Bloomberg เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย โดยบอกว่าทั้งเขา และครอบครัวครองอำนาจในการเลือกตั้งของไทยมากว่า 2 ทศวรรษ
กลุ่มที่นิยมราชวงศ์ ประกอบด้วยกองทัพ ผู้พิพากษา และข้าราชการระดับสูง มองว่าชินวัตรเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจทางการเมือง และทำการขับออกจากตำแหน่ง 2 ครั้ง ในการรัฐประหารโดยกองทัพ จากนั้นการแข่งขันก็ทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากฝ่ายค้าน รวมถึงฝ่ายที่เชื่อมโยงกับทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
การเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ทักษิณเองก็เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากที่ออกจากประเทศไปกว่า 15 ปี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้ความไม่มั่นคงทางการเมืองรุนแรงขึ้น ซึ่งกำลังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศไทยซึ่งมีเศรษฐกิจี่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการของทักษิณและความเชื่อเรื่องความทะเยอทะยานของเขาสะท้อนความฝันแบบอเมริกัน และสะท้อนกับคนไทยทั่วไปจำนวนมากที่เริ่มไม่พอใจกับรูปแบบการปกครองของผู้นำทางการเมืองคนก่อนๆ
ขณะที่คนไทยที่มีฐานะร่ำรวย มีการศึกษาดี และอาศัยอยู่ในเมืองจำนวนมากกล่าวหาว่า ทักษิณเป็นพวก ประชานิยมที่บ้าบิ่น และมีการคอร์รัปชัน ทว่าเขากลับได้รับการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนชั้นรากหญ้าและชนชั้นแรงงานในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งถือเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ของไทย และได้ประโยชน์จากโครงการเศรษฐกิจแลกเงินก้อนโตที่เรียกกันว่า ‘ทักษิณโนมิกส์’ ทำให้ฝ่ายสนับสนุนทักษิณถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อลำดับชั้นทางสังคมของประเทศ
ความคิดริเริ่มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเขาในปี 2002 ที่ปฏิวัติการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสำหรับคนยากจนและเป็นประโยชน์ต่อคนไทยหลายล้านคนในอีก 2 ทศวรรษต่อมานั่นคือ ‘บัตรทอง’ ที่ขณะนี้ถือโดยคนไทย 47 ล้านคน หรือร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ
เสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรากหญ้าทำให้พรรคการเมืองของเขาได้รับที่นั่งมากที่สุดในรัฐสภาถึง 4 ครั้งติดกันระหว่างปี 2001 – 2019 ขณะที่ผู้สนับสนุนทักษิณได้ก่อตั้งขบวนการ ‘คนเสื้อแดง’ เพื่อประชาธิปไตยในปี 2007 และปะทะกับกลุ่ม ‘เสื้อเหลือง’ ที่พยายามกำจัดชินวัตรออกจากการเมืองไทย
กลุ่มที่นิยมราชวงศ์ ประกอบด้วยกองทัพ ผู้พิพากษา และข้าราชการระดับสูง มองว่าชินวัตรเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจทางการเมือง และทำการขับออกจากตำแหน่ง 2 ครั้ง ในการรัฐประหารโดยกองทัพ จากนั้นการแข่งขันก็ทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากฝ่ายค้าน รวมถึงฝ่ายที่เชื่อมโยงกับทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
การเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ทักษิณเองก็เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากที่ออกจากประเทศไปกว่า 15 ปี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้ความไม่มั่นคงทางการเมืองรุนแรงขึ้น ซึ่งกำลังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศไทยซึ่งมีเศรษฐกิจี่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทำไมผู้มีอำนาจในไทยถึงไม่ชอบชินวัตร?
อิทธิพลจากการเลือกตั้งและการเงินของชินวัตรทำให้พวกเขาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวกับชนชั้นนำดั้งเดิมที่ครอบงำสถาบันของรัฐและมีอำนาจของประเทศไทยตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงในปี 1932ความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการของทักษิณและความเชื่อเรื่องความทะเยอทะยานของเขาสะท้อนความฝันแบบอเมริกัน และสะท้อนกับคนไทยทั่วไปจำนวนมากที่เริ่มไม่พอใจกับรูปแบบการปกครองของผู้นำทางการเมืองคนก่อนๆ
ขณะที่คนไทยที่มีฐานะร่ำรวย มีการศึกษาดี และอาศัยอยู่ในเมืองจำนวนมากกล่าวหาว่า ทักษิณเป็นพวก ประชานิยมที่บ้าบิ่น และมีการคอร์รัปชัน ทว่าเขากลับได้รับการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนชั้นรากหญ้าและชนชั้นแรงงานในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งถือเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ของไทย และได้ประโยชน์จากโครงการเศรษฐกิจแลกเงินก้อนโตที่เรียกกันว่า ‘ทักษิณโนมิกส์’ ทำให้ฝ่ายสนับสนุนทักษิณถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อลำดับชั้นทางสังคมของประเทศ
ทำไมชินวัตรยังได้รับความนิยม?
หลังจากเกิดวิกฤตการเงินในเอเชียปี 1997 ทักษิณได้ใช้จ่ายอย่างหนักกับมาตรการระดับรากหญ้าที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ เช่น แผนการพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร โครงการที่อยู่อาศัยราคาประหยัด และสินเชื่อสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมความคิดริเริ่มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเขาในปี 2002 ที่ปฏิวัติการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสำหรับคนยากจนและเป็นประโยชน์ต่อคนไทยหลายล้านคนในอีก 2 ทศวรรษต่อมานั่นคือ ‘บัตรทอง’ ที่ขณะนี้ถือโดยคนไทย 47 ล้านคน หรือร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ
เสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรากหญ้าทำให้พรรคการเมืองของเขาได้รับที่นั่งมากที่สุดในรัฐสภาถึง 4 ครั้งติดกันระหว่างปี 2001 – 2019 ขณะที่ผู้สนับสนุนทักษิณได้ก่อตั้งขบวนการ ‘คนเสื้อแดง’ เพื่อประชาธิปไตยในปี 2007 และปะทะกับกลุ่ม ‘เสื้อเหลือง’ ที่พยายามกำจัดชินวัตรออกจากการเมืองไทย