สื่อนอกวิเคราะห์ ‘เหลี่ยมทหาร’ ชี้ทิศทาง ‘การเมืองไทย’ หลังเลือกตั้ง

28 มิ.ย. 2566 - 09:41

  • เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือนหลังจากที่พรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศไทย

  • ก้าวไกลมีอุปสรรคทางกฎหมาย รัฐบาลทหารกำลังขัดขวางหนทางสู่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา

  • พอล แชมเบอร์ นักวิชาการได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกลอุบายทหารไทย ที่จะมีผลต่อทิศทางการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง

tha-military-machinations-define-post-election-political-manoeuvring-SPACEBAR-Hero
เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือนหลังจากที่พรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศไทย โดยมีอุปสรรคทางกฎหมาย และรัฐบาลทหารกำลังขัดขวางหนทางสู่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา 
  
ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังตรวจสอบพิธา เกี่ยวกับกรณีของการถือหุ้นสื่อว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีความผิดพิธาจะถูกถอดออกจากตำแหน่ง ขณะที่พรรคก้าวไกลอาจถูกยุบ และส.ส.ที่ชนะการเลือกตั้งอาจถูกตัดสิทธิ์  
 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา กกต.ได้ทำการรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 500 คนแล้ว แม้ว่าจะมีการสอบสวนภายหลังก็ตาม  

‘พอล แชมเบอร์’ อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวรของไทยวิเคราะห์สถานการณ์ไว้ดังนี้: 

พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยยังคงขัดแย้งกัน  

พรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรคที่นำโดยพรรคก้าวไกล โดยมีสมาชิก 312 คน (ซึ่งรวมพรรคเพื่อไทยด้วย) อีกทั้งยังคงต้องการเสียงจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 64 คนจากทั้งหมด 250 คนที่รัฐบาลทหารแต่งตั้งขึ้นเพื่อให้ได้ที่นั่ง 376 ที่นั่งตามรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งรัฐบาล 
  
แม้กระทั่งก่อนการอนุมัติของรัฐสภา พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยก็ยังทะเลาะตบตีกันอยู่ ซึ่งคนเหล่านี้จะเข้ามาเติมเต็มตำแหน่งประธานสภาล่าง เนื่องจากมีเพียงประธานสภาเท่านั้นที่สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ จึงทำให้เกิดการไม่เห็นด้วยของพรรคเหล่านี้ เนื่องจากอาจทำให้ใครก็ตาม (ที่พวกเขาเลือก) ไม่ได้รับเลือก 
 
อันที่จริงพรรคเพื่อไทยมีความชัดเจนว่าต้องการจะทิ้งก้าวไกล เพื่อที่ตนเองจะได้เป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล การโต้เถียงกันเรื่องประธานสภาจึงเป็นประเด็นที่ดีที่สุดที่จะนำไปสู้เส้นทางนั้น แม้ว่าจะมีวิธีการอื่น เช่น ส.ว. หรือกกต. ที่ไม่เห็นด้วยต่อพิธาก็ตาม  
 
มีข่าวลือแพร่สะพัดเกี่ยวกับการเจรจาลับเพื่อจัดตั้งรัฐบาลทางเลือกระหว่างพรรคเพื่อไทย (141 ที่นั่ง) ภูมิใจไทย (71 ที่นั่ง) และประชาธิปัตย์ (25 ที่นั่ง) ด้านพรรคเพื่อไทยปฏิเสธที่จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรครวมไทยสร้างชาติ 36 ที่นั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือพรรคพลังประชารัฐ 40 ที่นั่งของประวิตร วงษ์สุวรรณ เนื่องจากมีบทบาทในการรัฐประหารปี 2014  
  
แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ อาจเพิกเฉยต่อการต่อต้านทักษิณอย่างรุนแรง แต่ท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยอาจยอมรับความช่วยเหลือจากประวิตรเพื่อให้ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ จากภูมิใจไทย ‘มีโอกาส’ เป็นนายกรัฐมนตรี  

ขึ้นอยู่กับความสำเร็จที่กองกำลังของกลุ่มคนที่นิยมกษัตริย์ใช้อิทธิพลครอบงำวุฒิสภา พรรคนี้ (ภูมิใจไทย) อาจลงคะแนนเสียงถอดถอนนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งของพรรคเพื่อไทยก็ได้ หากเป็นเช่นนั้น ภูมิใจไทย และอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค จะสามารถแสวงหาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ 
  
อนุทินจะได้รับการสนับสนุนจาก 5 พรรคที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ โดยมี 182 ที่นั่ง และด้วยการสนับสนุนระบอบกษัตริย์นี้จะทำให้วุฒิสภาพอใจ 
 
แต่นอกจากพรรคเพื่อไทย นายกฯ ที่มีเสียงข้างน้อยในสภาล่างอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ง่ายๆ เว้นแต่กกต. จะตัดสิทธิ์ ส.ส. ก้าวไกลทั้ง 151 คน 
  
อนุทินสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้จนกว่าวุฒิสภาจะสูญเสียอำนาจในการลงคะแนนร่วมกับสภาล่างในการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมีกำหนดสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2024 แต่รัฐบาลของเขาจะอ่อนแอและมีอายุสั้น 
 
