ยูเครนไม่เพียงเป็น “ตะกร้าขนมปัง” ของยุโรป เนื่องจากมีภาคเกษตรกรรมค่อนข้างใหญ่ แต่ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของทวีป
ใต้พื้นดินของยูเครนมีทรัพยากรแร่อยู่ราว 5% ของโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นที่หมายตาของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ทรัพยากรแร่เหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกขุดขึ้นมาหรืออาจจะขุดขึ้นมายาก
ข้อมูลของ World Mining Data ฉบับปี 2024 ระบุว่า ยูเครนอยู่ในอันดับที่ 40 ในบรรดาประเทศผู้ผลิตแร่เมื่อนับแร่ทุกประเภทรวมกัน รวมทั้งถ่านหิน
ในการศึกษาของยูเครนที่เผยแพร่เมื่อปี 2023 นักธรณีวิทยา รวมทั้งสำนักวิจัยธรณีวิทยาและการเหมืองแร่ของฝรั่งเศส (BRGM) พบทรัพยากรมากกว่า 100 ชนิด รวมทั้งเหล็ก แมงกานีส และยูเรเนียม
แร่สำคัญ
นานาประเทศจะกำหนดให้แร่ต่างๆ เป็นแร่ที่มีความสำคัญหรือเป็นแร่ยุทธศาสตร์สำหรับเศรษฐกิจหรือการผลิตพลังงาน อาทิ สหรัฐฯ ระบุว่ามีแร่สำคัญ 50 ชนิด ส่วนสหภาพยุโรปหรืออียูระบุว่ามีกว่า 30 ชนิด
BRGM เผยกับ AFP ว่า “มีแหล่งแร่มากมายในยูเครน”
คณะกรรมการยุโรประบุว่า “ยูเครนเป็นซัพพลายเออร์ไทเทเนียมที่สำคัญของโลกและเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญกว่า 20 ชนิด”
ยูเครนขึ้นชื่อเรื่องการผลิตแมงกานีส (ข้อมูลของ World Mining Data ระบุว่า ผลิตได้มากที่สุดอันดับ 8 ของโลก) ไทเทเนียม (อันดับ 11) แกรไฟต์ (อันดับ 14) ซึ่งจำเป็นสำหรับแบตเตอรีไฟฟ้า
BRGM ระบุว่า ยูเครนมีแกรไฟต์อยู่ราว 20% ของโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศต้นๆ ของยุโรปในแง่ของลิเทียมซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรีและเป็นแร่สำคัญ
ก่อนหน้านี้ยูเครนระบุว่าครอบครองแหล่งแร่ลิเทียมใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของยุโรป ทว่ารัฐบาลเผยว่ายังไม่เคยสกัดแร่ดังกล่าว
ยูเครนมีแหล่งแร่สำคัญ 20 จาก 50 ชนิดที่สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ (USGS)ระบุว่าเป็นแร่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจ การพัฒนา และกองทัพของสหรัฐฯ รวมทั้ง
- ไทเทเนียม ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องบิน กระดูกเทียม เป็นสารเติมแต่งในสีทางบ้านและเครื่องสำอาง รวมทั้งครีมกันแดด เป็นต้น เหมืองแร่ไทเทเนียมทางตอนกลางของยูเครนมีสัดส่วน 6% ของการผลิตทั้งโลก
- ลิเทียม เป็นส่วนประกอบสำคัญในแบตเตอรี รวมทั้งแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า และในอุตสาหกรรมอื่น รวมถึงยาบางชนิดด้วย ยูเครนมีแหล่งแร่ลิเทียมสำรองมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของยุโรป แม้ว่าบางแหล่งจะอยู่นพื้นที่สงคราม ก่อนสงครามยูเครน-รัสเซีย เจ้าหน้าที่ของยูเครนแนะนำให้ อีลอน มัสก์ เข้าไปลงทุนในเหมืองแร่ลิเทียมของยูเครน
- ยูเรเนียม ถูกนำมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ยูเครนมีปริมาณสำรองยูเรเนียมมากที่สุดในยุโรป
- แรร์เอิร์ธ เป็นกลุ่มของแร่โลหะสำคัญ 17 ชนิด และมีน้อยกว่าไทเทเนียมหรือลิเทียม มักนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมไฮเทค รวมทั้งพลังงานสีเขียว อิเล็กทรอนิกส์ และการบิน แหล่งแร่แรร์เอิร์ธที่สำคัญของยูเครนส่วนใหญ่ยังไม่ถูกขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ และยังไม่แน่ชัดว่าการขุดขึ้นมาจะมีค่าใช้จ่ายมากน้อยเท่าใด

BRGM ยืนยันว่า ยูเครนมีแหล่งทรัพยากรร์เอิร์ธที่สำคัญ โดยทาง BRGM ไม่ทราบว่ายูเครนมีแผนการผลิตเพื่อการพาณิชย์
รัฐบาลยูเครนระบุว่า “มีแหล่งแร่โลหะแรร์เอิร์ธ 6 แหล่ง” และว่า ต้องใช้เงินลงทุน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาแหล่งแร่โนโวโปลตาฟสกีซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งแร่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ดี มีแหล่งแร่แรร์เอิร์ธอย่างน้อย 1 แหล่งที่รัฐบาลยูเครนพบตั้งอยู่ในภูมิภาคที่รัสเซียเข้าครอบครอง ข้อมูลของสถาบันเพื่อการศึกษาการสงครามระบุว่า ราวครึ่งหนึ่งของแหล่งแร่แรร์เอิร์ธของยูเครนตั้งอยู่ในดินแดนที่รัสเซียครอบครองอยู่ในขณะนี้
ปี 2022 SecDev ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ในแคนาดาประเมินว่า รัสเซียครอบครองเหมืองถ่านหิน 63% ของยูเครน และครึ่งหนึ่งของแหล่งแร่แมงกานีส ซีเซียม และแรร์เอิร์ธ
ในทางเทคนิคแล้ว แร่บางแร่ที่รัฐบาลยูเครนระบุ (แทนทาลัม ไนโอเบียม เบริลเลียม สตรอนเชียม แมกเนไทต์) ไม่อยู่ในรายชื่อแร่แรร์เอิร์ธ 17 ชนิด
นอกจากนี้ บริษัทจัดอันดับ S&P ยังระบุไว้เมื่อเดือน ก.พ.ว่า บางครั้งการคาดการณ์ของรัฐบาลยูเครนก็อ้างอิงจากการประเมินแหล่งแร่หายากที่เข้าถึงได้ยากในยุคโซเวียต
S&P ระบุอีกว่า เนื่องจากแร่แรร์เอิร์ธของยูเครนอาจมีความเข้มข้นต่ำเกินไปหรือเข้าถึงได้ยากเกินไป การสกัดแหล่งแร่แรร์เอิร์ธของยูเครนอาจไม่ทำกำไร
ทำไมสหรัฐฯ ต้องการแรร์เอิร์ธของยูเครน
โรเบิร์ต มุกกาห์ ผู้อำนวยการ SecDev อธิบายว่า แร่ธาตุสำคัญ “เป็นรากฐานของเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21” เพราะเป็นกุญแจสำคัญของพลังงานหมุนเวียน อาวุธยุทโธปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม และ “มีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ในภุมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์”
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังต้องการลดการพึ่งพาจีนซึ่งครอบครองแหล่งแร่แรร์เอิร์ธของโลกไว้ถึง 75% จนแทบจะกลายเป็นผู้ผูกขาดแรร์เอิร์ธไว้เพียงประเทศเดียว เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาจีนสั่งห้ามส่งออกแร่แรร์เอิร์ธบางตัวให้สหรัฐฯ และเมื่อปีก่อนยังจำกัดปริมาณการส่งออกแร่ธาตุสำคัญมายังสหรัฐฯ ด้วย
Photo by Andrew Harnik / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP
“ยูเครนมีแหล่งแร่หลายแหล่งที่มีแร่แรร์เอิร์ธอยู่ แต่ยังไม่เคยมีการทำเหมืองในแหล่งแร่เหล่านี้เลย”
เอเลนา ซาฟิโรวา ผู้เชี่ยวชาญด้านยูเครนจากสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ (USGS)
BRGM ยืนยันว่า ยูเครนมีแหล่งทรัพยากรร์เอิร์ธที่สำคัญ โดยทาง BRGM ไม่ทราบว่ายูเครนมีแผนการผลิตเพื่อการพาณิชย์
รัฐบาลยูเครนระบุว่า “มีแหล่งแร่โลหะแรร์เอิร์ธ 6 แหล่ง” และว่า ต้องใช้เงินลงทุน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาแหล่งแร่โนโวโปลตาฟสกีซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งแร่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ดี มีแหล่งแร่แรร์เอิร์ธอย่างน้อย 1 แหล่งที่รัฐบาลยูเครนพบตั้งอยู่ในภูมิภาคที่รัสเซียเข้าครอบครอง ข้อมูลของสถาบันเพื่อการศึกษาการสงครามระบุว่า ราวครึ่งหนึ่งของแหล่งแร่แรร์เอิร์ธของยูเครนตั้งอยู่ในดินแดนที่รัสเซียครอบครองอยู่ในขณะนี้
ปี 2022 SecDev ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ในแคนาดาประเมินว่า รัสเซียครอบครองเหมืองถ่านหิน 63% ของยูเครน และครึ่งหนึ่งของแหล่งแร่แมงกานีส ซีเซียม และแรร์เอิร์ธ
ในทางเทคนิคแล้ว แร่บางแร่ที่รัฐบาลยูเครนระบุ (แทนทาลัม ไนโอเบียม เบริลเลียม สตรอนเชียม แมกเนไทต์) ไม่อยู่ในรายชื่อแร่แรร์เอิร์ธ 17 ชนิด
นอกจากนี้ บริษัทจัดอันดับ S&P ยังระบุไว้เมื่อเดือน ก.พ.ว่า บางครั้งการคาดการณ์ของรัฐบาลยูเครนก็อ้างอิงจากการประเมินแหล่งแร่หายากที่เข้าถึงได้ยากในยุคโซเวียต
S&P ระบุอีกว่า เนื่องจากแร่แรร์เอิร์ธของยูเครนอาจมีความเข้มข้นต่ำเกินไปหรือเข้าถึงได้ยากเกินไป การสกัดแหล่งแร่แรร์เอิร์ธของยูเครนอาจไม่ทำกำไร
ทำไมสหรัฐฯ ต้องการแรร์เอิร์ธของยูเครน
โรเบิร์ต มุกกาห์ ผู้อำนวยการ SecDev อธิบายว่า แร่ธาตุสำคัญ “เป็นรากฐานของเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21” เพราะเป็นกุญแจสำคัญของพลังงานหมุนเวียน อาวุธยุทโธปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม และ “มีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ในภุมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์”
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังต้องการลดการพึ่งพาจีนซึ่งครอบครองแหล่งแร่แรร์เอิร์ธของโลกไว้ถึง 75% จนแทบจะกลายเป็นผู้ผูกขาดแรร์เอิร์ธไว้เพียงประเทศเดียว เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาจีนสั่งห้ามส่งออกแร่แรร์เอิร์ธบางตัวให้สหรัฐฯ และเมื่อปีก่อนยังจำกัดปริมาณการส่งออกแร่ธาตุสำคัญมายังสหรัฐฯ ด้วย
Photo by Andrew Harnik / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP