หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. และที่ประชุมสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อพิธาให้สมาชิกรัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในรอบที่ 2 สื่อต่างประเทศต่างรายงานสรุปสถานการณ์พร้อมบทวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวครั้งนี้อย่างละเอียด
สำนักข่าว AP รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทยมองว่า ความพ่ายแพ้ของพิธาถูกกำหนดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ร่างโดยรัฐบาลทหาร และถูกออกแบบมาเพื่อบ่อนทำลายความท้าทายต่อกลุ่มที่นิยมและสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น ให้อำนาจ สว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งรับรองตัวนายกรัฐมนตรี โดยเป้าหมายหลักของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ เครื่องมือทางการเมืองของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารเมื่อปี 2549 และยังถูกนำไปใช้กับทุกสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อกลุ่มอนุรักษนิยม
เจค็อบ ริกส์ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จาก Singapore Management University เผยกับ AP ว่า “รัฐธรรมนูญ 2560 ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายอนุรักษนิยมในการเมืองไทย และสิ่งที่เราได้เห็นคือ การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ชะตากรรมของพิธาหรือแม้แต่กลุ่มเคลื่อนไหวหัวก้าวหน้า ถูกปิดผนึกมานานแล้วก่อนที่จะเกิดการเลือกตั้งครั้งนี้”
เพตรา อัลเดอร์แมน นักวิจัยจาก University of Birmingham ในอังกฤษและผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการมืองเผด็จการทหาร เผยกับ AP ว่า “ประเด็นหลักคือ ฝ่ายอนุรักษนิยมของไทยไม่สามารถเอาชนะเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการเลือกตั้ง รัฐบาลทหารที่ก้าวสู่อำนาจหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 สร้างระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแรง ที่ถูกออกแบบให้ป้องกันพรรคที่ ‘ไม่ใช่’ ในสายตาของฝ่ายอนุรักษนิยม ขึ้นมามีอำนาจ”
อัลเดอร์แมนบอกอีกว่า “เพื่อให้ครอบคลุมทั้งหมด คุณได้ให้อำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและไม่น่าเชื่อถืออย่างมาก อาทิ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พวกเขาตัดสิทธิ์หรือห้ามนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและยุบพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น”
สำนักข่าว Reuters พาดหัวข่าวว่า “Turmoil in Thailand as rivals derail election winner's PM bid” (เกิดความวุ่นวายในประเทศไทยหลังฝ่ายคู่แข่งสกัดการเสนอชื่อนายกฯ ของพรรคที่ชนะเลือกตั้ง) โดยระบุว่า พิธาต้องเผชิญอุปสรรคครั้งใหม่ในการก้าวขึ้นเป็นนายกฯ หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. และฝ่ายคู่แข่งขวางไม่ให้เสนอชื่อพิธาชิงเก้าอี้นายกฯ ได้สำเร็จ ทั้งยังต้องเอาชนะแรงต้านอุเดือดจากกองทัพที่เป็นฝ่ายหนุนสถาบันกษัตริย์ที่มีจุดยืนขัดแย้งกับแนวทางการปฏิรูปสถาบันของพรรคก้าวไกล
Reuters รายงานว่า ความเคลื่อนไหวเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) นับเป็นความพลิกผันครั้งล่าสุดในรอบ 2 ทศวรรษในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายที่ได้รับการเลือกตั้งและฝ่ายกองทัพฝั่งอนุรักษนิยมของไทย ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งการตัดสิทธิ์ทางการเมือง การแทรกแซงของศาล การรัฐประหารถึง 2 ครั้งและการลงถนนประท้วงครั้งใหญ่
วิลาสิณี สาแก้ว ผู้ประท้วง เผยกับ Reuters ว่า “รู้สึกโกรธ พวกเขาไม่เคารพเจตจำนงของประชาชน พวกเขาไม่ฟังเสียงประชาชน 14 ล้านคน”
