ว่ากันว่ากองทัพทหารนั้นเป็นเหมือนด่านหน้าและเป็นกำลังของประเทศยามศึกสงครามมาเป็นเวลานานแล้ว ทว่าบางดินแดนก็ไม่ได้เป็นแค่กองกำลังอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็มี หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของรัฐบาล ‘เผด็จการทหาร’
แต่ถึงกระนั้นหากมองอีกนัยหนึ่งนั้นการมีกองกำลังทหารก็หมายถึง ‘การแสดงแสนยานุภาพ’ และ ‘ความยิ่งใหญ่ของประเทศ’ จริงๆ แล้วเห็นได้ชัดมากตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1-2 และสงครามเย็นแล้ว เพราะแต่ละประเทศต่างก็พยายามสร้างกองทัพให้แข็งแกร่งและดูน่าเกรงขามเพื่อข่มขู่คู่ต่อสู้ จนกระทั่งในสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เห็นชัดเจนเลยว่ากองทัพเป็นแนวหน้าสำคัญในการรบ
แต่ประเทศ ‘อันดอร์รา’ เป็นหนึ่งในดินแดนที่ไม่มีกองทัพเป็นกำลังสำคัญของประเทศ แล้วเวลามีศึกสงครามรัฐบาลมีวิธีรับมืออย่างไร? หรือมีกองกำลังเสริมจากที่ไหนมาช่วย? ภายในประเทศจัดการกับเหตุการณ์ความไม่สงบยังไง?
แต่ถึงกระนั้นหากมองอีกนัยหนึ่งนั้นการมีกองกำลังทหารก็หมายถึง ‘การแสดงแสนยานุภาพ’ และ ‘ความยิ่งใหญ่ของประเทศ’ จริงๆ แล้วเห็นได้ชัดมากตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1-2 และสงครามเย็นแล้ว เพราะแต่ละประเทศต่างก็พยายามสร้างกองทัพให้แข็งแกร่งและดูน่าเกรงขามเพื่อข่มขู่คู่ต่อสู้ จนกระทั่งในสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เห็นชัดเจนเลยว่ากองทัพเป็นแนวหน้าสำคัญในการรบ
แต่ประเทศ ‘อันดอร์รา’ เป็นหนึ่งในดินแดนที่ไม่มีกองทัพเป็นกำลังสำคัญของประเทศ แล้วเวลามีศึกสงครามรัฐบาลมีวิธีรับมืออย่างไร? หรือมีกองกำลังเสริมจากที่ไหนมาช่วย? ภายในประเทศจัดการกับเหตุการณ์ความไม่สงบยังไง?
‘อันดอร์รา’ ดินแดนไร้อาณาเขตทหาร

‘อันดอร์รา’ ดินแดนยุโรปขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนั้นมีทหารหรือไม่? หากมองในแง่ของการป้องกันประเทศ คำตอบที่ได้ คือ อันดอร์ราไม่มีกองทัพหรือกองกำลังติดอาวุธ
อันดอร์รามีเพียงกองทหารอาสาสมัครเล็กๆ ที่มีบทบาทเป็นเพียงพิธีการเท่านั้น การป้องกันทางทหารของอันดอร์ราจึงขึ้นอยู่กับสนธิสัญญาที่ลงนามกับสเปนและฝรั่งเศส (เช่น สนธิสัญญาเพื่อนบ้านที่ดี มิตรภาพ และความร่วมมือในปี 1993)
การสำรวจค่านิยมโลกแห่งชาติในอันดอร์ราโดยศูนย์วิจัยสังคมวิทยา (CRES) และมูลนิธิจูเลีย เรก (Julià Reig Foundation) ล่าสุดระบุว่า รัฐบาลอันดอร์ราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเข้าสู่สงครามเลยก็ว่าได้ เพราะมากกว่าครึ่งหนึ่งของชาวอันดอร์รา (57.5%) ยินดีที่จะต่อสู้เพื่อความขัดแย้งทางอาวุธเพื่อประเทศ
ตามการเปรียบเทียบที่ดำเนินการโดย CRES พบว่าเปอร์เซ็นต์เหล่านี้สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจค่านิยมระดับชาติครั้งล่าสุดที่ดำเนินการในปี 2006 โดยพบว่า 40.9% ของประชากรทั้งหมดยืนยันว่าจะต่อสู้ในสงครามสมมุติ (hypothetical war)
เมื่อพิจารณาจากการสำรวจสำมะโนประชากรของอันดอร์ราแล้ว เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองที่เต็มใจสู้รบในสงครามสำหรับการสำรวจครั้งล่าสุดนี้จะมีทหารมากกว่า 44,000 นาย ซึ่งตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับ 1 ใน 3 ของจำนวนทหารอย่างสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่ติดกับอันดอร์รา
อันดอร์รามีเพียงกองทหารอาสาสมัครเล็กๆ ที่มีบทบาทเป็นเพียงพิธีการเท่านั้น การป้องกันทางทหารของอันดอร์ราจึงขึ้นอยู่กับสนธิสัญญาที่ลงนามกับสเปนและฝรั่งเศส (เช่น สนธิสัญญาเพื่อนบ้านที่ดี มิตรภาพ และความร่วมมือในปี 1993)
การสำรวจค่านิยมโลกแห่งชาติในอันดอร์ราโดยศูนย์วิจัยสังคมวิทยา (CRES) และมูลนิธิจูเลีย เรก (Julià Reig Foundation) ล่าสุดระบุว่า รัฐบาลอันดอร์ราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเข้าสู่สงครามเลยก็ว่าได้ เพราะมากกว่าครึ่งหนึ่งของชาวอันดอร์รา (57.5%) ยินดีที่จะต่อสู้เพื่อความขัดแย้งทางอาวุธเพื่อประเทศ
ตามการเปรียบเทียบที่ดำเนินการโดย CRES พบว่าเปอร์เซ็นต์เหล่านี้สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจค่านิยมระดับชาติครั้งล่าสุดที่ดำเนินการในปี 2006 โดยพบว่า 40.9% ของประชากรทั้งหมดยืนยันว่าจะต่อสู้ในสงครามสมมุติ (hypothetical war)
เมื่อพิจารณาจากการสำรวจสำมะโนประชากรของอันดอร์ราแล้ว เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองที่เต็มใจสู้รบในสงครามสำหรับการสำรวจครั้งล่าสุดนี้จะมีทหารมากกว่า 44,000 นาย ซึ่งตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับ 1 ใน 3 ของจำนวนทหารอย่างสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่ติดกับอันดอร์รา
ประวัติศาสตร์การทหารของอันดอร์รา