อีกทางหนึ่ง หากรัฐบาลเห็นชอบให้อนุทินเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย เหล่าพรรคเล็ก และพรรคประชาธิปัตย์ หรือพลังประชารัฐของประวิตร วุฒิสภาก็น่าจะรับรองอนุทินและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ยาวนาน  
 
หากอนุทินเป็นนายกฯไม่ได้ ฝ่ายประวิตร และประยุทธ์ ก็จะได้เสนอชื่อนายกฯ ตามลำดับ 
 
แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น ที่สถาบันกษัตริย์และกองทัพจะอนุญาตให้้พิธา หรือเศรษฐา ทวีสิน จากเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์เช่นนี้น่าจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองฝ่ายขวาดำเนินการเพื่อโค่นล้มรัฐบาลผสม 
 
สิ่งนี้อาจทำให้ประเทศไทยกลับไปสู่ปีแห่งความวุ่นวายทางการเมืองระหว่างปี 2011 - 2014 ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าการรัฐประหารครั้งล่าสุด

ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามปรับโผทหาร  

ท่ามกลางความปั่นป่วนทางการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี เมื่ออยู่ในตำแหน่ง เขาสามารถมีอิทธิพลต่อกองกำลังที่อาจก่อการรัฐประหารในอนาคตได้โดยการลงนามในรายชื่อปรับโผทหารที่นายกรัฐมนตรีต้องถวายให้กษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยในแต่ละปี 
  
การเปลี่ยนผ่านนี้จะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และประยุทธ์สามารถส่งรายชื่อไปยังสำนักพระราชวังได้ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมก่อนที่จะลงจากตำแหน่ง 
 
ปี 2023 มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นครั้งแรกในรอบอย่างน้อย 2 ทศวรรษที่ผู้บัญชาการด้านความมั่นคงทั้งหมด (รวมถึงกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และตำรวจ) จะปรับเปลี่ยนพร้อมกัน กองทัพเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุด ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ มีงบประมาณน้อยกว่ามาก 
  
พล.อ.ประยุทธ์ต้องมีหลักประกันว่าจะต้องเป็นทหารที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักเรียนเตรียมนายร้อยรุ่น 23 และ 26 ที่ทรงอิทธิพล จะรับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพที่สำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะรองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์, พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.พนา แกล้วพลอยสุข รองผู้บัญชาการทหารบก ขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองทัพไทยและรอง ผบ.เหล่าทัพตามลำดับ 
  
ขณะที่ พล.อ.สุขสันต์ หนองบัวหลวง ลูกน้องของ พล.อ.ประวิตร หนองบัวหลวง มีโอกาสเอาชนะ พล.อ.เจริญชัย เป็น ผบ.ทบ. ซึ่ง พล.อ.พนา จะเข้ามารับตำแหน่งแทน หากพิธา หรือเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรี พวกเขาน่าจะเลือกพล.อ.อุกฤษ บุญตานนท์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก 
 
แต่คณะกรรมการคัดเลือกทหารที่ถูกควบคุมโดยกษัตริย์ จะแต่งตั้งตำแหน่งทหารเหล่านี้ให้สูงกว่าระดับนายพล และเป็นที่น่าสงสัยว่าพล.อ.อุกฤษจะได้รับตำแหน่งดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นแม้ว่าพิธาหรือเศรษฐาจะพยายามยกเลิกการเปลี่ยนผ่านระบอบของพล.อ.ประยุทธ์ แต่พล.อ.เจริญชัยในฐานะรองผบ.ทบ.ก็จะกลายเป็นรักษาการแทน และมีเพียงเขาหรือพล.อ.สุขสันต์เท่านั้นที่จะผ่านคณะกรรมการได้ 
  
ความเป็นผู้นำของกองทัพที่มีอำนาจเหนือกองทัพของไทยจะไม่เชื่อฟังผู้นำพลเรือนของก้าวไกล และตั้งท่าจะต่อต้านมาตรการปฏิรูปใดๆ ของก้าวไกลหรือเพื่อไทยด้วย 
 
ผู้ชนะการเลือกตั้งไทยในปี 2023 ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ก้าวไกลและเพื่อไทยเผชิญคดีต่อกกต. และต้องผ่านวุฒิสภาที่รัฐบาลทหารแต่งตั้ง ขณะที่แนวร่วมทางเลือกที่มีแต่พรรคอนุรักษนิยม หรือแม้กระทั่งพรรคเพื่อไทยที่มีแนวร่วมเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมก็จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยง่าย โดยเฉพาะถ้ากกต.ตัดสิทธิ์ ส.ส.ของก้าวไกล 
  
หากนายกรัฐมนตรีก้าวไกลเข้ารับตำแหน่ง ประเทศไทยน่าจะเผชิญความโกลาหลครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีรักษาการประยุทธ์จะใช้การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้นำทางทหารจะยังคงเป็นอิสระอย่างมั่นคง มีอิสระจากการควบคุมของรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการเลือกตั้ง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์