ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวจากญี่ปุ่น พบว่า อาคารสูงในกรุงเทพฯ สั่นไหวประมาณ 1.6 เมตร จากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ ‘การสั่นไหวของพื้นดินเป็นระยะเวลานาน’ จากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ซึ่งส่งแรงสั่นสะเทือนมายังอาคารสูงในกรุงเทพฯ ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่า 1,000 กิโลเมตร
‘การสั่นไหวของพื้นดินเป็นระยะเวลานาน’ นั้นเกี่ยวข้องกับแรงสั่นสะเทือนรุนแรงที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และเดินทางในระยะไกล ทำให้น้ำจากสระว่ายน้ำบนดาดฟ้าของตึกสูงไหลลงสู่ถนนด้านล่าง
ศาสตราจารย์มารุยามะ โยชิฮิสะ จากมหาวิทยาลัยชิบะ วิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องวัดแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ แล้วพบว่า อาคารสูงประมาณ 60 ชั้นได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยชั้นต่างๆ สั่นไหวในแนวราบสูงสุดถึง 1.6 เมตร
ระดับการสั่นสะเทือนนี้เทียบเท่ากับที่อาคารสูงในใจกลางโตเกียวซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 ประมาณ 400 กิโลเมตร
หากจำแนกตามประเภทแล้ว ถือเป็นระดับ 3 หรือระดับรองสูงสุดจากทั้งหมด 4 ระดับที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ในการประเมินความรุนแรงของการสั่นไหวของพื้นดินในช่วงเวลายาวนาน
นอกจากนี้ ข้อมูลจากเครื่องวัดแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ ยังแสดงให้เห็นว่าการสั่นไหวนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อยกว่า 5 นาทีด้วย
(Photo by Amaury PAUL / AFP)