ฮุน เซน ‘รับไม่ได้’ นโยบายขับแรงงานต่างด้าวของ ‘พิธา’

6 มิ.ย. 2566 - 04:08

  • กัมพูชาจะไม่ยอมรับนโยบายด้านแรงงานใหม่ของไทยจากพรรคก้าวไกล ซึ่งนำโดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย

  • ฮุน เซน ชี้ให้เห็นว่า พิธาได้ออกนโยบายด้านแรงงานที่อาจเป็น ‘อันตราย’ ไม่เพียงแต่กับแรงงานกัมพูชาและลาวเท่านั้น แต่ฝั่งผู้ประกอบการที่ต้องใช้แรงงานเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย

  • แรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลภายใต้การนำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

thais-labour-policy-unacceptable-cambodia-SPACEBAR-Thumbnail
สำนักข่าว Khmer Times รายงานว่า นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ของกัมพูชา กล่าวอย่างสงวนท่าทีกับแรงงานกว่า 17,000 คนที่ทำงานในโรงงาน 19 แห่ง เมื่อวันเสาร์ (3 มิ.ย.) ว่า กัมพูชาจะไม่ยอมรับนโยบายด้านแรงงานใหม่ของไทยจากพรรคก้าวไกล ซึ่งนำโดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย  
 
ฮุน เซน กล่าวถึงพิธาอย่างอ้อมๆ ว่า นโยบายด้านแรงงานนี้ เป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างจริงจัง แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่เข้ามายุ่งกับการเมืองภายในประเทศไทย แต่เขาก็หวังว่าพิธาจะมองออกมาให้ไกลกว่าประเทศไทย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2DXHQLIRpzhlucOWQN234t/ba2b51b03d84640c7975ce71d654cb6b/Quote_thais-labour-policy-unacceptable-cambodiaSQ_01
ฮุน เซน ชี้ให้เห็นว่า พิธาได้ออกนโยบายด้านแรงงานที่อาจเป็น ‘อันตราย’ ไม่เพียงแต่กับแรงงานกัมพูชาและลาวเท่านั้น แต่ฝั่งผู้ประกอบการที่ต้องใช้แรงงานจากกัมพูชา ลาว และเมียนมาเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งแรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลภายใต้การนำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  
  
“ผมคิดว่านโยบายนี้ (ของไทย) อาจไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศเพื่อนบ้าน” ฮุน เซน กล่าวพร้อมเสริมว่า นโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่ทำงานในประเทศไทย 
  
ดี เดอะ โฮยา เจ้าหน้าที่โครงการของ Center for Alliance of Labour and Human Rights (CENTRAL) กล่าวกับ Khmer Times ว่า 30% - 40% ของแรงงานชาวกัมพูชากว่า 2 ล้านคนที่ทำงานในประเทศไทยจะตกงานเนื่องจากเอกสารการจ้างงานที่ถูกกฎหมายของพวกเขาถูกระงับ รวมถึงบางส่วนที่ไม่มีเอกสาร 
 
โฮยา กล่าวเพิ่มเติมว่า แรงงานกัมพูชาในประเทศไทยระหว่าง 0.6-0.8 ล้านคนจะสูญเสียรายได้ต่อเดือนที่มีมูลค่ารวมประมาณ 180-240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6.2 - 8.3 พันล้านบาทต่อเดือน หากนโยบายแรงงานใหม่มีผลบังคับใช้จริง 
  
“ฉันได้ติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจังและได้พบกับผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากในประเทศของเรา (กัมพูชา)  เกี่ยวกับการไล่คนงานออก แต่ฉันไม่เห็นข้อมูลอย่างเป็นทางการใดๆ เกี่ยวกับปัญหานี้ที่เผยแพร่จากพรรคการเมืองที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง” โฮยากล่าว 
  
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด Hoya กล่าวว่าแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาจะกลับไปกัมพูชาเพื่อทำงานก่อสร้างมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ ภาคการก่อสร้างในประเทศได้จัดหางานให้กับผู้คนมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ ในช่วงหลังการระบาดใหญ่ แต่อาจไม่สามารถรับได้ทั้งหมด

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์