สำนักข่าว BBC รายงานว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมพยายามหาทางสกัดไม่ให้พิธาเป็นนายกฯ หลังผลการเลือกตั้งออกมาตั้งแต่เดือน พ.ค. ซึ่งนอกจากสิ่งที่กำลังเกิดกับพิธาก็เคยมีตัวอย่างคล้ายกันนี้ให้เห็นมาแล้ว อย่างในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรค และนับตั้งแต่ปี 2561 ศาลรัฐธรรมนูญก็สั่งตัดสิทธิ์นายกรัฐมนตรี 3 คนที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารเมื่อปี 2549
แต่มันกลับย้อนแย้งที่พรรคเพื่อไทยของทักษิณที่เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินมาแล้ว บัดนี้กำลังจะได้ประโยชน์จากคำวินิจฉัยล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อพันธมิตรร่วมรัฐบาล (พรรคก้าวไกล)
อาร์ต จาตุรงค์กุล ชาวกรุงเทพฯ วัย 39 ปี เผยกับ BBC ว่า เขากับเพื่อนๆ รู้สึกกังวล เพราะมองว่าพิธาคือตัวแทนที่เป็นปากเป็นเสียงของพวกเขาในรัฐสภา “ผมเต็มไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งโกรธ หงุดหงิด และผิดหวัง มันรู้สึกเหมือนเป็นความพ่ายแพ้ของกระบวนการประชาธิปไตย”
สำนักข่าว CNN รายงานข่าวที่รัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ ว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญและมติของสภาจะเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟของฐานเสียงของพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งอาจเกิดการลงถนนประท้วงครั้งใหญ่ และว่า ที่ผ่านมาฝ่ายอนุรักษนิยมที่ทรงอำนาจของไทย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างกองทัพ สถาบันกษัตริย์ แบะอีลีทที่มีอิทธิพล เคยสกัดกั้นการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว
CNN ระบุว่า ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญของไทยมักจะตัดสินเข้าข้างฝ่ายอนุรักษนิยมโดยการยุบพรรคการเมืองหลายพรรคที่ท้าทายต่ออีลีททางการเมือง ขณะที่กองทัพก็มีประวัติโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยหลายครั้งและเข้ามายึดอำนาจในช่วงที่ไทยไร้เสถียรภาพ โดยนับตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยเกิดการรัฐประหารที่สำเร็จหลายสิบครั้ง รวมทั้ง 2 ครั้งในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา
สำนักข่าว AP รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทยมองว่า ความพ่ายแพ้ของพิธาถูกกำหนดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ร่างโดยรัฐบาลทหาร และถูกออกแบบมาเพื่อบ่อนทำลายความท้าทายต่อกลุ่มที่นิยมและสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น ให้อำนาจ สว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งรับรองตัวนายกรัฐมนตรี โดยเป้าหมายหลักของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ เครื่องมือทางการเมืองของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารเมื่อปี 2549 และยังถูกนำไปใช้กับทุกสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อกลุ่มอนุรักษนิยม
เจค็อบ ริกส์ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จาก Singapore Management University เผยกับ AP ว่า “รัฐธรรมนูญ 2560 ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายอนุรักษนิยมในการเมืองไทย และสิ่งที่เราได้เห็นคือ การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ชะตากรรมของพิธาหรือแม้แต่กลุ่มเคลื่อนไหวหัวก้าวหน้า ถูกปิดผนึกมานานแล้วก่อนที่จะเกิดการเลือกตั้งครั้งนี้”
เพตรา อัลเดอร์แมน นักวิจัยจาก University of Birmingham ในอังกฤษและผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับการมืองเผด็จการทหาร เผยกับ AP ว่า “ประเด็นหลักคือ ฝ่ายอนุรักษนิยมของไทยไม่สามารถเอาชนะเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการเลือกตั้ง รัฐบาลทหารที่ก้าวสู่อำนาจหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 สร้างระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแรง ที่ถูกออกแบบให้ป้องกันพรรคที่ ‘ไม่ใช่’ ในสายตาของฝ่ายอนุรักษนิยม ขึ้นมามีอำนาจ”
อัลเดอร์แมนบอกอีกว่า “เพื่อให้ครอบคลุมทั้งหมด คุณได้ให้อำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและไม่น่าเชื่อถืออย่างมาก อาทิ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พวกเขาตัดสิทธิ์หรือห้ามนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและยุบพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น”
สำนักข่าว Reuters พาดหัวข่าวว่า “Turmoil in Thailand as rivals derail election winner's PM bid” (เกิดความวุ่นวายในประเทศไทยหลังฝ่ายคู่แข่งสกัดการเสนอชื่อนายกฯ ของพรรคที่ชนะเลือกตั้ง) โดยระบุว่า พิธาต้องเผชิญอุปสรรคครั้งใหม่ในการก้าวขึ้นเป็นนายกฯ หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. และฝ่ายคู่แข่งขวางไม่ให้เสนอชื่อพิธาชิงเก้าอี้นายกฯ ได้สำเร็จ ทั้งยังต้องเอาชนะแรงต้านอุเดือดจากกองทัพที่เป็นฝ่ายหนุนสถาบันกษัตริย์ที่มีจุดยืนขัดแย้งกับแนวทางการปฏิรูปสถาบันของพรรคก้าวไกล
Reuters รายงานว่า ความเคลื่อนไหวเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) นับเป็นความพลิกผันครั้งล่าสุดในรอบ 2 ทศวรรษในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายที่ได้รับการเลือกตั้งและฝ่ายกองทัพฝั่งอนุรักษนิยมของไทย ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งการตัดสิทธิ์ทางการเมือง การแทรกแซงของศาล การรัฐประหารถึง 2 ครั้งและการลงถนนประท้วงครั้งใหญ่
วิลาสิณี สาแก้ว ผู้ประท้วง เผยกับ Reuters ว่า “รู้สึกโกรธ พวกเขาไม่เคารพเจตจำนงของประชาชน พวกเขาไม่ฟังเสียงประชาชน 14 ล้านคน”
สำนักข่าว BBC รายงานว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมพยายามหาทางสกัดไม่ให้พิธาเป็นนายกฯ หลังผลการเลือกตั้งออกมาตั้งแต่เดือน พ.ค. ซึ่งนอกจากสิ่งที่กำลังเกิดกับพิธาก็เคยมีตัวอย่างคล้ายกันนี้ให้เห็นมาแล้ว อย่างในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรค และนับตั้งแต่ปี 2561 ศาลรัฐธรรมนูญก็สั่งตัดสิทธิ์นายกรัฐมนตรี 3 คนที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารเมื่อปี 2549
แต่มันกลับย้อนแย้งที่พรรคเพื่อไทยของทักษิณที่เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินมาแล้ว บัดนี้กำลังจะได้ประโยชน์จากคำวินิจฉัยล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อพันธมิตรร่วมรัฐบาล (พรรคก้าวไกล)
อาร์ต จาตุรงค์กุล ชาวกรุงเทพฯ วัย 39 ปี เผยกับ BBC ว่า เขากับเพื่อนๆ รู้สึกกังวล เพราะมองว่าพิธาคือตัวแทนที่เป็นปากเป็นเสียงของพวกเขาในรัฐสภา “ผมเต็มไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งโกรธ หงุดหงิด และผิดหวัง มันรู้สึกเหมือนเป็นความพ่ายแพ้ของกระบวนการประชาธิปไตย”
สำนักข่าว CNN รายงานข่าวที่รัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ ว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญและมติของสภาจะเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟของฐานเสียงของพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งอาจเกิดการลงถนนประท้วงครั้งใหญ่ และว่า ที่ผ่านมาฝ่ายอนุรักษนิยมที่ทรงอำนาจของไทย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างกองทัพ สถาบันกษัตริย์ แบะอีลีทที่มีอิทธิพล เคยสกัดกั้นการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว
CNN ระบุว่า ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญของไทยมักจะตัดสินเข้าข้างฝ่ายอนุรักษนิยมโดยการยุบพรรคการเมืองหลายพรรคที่ท้าทายต่ออีลีททางการเมือง ขณะที่กองทัพก็มีประวัติโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยหลายครั้งและเข้ามายึดอำนาจในช่วงที่ไทยไร้เสถียรภาพ โดยนับตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยเกิดการรัฐประหารที่สำเร็จหลายสิบครั้ง รวมทั้ง 2 ครั้งในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา