‘เรือดำน้ำไททัน’ มีปัญหาจนต้องสร้างใหม่ก่อนลงชมซากไททานิค

21 มิ.ย. 2566 - 07:35

  • จากรายงานระบุว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของ ‘เรือดำน้ำไททัน’ ได้รับความเสียหายมาอย่างจากเหตุฟ้าผ่าในปี 2018

  • ในปี 2019 ก็มีปัญหาในการปฏิบัติตามข้อจำกัดของกฎหมายการเดินเรือของแคนาดา

  • ขณะที่ปี 2020 เรือย่อยประสบปัญหาเพิ่มเติมทำให้ต้องสร้างใหม่ทั้งหมด

titan-submarine-suffered-electrical-damage-oceangate-SPACEBAR-Hero

‘เรือดำน้ำไททัน’ มีปัญหามาก่อนแล้ว?

หลังจากมีกระแสข่าวที่ ‘เรือดำน้ำไททัน’ สูญหายไปขณะพานักท่องเที่ยวไปยังซากเรือไททานิค ทว่ามีรายงานว่าก่อนหน้าที่เรือลำนี้จะถูกนำออกมาใช้งานก็เคยได้รับความเสียหายจากระบบไฟฟ้าและต้องสร้างใหม่มาแล้ว เนื่องจากไม่สามารถต้านทานแรงดันใต้มหาสมุทรลึกได้ จนในที่สุดก็สามารถบรรทุกนักท่องเที่ยวได้ 

ตามข้อมูลของเว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยี GreekWire ระบุว่า ในตอนแรกบริษัทวางแผนที่จะใช้เรือดำน้ำดังกล่าวสำหรับการดำดิ่งไปยังซากเรือไททานิคเมื่อปี 2018 แต่ถูกยกเลิกไปหลังจากที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า จากนั้นในปี 2019 การเดินทางก็ถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งเนื่องจากปัญหาในการปฏิบัติตามกฎหมายการเดินเรือของแคนาดาเกี่ยวกับข้อจำกัดของเรือธงต่างประเทศ  

จากนั้นก็ประสบปัญหาเพิ่มเติมในปี 2020 และต้องสร้างเรือใหม่ทั้งหมดหลังจากการตรวจพบสัญญาณของ ‘การล้าจากการหมุนรอบ’ (cyclic fatigue) โดยลดระดับความลึกของตัวถังลงเหลือ 3,000 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่สั้นมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ต้องใช้ในการเข้าใกล้เรือไททานิค 

อย่างไรก็ดี เรือลำนี้สร้างขึ้นจากคาร์บอนไฟเบอร์และไททาเนียมซึ่งได้รับการออกแบบให้รองรับคน 5 คนในความลึก 4,000 เมตร (13,123 ฟุต) 

หลังจากตรวจพบปัญหาว่าเรือของ OceanGate สามารถลงลึกได้เพียงใด ในเวลานั้นทางบริษัทก็ได้ประกาศว่ากำลังทำงานร่วมกับ NASA เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะแข็งแรงพอที่จะอยู่รอดในความลึกของมหาสมุทรได้ ซึ่งเชื่อกันว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขก่อนที่เรือไททันจะดำดิ่งลงในวันอาทิตย์ (18 มิ.ย.) ที่ผ่านมา แต่ทว่าสาเหตุที่สัญญาณสูญหายไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด 

นับตั้งแต่เปิดตัว บริษัท OceanGate ได้พานักท่องเที่ยวที่มั่งคั่งไปปฏิบัติภารกิจต่างๆ มากมายเพื่อดำดิ่งไปยังน่านน้ำลึกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอ่าวเม็กซิโก โดยการขายทริปดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวระดับสูงเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญให้ได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การดำน้ำของบริษัทด้วย 

อย่างไรก็ดี ทริปนี้นำเสนอให้กับลูกค้าประเภทเดียวกับการท่องเที่ยวในอวกาศนั่นก็คือ ผู้รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และร่ำรวยมหาศาล โดยจะได้เยี่ยมชมซากเรืออับปางในอ่าวเอลเลียต เมืองซีแอตเทิล หรือสำรวจน้ำลึกในแคลิฟอร์เนียและสำรวจฉลาม 

‘OceanGate’ ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายครั้ง

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/399SGH6LtCRXGK1WqM8vmR/03a64aafef20763b9fe26dfe4f5c100e/titan-submarine-suffered-electrical-damage-oceangate-SPACEBAR-Photo01
Photo: OceanGate
ตามเว็บไซต์ของ OceanGate ระบุว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการสำรวจมากกว่า 14 ครั้งและการดำน้ำมากกว่า 200 ครั้งเลยทีเดียว ในปัจจุบันยังเป็นเจ้าของและดำเนินการเรือดำน้ำบรรจุ 5 คนจำนวน 3 ลำ ที่ 1 ใน 3 ลำสามารถเดินทางได้ลึกถึง 1,000 ฟุต 

นอกจากนี้ ในปี 2012 บริษัทยังได้ซื้อเรือดำน้ำอีกลำ และสร้าง ‘ไซคลอปส์ 1’ (Cyclops 1) เรือดำน้ำที่สามารถเดินทางได้ลึกถึง 1,640 ฟุต และเป็นต้นแบบสำหรับเรือดำน้ำรุ่นใหม่ล่าสุดอย่างไททันด้วย 

อย่างไรก็ดี การเดินทางของเรือดำน้ำไททันไปยังซากเรือไททานิคนั้นกลายเป็นจุดขายที่ไม่เหมือนใคร โดยลูกค้าผู้มั่งคั่งต่างให้คำมั่นสัญญาว่าพวกเขาจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ‘การสำรวจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี’ บริเวณซากดังกล่าว ขณะที่บริษัทเองก็เน้นย้ำว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ดำน้ำเพื่อดูซากเรืออย่างเดียว แต่ก็มีส่วนร่วมในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน 

ทั้งนี้ แม้จะมีการอ้างสิทธิถึงความเชี่ยวชาญและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่ผู้ที่ขึ้นเรือไททันจะต้องลงนามในหนังสือสละสิทธิ์ที่ระบุว่า ‘เรือทดลองนี้ไม่ได้รับการอนุมัติหรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลใดๆ และอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย การบาดเจ็บทางอารมณ์ หรือเสียชีวิต’ 

และถึงแม้ว่าบริษัทจะมีประสบการณ์ในการพานักท่องเที่ยวไปในน่านน้ำที่อันตราย แต่เรือดำน้ำไททันกลับควบคุมผ่าน PlayStation และมีเพียงหน้าต่างเดียวที่ให้พวกเขาได้มองออกไป ทว่าผู้โดยสารที่ขึ้นไปก็จะไม่ได้รับการฝึกอบรมพิเศษใดๆ ก่อนออกเดินทาง และไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการดำน้ำ แต่ต้องมี ‘ความคล่องตัวขั้นพื้นฐาน’ เพื่อให้สามารถปีนบันไดสูง 10 ฟุตและสามารถยืนบนเก้าอี้ได้ 

เรือดำน้ำไททันที่จมหายไปนั้นยังไม่มีระบบ GPS แต่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ‘Starlink’ ของ อีลอน มัสก์ เพื่อสื่อสารกับเรือแม่ ‘MV Polar Prince’ เนื่องจากอยู่ไกลออกไปนอกทะเล ซึ่งนำทางโดยข้อความที่ส่งโดยทีมเหนือน้ำที่ถูกแลกเปลี่ยนผ่านระบบอะคูสติก USBL (ระบบกำหนดตำแหน่งเสียงพื้นฐาน) จากนั้นเรือไททันจะส่งคำสั่งตำแหน่งของเรือไปยังเรือแม่ทุกๆ 15 นาที  

ดูเหมือนว่าเรือแม่จะได้รับตำแหน่งของเรือดำน้ำไททันล่าสุดตอนที่กำลังดำดิ่งเหนือซากเรือไททานิคในเวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาอังกฤษ (21.00 น. เวลาไทย) ของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์