ฉันจะไม่ตกเป็นเหยื่อของแกอีกต่อไป! วิจัยเผย ‘กลิ่น’ ไหนที่ยุงยี้ที่สุด

23 พ.ค. 2566 - 06:50

  • ยุงเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์โดยเฉพาะโรคมาลาเรีย โดยมีคนเสียชีวิตมากกว่า 6 แสนรายต่อปี

  • การศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นถึงกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ และกลิ่นที่ยุงชอบ เพื่อเป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนากระบวนการไล่ยุงที่ถูกวิธีในอนาคต

What_mosquitoes_most_attracted_SPACEBAR_Hero_fedc90504f.jpeg
แน่นอนว่ายุงเองก็มีกลิ่นที่ไม่ชอบ แต่กลิ่นต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นกลับเป็นส่วนสำคัญที่ดึงดูดยุงให้เข้าหา! ซึ่งงานวิจัยชิ้นล่าสุดชี้ให้เห็นแล้วว่า กลิ่นอะไรที่ยุงชอบ และกลิ่นอะไรที่ยุงยี้! 

ยุงส่วนใหญ่จะกินน้ำหวาน แต่ยุงตัวเมียที่เตรียมวางไข่ต้องการอาหารที่มีโปรตีนเสริมซึ่งก็คือ ‘เลือด’  

ในกรณีที่เราถูกยุงกัด จะมีตุ่มแดงคัน แต่การถูกยุงกัดก็อาจทำให้เราตายได้เช่นกัน เมื่อการที่ยุงเป็นพาหะนำโรคที่อันตรายที่สุดอย่างโรคมาลาเรียมาสู่เรา 

โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อทางเลือดที่เกิดจากปรสิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อยุงกัดคนที่ติดเชื้อมาลาเรีย มันจะดูดเอาพยาธิออกมาพร้อมกับเลือด และนำไปติดกับผิวหนังของมนุษย์เมื่อมันกินเลือดอีกครั้ง  

แม้มาลาเรียจะถูกกำจัดหมดไปแล้วในสหรัฐฯ เมื่อช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ด้วยวิวัฒนาการมุ้งลวด หน้าต่าง และเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการปรับปรุงระบบระบายน้ำที่ทำให้ตัวอ่อนยุงไม่สามารถเติบโตได้ แต่โรคนี้ก็ยังคงเป็นโรคอันตรายสำหรับคนอื่นๆ  

“โรคมาลาเรียยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 600,000 รายต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และสตรีมีครรภ์ด้วย” แมคเมนิแมน หนึ่งในผู้ที่ทำการศึกษา กล่าวพร้อมเสริมว่า นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อที่จะพยายามทำความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ยุงที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรียนั้น ‘ค้นหา’ มนุษย์ได้อย่างไร 

แมคเมนิแมน พร้อมด้วยนักวิจัยคนอื่นๆ มุ่งเน้นไปที่ ‘Anopheles gambiae’ ซึ่งเป็นยุงสายพันธุ์หนึ่งที่พบในแอฟริกาใต้ซาฮารา (sub-Saharan Africa) พวกเขาร่วมมือกับ Macha Research Trust ของแซมเบีย โดยแมคนิแมนกล่าวว่า เรามีแรงจูงใจอย่างมากที่จะลองและพัฒนาระบบที่เราสามารถศึกษาพฤติกรรมของยุงมาลาเรียแอฟริกาที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนถึงถิ่นกำเนิดของมันในแอฟริกา 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังต้องการเปรียบเทียบความชอบ ‘กลิ่น’ ของยุงในมนุษย์ที่แตกต่างกัน เพื่อสังเกตความสามารถของมันในการติดตามกลิ่นในระยะทาง 20 เมตร และศึกษาพวกมันในช่วงเวลามันจะออกหากินมากที่สุด ซึ่งก็คือระหว่างเวลา 22.00 น. และ 02.00 น. 

ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (19 พ.ค.) ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุสารเคมีต่างๆ ในกลิ่นตัวมนุษย์ที่ดึงดูดยุง โดยการสร้างลานน้ำแข็งขนาดทดลองที่มีเต็นท์มุ้งลวด 6 หลัง ที่ผู้เข้าร่วมศึกษาจะนอน อากาศจากเต็นท์ซึ่งจะมีกลิ่นลมหายใจและกลิ่นกายมนุษย์จะถูกฉีดผ่านท่อไปยังแผ่นดูดซับ และล่อด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเลียนแบบมนุษย์นอนหลับ

ยุงหลายร้อยตัวในพื้นที่ขนาด 20 x 20 เมตร ได้รับกลิ่นของผู้เข้าร่วมทดลองที่กำลังนอนหลับ กล้องอินฟราเรดติดตามการเคลื่อนไหวของยุงไปยังตัวอย่างต่างๆ ซึ่งยุงที่ใช้ในการศึกษานี้ไม่ได้ติดเชื้อมาลาเรีย และไม่สามารถเข้าถึงคนที่นอนหลับได้ 

นักวิจัยค้นพบจากสิ่งที่ผู้ร่วมทดลองยืนยันว่า บางคนสามารถดึงดูดยุงได้มากกว่าคนอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นการวิเคราะห์ทางเคมีของอากาศจากเต็นท์เผยให้เห็นสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นซึ่งอยู่เบื้องหลังการดึงดูดของยุงหรือขาดสารดังกล่าว ยุงถูกดึงดูดมากที่สุดต่อ ‘กรดคาร์บอกซิลิก’ ในอากาศ ซึ่งรวมถึงกรดบิวทีริก สารประกอบที่มีอยู่ในชีสเหม็น เช่น ลิมเบอร์เกอร์ ซึ่งกรดคาร์บอกซิลิกเหล่านี้ผลิตโดยแบคทีเรียบนผิวหนังของมนุษย์และมักจะไม่สังเกตเห็นได้ 

ขณะที่กรดคาร์บอกซิลิกที่ดึงดูดยุงเหมือนจะถูกขัดขวางโดยสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่ายูคาลิปตอล ซึ่งมีอยู่ในพืช นักวิจัยสงสัยว่าตัวอย่างหนึ่งที่มีความเข้มข้นของสารยูคาลิปตอลสูง ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาหารของผู้เข้าร่วมทดลองคนใดคนหนึ่ง 

ซิมูลันดู ผู้เขียนการศึกษา กล่าวว่า การค้นพบนี้เปิดแนวทางสำหรับการพัฒนาเหยื่อล่อหรือเครื่องขับไล่ที่สามารถใช้ในการขัดขวางพฤติกรรมของยุง ซึ่งจะช่วยควบคุมพาหะนำโรคมาลาเรียในพื้นที่ที่โรคนี้ระบาด 

แม้ว่าการวิจัยนี้จะยังไม่สามารถกำจัดยุงไม่ให้มารบกวนเราได้เลยซะทีเดียว แต่งานวิจัยนี้ให้เบาะแสที่ดีแก่เราในการรู้ถึงสิ่งที่ดึงดูดยุงและทำความเข้าใจในขั้นตอนต่อๆ ไปที่จำเป็นสำหรับการไล่มัน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์