ในขณะที่คนไทยกำลังลุ้นกับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 สื่อต่างประเทศก็ให้ความสนใจกับข่าวนี้ไม่น้อย สำนักข่าว Bloomberg รายงานโดยพาดหัวข่าวว่า “พิธากำลังสู้กับแรงต้าน เมื่อกลุ่มอำนาจเก่าเป็นคนกำหนดผลโหวตนายกฯ” โดยบอกว่า โอกาสที่แคนดิเดตนายกฯ เพียงคนเดียวอย่างพิธาจะได้เป็นนายกฯ ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ จากอุปสรรคที่นอกเหนือจาก ส.ว. นั่นคือ การที่ กกต. ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีถือหุ้นสื่อ
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพิธาผิดก็อาจขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. และเสี่ยงกระทบกับโอกาสนั่งเก้าอี้นายกฯ ประเด็นนี้ ปีเตอร์ มัมฟอร์ด หัวหน้าบริษัทที่ปรึกษา Eurasia Group ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่า “นี่เป็นการยืนยันว่าฝ่ายอำนาจเก่าไม่เอาพิธา เขาไม่น่าชนะการโหวตให้เป็นนายกฯ หากผ่านการรับรองให้เป็นแคนดิเดต”
นักวิเคราะห์หลายคนเผยกับ Bloomberg ว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ ส.ส.จะอ้างคดีความของพิธาเป็นเหตุผลในการไม่ลงคะแนนเสียงหรือเสนอให้เลื่อนการเลือกนายกฯ ออกไปก่อน หนึ่งในนั้นคือ ณพล จาตุศรีพิทักษ์ จากสถาบันวิจัย ISEAS-Yusof Institute ของสิงคโปร์ ที่มองว่า “ในระยะสั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเพิ่มโอกาสที่พิธาจะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนที่พียงพอจากสภาฯ ในระยะยาวมันจะสร้างความกังวลเกี่ยวกับการล่มสลายของหลักการประชาธิปไตยและอาจเกิดการประท้วงเป็นวงกว้าง”
สำนักข่าว AP ระบุว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ กกต. เพิ่มความไม่แน่นอนว่าพิธาจะได้คะแนนเพียงพอหรือไม่ในการลงมติเลือกนายกฯ
สำนักข่าว CNN พูดถึงการลงมติเลือกนายกฯ ครั้งนี้ว่า เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับอนาคตของประชาธิปไตยในประเทศที่ต้องอยู่กับการปกครองที่มีทหารหนุนหลังจนเกิดความวุ่นวายมาเกือบ 10 ปี และว่าประเด็นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์คืออุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ขัดขวางเส้นทางสู่เก้าอี้นายกฯ ของพิธา เนื่องจากที่ผ่านมาฝ่ายอนุรักษนิยมที่ทรงพลังของไทย ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงระหว่างกองทัพ สถาบันกษัตริย์ และอีลีตที่มีอิทธิพลเคยปิดกั้นการเปลี่ยนแปลงรากฐานของสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพิธาผิดก็อาจขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. และเสี่ยงกระทบกับโอกาสนั่งเก้าอี้นายกฯ ประเด็นนี้ ปีเตอร์ มัมฟอร์ด หัวหน้าบริษัทที่ปรึกษา Eurasia Group ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่า “นี่เป็นการยืนยันว่าฝ่ายอำนาจเก่าไม่เอาพิธา เขาไม่น่าชนะการโหวตให้เป็นนายกฯ หากผ่านการรับรองให้เป็นแคนดิเดต”
นักวิเคราะห์หลายคนเผยกับ Bloomberg ว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ ส.ส.จะอ้างคดีความของพิธาเป็นเหตุผลในการไม่ลงคะแนนเสียงหรือเสนอให้เลื่อนการเลือกนายกฯ ออกไปก่อน หนึ่งในนั้นคือ ณพล จาตุศรีพิทักษ์ จากสถาบันวิจัย ISEAS-Yusof Institute ของสิงคโปร์ ที่มองว่า “ในระยะสั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเพิ่มโอกาสที่พิธาจะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนที่พียงพอจากสภาฯ ในระยะยาวมันจะสร้างความกังวลเกี่ยวกับการล่มสลายของหลักการประชาธิปไตยและอาจเกิดการประท้วงเป็นวงกว้าง”
สำนักข่าว AP ระบุว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ กกต. เพิ่มความไม่แน่นอนว่าพิธาจะได้คะแนนเพียงพอหรือไม่ในการลงมติเลือกนายกฯ
สำนักข่าว CNN พูดถึงการลงมติเลือกนายกฯ ครั้งนี้ว่า เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับอนาคตของประชาธิปไตยในประเทศที่ต้องอยู่กับการปกครองที่มีทหารหนุนหลังจนเกิดความวุ่นวายมาเกือบ 10 ปี และว่าประเด็นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์คืออุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ขัดขวางเส้นทางสู่เก้าอี้นายกฯ ของพิธา เนื่องจากที่ผ่านมาฝ่ายอนุรักษนิยมที่ทรงพลังของไทย ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงระหว่างกองทัพ สถาบันกษัตริย์ และอีลีตที่มีอิทธิพลเคยปิดกั้นการเปลี่ยนแปลงรากฐานของสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน