สำนักข่าว AFP รายงานว่า การจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกล (MFP) ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้า MFP จะต้องเผชิญหน้ากับสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร ที่มีข้อพิพาทเรื่องความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขกฎหมายหมิ่นประมาทราชวงศ์ (ม.112) ที่แสนเข้มงวดของไทย
เมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) พิธาถูกโจมตีด้วยคำขู่ว่าจะถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำตัดสินคดีที่ว่าพิธาและพรรคก้าวไกล พยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์
แม้พรรคก้าวไกลจะชนะการเลือกตั้ง แต่โอกาสของพรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาลนั้นริบหรี่ขึ้นเรื่อยๆ ถึงอย่างนั้นคนไทยก็ปฏิเสธรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ายึดอำนาจโดยการรัฐประหารตั้งแต่ปี 2014
AFP ระบุว่า พิธาเผชิญการต่อต้านจาก ส.ว. 250 คน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมาย ม.112 อีกทั้งยังมีแผนงานที่อาจสั่นคลอนการผูกขาดของธุรกิจต่างๆ ที่ทรงพลังในไทยด้วยเช่นกัน แม้อุปสรรคจะเกิดขึ้นมากมายวานนี้ แต่พิธาก็ยังบอกกับนักข่าวว่าเขา ‘มีกำลังใจที่ดี’ และบอกสำหรับการลงคะแนนเสียงในวันนี้ว่า ‘กระบวนการในวันนี้จะยังคงดำเนินต่อไปตามแผนที่วางไว้’
8 พรรคร่วมของพิธา ซึ่งรวมเสียงได้ราว 312 ที่นั่ง แต่ก็ยังไม่ถึง 376 ที่นั่งที่ต้องการในสภา ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศลาออกจากการเมือง แต่ก็ยังคงดำรงตำแหน่งรักษาหารไปจนกว่าจะมีนายกฯ คนใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
พิธากล่าวว่า เขาได้รับมรดกหุ้นในสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (iTV) ซึ่งไม่ได้มีการออกอากาศมาตั้งแต่ปี 2007 จากพ่อของเขา และปฏิเสธการกระทำผิดใดๆ
ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า การประกาศดังกล่าวสามารถ ‘โน้มน้าว’ ให้ ส.ว.ลงคะแนนเสียงเพื่อคัดค้านเขา
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับ AFP ว่า เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าทำไมคณะกรรมาธิการถึง ‘รีบร้อน’ เสนอในเรื่องดังกล่าว
“ผมคิดได้เพียงเหตุผลเดียวเท่านั้น การกระทำนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งแรงกระเพื่อมต่อการลงคะแนนเสียงในวันพรุ่งนี้” เขากล่าวเมื่อวันพุธ (12 ก.ค.)
หากพิธาแพ้การลงคะแนนเสียงในครั้งแรก ประธานสภาจะตั้งโต๊ะประชุมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรี สิ่งนี้สร้างความตื่นตระหนกให้กับสัปดาห์แห่งภาวะชะงักงันและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
ในปี 2020 ประชาชนหลายหมื่นคนเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นราชวงศ์ (ม.112) อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนก่อนหน้านี้ พรรคก้าวไกลเป็นพรรคเดียวที่หาเสียงและสัญญาว่าจะแก้ไขปัญหานี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือศาลรัฐธรรมนูญยอมรับคดีกล่าวหาว่า การหาเสียงของพรรคเป็นความพยายามที่จะล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญและให้เวลา 2 สัปดาห์ในการชี้แจง
ความไม่แน่นอนนี้อาจนำมาซึ่งความแตกแยกกันเองภายในพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจากมีการแนะนำแคนดิเดตนายกฯ รายอื่น อย่าง แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของอดีตผู้นำทักษิณ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เศรษฐา ทวีสิน ผู้นำด้านธุรกิจจากพรรคเพื่อไทย ที่ตอนนี้ก็ยังถูกมองว่าเป็นแคนดิเดตที่มีศักยภาพ
นภิสา ไวฑูรเกียรติ นักวิเคราะห์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวกับ AFP ว่า ดูเหมือนว่ามีแนวโน้มน้อยลงเรื่อยๆ ที่พิธาจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่เธอก็กล่าวด้วยว่า “อะไรๆ ก็เป็นไปได้ในประเทศไทย”
เมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) พิธาถูกโจมตีด้วยคำขู่ว่าจะถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำตัดสินคดีที่ว่าพิธาและพรรคก้าวไกล พยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์
แม้พรรคก้าวไกลจะชนะการเลือกตั้ง แต่โอกาสของพรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาลนั้นริบหรี่ขึ้นเรื่อยๆ ถึงอย่างนั้นคนไทยก็ปฏิเสธรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ายึดอำนาจโดยการรัฐประหารตั้งแต่ปี 2014
AFP ระบุว่า พิธาเผชิญการต่อต้านจาก ส.ว. 250 คน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมาย ม.112 อีกทั้งยังมีแผนงานที่อาจสั่นคลอนการผูกขาดของธุรกิจต่างๆ ที่ทรงพลังในไทยด้วยเช่นกัน แม้อุปสรรคจะเกิดขึ้นมากมายวานนี้ แต่พิธาก็ยังบอกกับนักข่าวว่าเขา ‘มีกำลังใจที่ดี’ และบอกสำหรับการลงคะแนนเสียงในวันนี้ว่า ‘กระบวนการในวันนี้จะยังคงดำเนินต่อไปตามแผนที่วางไว้’
8 พรรคร่วมของพิธา ซึ่งรวมเสียงได้ราว 312 ที่นั่ง แต่ก็ยังไม่ถึง 376 ที่นั่งที่ต้องการในสภา ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศลาออกจากการเมือง แต่ก็ยังคงดำรงตำแหน่งรักษาหารไปจนกว่าจะมีนายกฯ คนใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
คดีศาลรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้พิธาระงับการปฏิบัติงานในฐานะ ส.ส.เนื่องจากละเมิดกฎการหาเสียง ซึ่งพรรคก้าวไกลมองว่าเป็นการ ‘ใช้อำนาจโดยมิชอบ’ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสอบสวนเกี่ยวกับปมการถือหุ้นสื่อของพิธา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามกฎหมายไทยพิธากล่าวว่า เขาได้รับมรดกหุ้นในสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (iTV) ซึ่งไม่ได้มีการออกอากาศมาตั้งแต่ปี 2007 จากพ่อของเขา และปฏิเสธการกระทำผิดใดๆ
ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า การประกาศดังกล่าวสามารถ ‘โน้มน้าว’ ให้ ส.ว.ลงคะแนนเสียงเพื่อคัดค้านเขา
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับ AFP ว่า เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าทำไมคณะกรรมาธิการถึง ‘รีบร้อน’ เสนอในเรื่องดังกล่าว
“ผมคิดได้เพียงเหตุผลเดียวเท่านั้น การกระทำนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งแรงกระเพื่อมต่อการลงคะแนนเสียงในวันพรุ่งนี้” เขากล่าวเมื่อวันพุธ (12 ก.ค.)
หากพิธาแพ้การลงคะแนนเสียงในครั้งแรก ประธานสภาจะตั้งโต๊ะประชุมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรี สิ่งนี้สร้างความตื่นตระหนกให้กับสัปดาห์แห่งภาวะชะงักงันและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
‘อะไรก็เกิดขึ้นได้’
AFP ระบุอีกว่า ราชอาณาจักรแห่งนี้ต้องทนรับการรัฐประหารนับสิบครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา โดยความไร้เสถียรภาพทางการเมืองถือเป็นอันตรายอยู่เป็นประจำ และการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามที่เป็นเรื่องใหม่มักจะถูกลดทอนลงอย่างกะทันหัน ซึ่งการเลือกตั้งในเดือน พ.ค. นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ทั่วกรุงเทพฯในปี 2020 ประชาชนหลายหมื่นคนเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นราชวงศ์ (ม.112) อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนก่อนหน้านี้ พรรคก้าวไกลเป็นพรรคเดียวที่หาเสียงและสัญญาว่าจะแก้ไขปัญหานี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือศาลรัฐธรรมนูญยอมรับคดีกล่าวหาว่า การหาเสียงของพรรคเป็นความพยายามที่จะล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญและให้เวลา 2 สัปดาห์ในการชี้แจง
ความไม่แน่นอนนี้อาจนำมาซึ่งความแตกแยกกันเองภายในพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจากมีการแนะนำแคนดิเดตนายกฯ รายอื่น อย่าง แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของอดีตผู้นำทักษิณ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เศรษฐา ทวีสิน ผู้นำด้านธุรกิจจากพรรคเพื่อไทย ที่ตอนนี้ก็ยังถูกมองว่าเป็นแคนดิเดตที่มีศักยภาพ
นภิสา ไวฑูรเกียรติ นักวิเคราะห์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวกับ AFP ว่า ดูเหมือนว่ามีแนวโน้มน้อยลงเรื่อยๆ ที่พิธาจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่เธอก็กล่าวด้วยว่า “อะไรๆ ก็เป็นไปได้ในประเทศไทย”