี’ รอบที่ 2 เมื่อวันพุธ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา ทำให้ผู้สนับสนุนโกรธเคืองและเปิดโอกาสให้พรรคอันดับสองจัดตั้งรัฐบาล

Tha-braces-protests-tussle-pm-job-pita-blocked-SPACEBAR-Thumbnail
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับกลียุคทางการเมืองมากขึ้น หลังจากที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกรัฐสภาห้ามไม่ให้เสนอชื่อเป็น ‘นายกรัฐมนตรี’ รอบที่ 2 เมื่อวันพุธ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา ทำให้ผู้สนับสนุนโกรธเคืองและเปิดโอกาสให้พรรคอันดับสองจัดตั้งรัฐบาล  

รัฐสภาของไทยจะประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม เพื่อลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศอีกครั้ง พิธาหัวหน้าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม ถูกขัดขวางจากการเป็นหัวหน้ารัฐบาลชุดต่อไป โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติตัดสินว่าเขาไม่สามารถถูกเสนอชื่อได้อีก ก่อนหน้านี้เขาก็ไม่สามารถจัดตั้งรับบาลได้สำเร็จ เนื่องจากพรรคอนุรักษนิยมและวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพลงมติต่อต้านเขา 

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้พิธามีโอกาสเกือบเป็นศูนย์ในการเป็นผู้นำประเทศ แม้ว่าแนวร่วม 8 พรรคที่สนับสนุนประชาธิปไตยที่รวมตัวกันหลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ยังคงมีโอกาสในการยุติการปกครองที่มีทหารหนุนหลังมายาวนานเกือบทศวรรษ  

ก่อนหน้านี้พิธาได้กล่าวไปแล้วว่า เขายินดีให้พรรคเพื่อไทยเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลหากเขาล้มเหลวในการโหวตนายกฯ  

พรรคเพื่อไทย พรรคใหญ่อันดับ 2 ของพรรคร่วมรัฐบาล ดูจะมีโอกาสกุมบังเหียนและนำความพยายามจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป โดยมีเศรษฐา ทวีสิน อดีตเจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์ เป็นตัวเต็งในการชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรค อีกทางเลือกหนึ่งอาจเป็น แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวคนสุดท้องของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร 

หุ้นท้องถิ่นครองแชมป์ต่อเนื่องยาวนานที่สุดตั้งแต่ต้นปี โดยดัชนี SET ปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน ด้วยความหวังว่าผู้สมัครพรรคเพื่อไทยจะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/65YgBMBbK6T7ExYPSN0EsS/403cf5eb553720bf3d48d18a7479e25b/Tha-braces-protests-tussle-pm-job-pita-blocked-SPACEBAR-Photo01
Photo: Jack TAYLOR / AFP
ไม่นานก่อนที่รัฐสภาจะขัดขวางการเสนอชื่อพิธา ศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งพักงานพิธาในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ โดยรอการตัดสินขั้นสุดท้ายว่าเขาขาดคุณสมบัติหรือไม่ เนื่องจากพิธาถูกกล่าวหาว่า ละเมิดกฎการเลือกตั้ง กระตุ้นให้ผู้สนับสนุนของเขาต่างพากันออกมาต่อสู้เคียงข้างเขา มีผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ด้านนอกประตูรัฐสภาโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสวมเสื้อกันกระสุนเรียงรายอยู่อีกด้าน 

ผู้สนับสนุนเริ่มรวมตัวกันที่ถนนราชดำเนินหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในคืนวันเดียวกัน อานนท์ นำภา ผู้นำการประท้วงเรียกร้องให้ผู้ที่มีแนวคิดเดียวกันที่อาศัยอยู่นอกกรุงเทพฯ เข้าร่วม โดยมีแผนรวมตัวกันเดินขบวน 100,000 คนไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อประณามการขับไล่พิธาจากการสภา 

การเคลื่อนไหวดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดกับครั้งก่อนๆ ต่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกศาลเดียวกันตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาถือหุ้นสื่อและขาดคุณสมบัติในการเป็นส.ส. และยุบพรรคการเมือง (อนาคตใหม่) ซึ่งจุดชนวนการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2020 นำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน 

สิ่งที่แน่นอนคือช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรักษาการซึ่งเข้ามามีอำนาจในปี 2014  

ความเสี่ยงที่สำคัญคือความล่าช้าในการรับรองงบประมาณประจำปีของประเทศสำหรับปีที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจที่สั่นคลอนจากการส่งออกที่ชะลอตัว การประท้วงยังเป็นความเสี่ยงต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตเดียวที่ดำเนินไปอย่างเต็มกำลัง 

“เราไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่การเลือกนายกรัฐมนตรีจะขยายไปถึงเดือนสิงหาคม” ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำกัด (มหาชน) กล่าวพร้อมเสริมว่า เราคาดว่าเสียงวิจารณ์ทางการเมืองจะเพิ่มขึ้นอีกแม้หลังจากการเลือกนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม เนื่องจากยังคงต้องรอดูว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะแสดงท่าทีอย่างไรต่อนายกรัฐมนตรีที่ได้มา 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/49gbi2AwPnwHEgTzp4vGBG/3ad97212e92fb2a86aee432d6fe95913/Tha-braces-protests-tussle-pm-job-pita-blocked-SPACEBAR-Photo02
Photo: Jack TAYLOR / AFP
แม้ว่าก่อนหน้านี้นักลงทุนจะเดิมพันว่า การหยุดชะงักทางการเมืองในประเทศไทยอาจสิ้นสุดลงในเร็วๆ นี้ แต่ความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งนานกว่า 2 เดือน ตลอดจนการอนุมัติงบประมาณกำลังทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทต่างๆ สูงขึ้น 

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg ระบุว่า ผลตอบแทนของธนบัตรสกุลเงินท้องถิ่นอายุ 5 ปี BBB (เครดิตองค์กร หรือตราสารหนี้) ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 10 จุดพื้นฐานในเดือนกรกฎาคม ขณะที่ธนบัตรที่คล้ายกันในอินโดนีเซียและมาเลเซียลดลงประมาณ 5 และ 7 จุดพื้นฐานตามลำดับ  

นอกจากนี้ ผลโหวตเมื่อวันพุธยังระบุว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งอาจมีโอกาสเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงครั้งเดียว พรรคเพื่อไทยอาจเสี่ยงหากยังยึดแนวทางเดียวกับก้าวไกลต่อไป เนื่องจากนโยบายปฏิรูปสถาบัน ที่ถูกต่อต้านโดยฝ่ายอนุรักษนิยม การที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแยกคดีเพื่อขอให้ยุบวงพรรคก้าวไกล กลับทำให้คดีนี้แข็งแกร่งขึ้นสำหรับพรรคเพื่อไทยในการสำรวจทางเลือกอื่นๆ 

“นี่เป็นข้อแก้ตัวที่ดีและชอบธรรมสำหรับการจัดตั้งพันธมิตรใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรวบรวมคะแนนเสียงให้เพียงพอสำหรับการอนุมัตินายกรัฐมนตรี” นพร จาตุศรีพิทักษ์ นักวิจัยจากสถาบัน ISEAS-Yusof Ishak กล่าว 

พรรคเพื่อไทยอาจถูกล่อลวงให้เข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษนิยม เช่น พรรคภูมิใจไทยของอนุทิน ชาญวีรกูล หรือพรรคพลังประชารัฐของอดีตผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ 

สำหรับตอนนี้ ชลน่าน ศรีแก้ว แกนนำพรรคเพื่อไทยยืนยันว่า ความสัมพันธ์กับก้าวไกลนั้นไม่มีอะไรเสียหาย พรรคของเขากำลังรอให้พิธาจัดการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนของกลุ่มพันธมิตรในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์