ในอดีต อันดอร์รามีกองทัพขนาดเล็ก ซึ่งสร้างใหม่ในวันที่ต่างๆ กัน แต่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยหลักการพื้นฐานการป้องกันอันดอร์ราก็คือ ชายฉกรรจ์ทุกคนพร้อมที่จะต่อสู้หากได้รับการเรียกร้องจาก ‘Sometent’ หรือองค์กรป้องกันพลเรือนแห่งอันดอร์รา และเนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลจึงทำให้อันดอร์ราไม่มีกองทัพเรือ
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อันดอร์รามีกองทหารอาสาสมัครนอกเวลาประมาณ 600 นายภายใต้การดูแลของกัปตัน (Capità / Cap de Sometent) และผู้หมวด (Desener / Lloctinent del Capità) กองทหารรักษาการณ์ไม่รับผิดชอบในการให้บริการนอกอาณาเขตและได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝรั่งเศสและบิชอปแห่งดูร์เฌ็ลย์ แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน
แม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่อันดอร์ราก็เป็นประเทศที่มีการสู้รบยาวนานที่สุด เนื่องจากประเทศนี้ถูกกันออกจากการประชุมสันติภาพแวร์ซายส์ (Versailles Peace Conference) ซึ่งทางเทคนิคแล้วยังคงอยู่ในสงครามกับเยอรมนีจากการประกาศสงครามครั้งแรกในปี 1914 จนถึงวันที่ 24 กันยายน 1958 เมื่ออันดอร์ราประกาศสันติภาพกับเยอรมนีอย่างเป็นทางการ
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อันดอร์รามีกองทหารอาสาสมัครนอกเวลาประมาณ 600 นายภายใต้การดูแลของกัปตัน (Capità / Cap de Sometent) และผู้หมวด (Desener / Lloctinent del Capità) กองทหารรักษาการณ์ไม่รับผิดชอบในการให้บริการนอกอาณาเขตและได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝรั่งเศสและบิชอปแห่งดูร์เฌ็ลย์ แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน
แม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่อันดอร์ราก็เป็นประเทศที่มีการสู้รบยาวนานที่สุด เนื่องจากประเทศนี้ถูกกันออกจากการประชุมสันติภาพแวร์ซายส์ (Versailles Peace Conference) ซึ่งทางเทคนิคแล้วยังคงอยู่ในสงครามกับเยอรมนีจากการประกาศสงครามครั้งแรกในปี 1914 จนถึงวันที่ 24 กันยายน 1958 เมื่ออันดอร์ราประกาศสันติภาพกับเยอรมนีอย่างเป็นทางการ
กองตำรวจอันดอร์รา

บทบาทของกองทัพในด้านความมั่นคงภายในส่วนใหญ่ถูกยึดครองโดยการจัดตั้งกองตำรวจอันดอร์ราในปี 1931 ความวุ่นวายช่วงสั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 1933 นำไปสู่การช่วยเหลือของกองทหารแห่งชาติฝรั่งเศส ภายใต้คำสั่งของ เคอเน่-จูลส์ โบลาร์ด (René-Jules Baulard)
แต่หลังจากนั้นตำรวจอันดอร์ราก็ได้รับการปฏิรูปในปีถัดมา พร้อมแต่งตั้งทหาร 11 นายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแล มีกองกำลังประกอบด้วยสิบโท 6 นาย โดยแบ่งเป็นเขตละ 1 คน (แม้ว่าตอนนี้จะมี 7 เขตในอันดอร์รา แต่มีเพียงนายตำรวจเพียง 6 นายจนถึงปี 1978) นอกจากนี้ยังมีนายตำรวจชั้นผู้น้อยอีก 4 นายเพื่อประสานงาน รวมถึงผู้บัญชาการที่มียศพันตรีด้วย
ปัจจุบัน กองพิธีการขนาดเล็กที่มีทหาร 12 นายยังคงเป็นส่วนถาวรเพียงหน่วยเดียวของ Sometent แต่ชายฉกรรจ์ทุกคนยังคงพร้อมสำหรับการรับราชการทหาร โดยมีข้อกำหนดว่าแต่ละครัวเรือนต้องมีอาวุธปืน และอนุญาตให้ใช้ปืนลูกซอง 1 กระบอกต่อครัวเรือน แต่ปืนไรเฟิลและปืนพกต้องมีใบอนุญาต
นอกจากนี้ สเปนและฝรั่งเศสก็ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกลาโหมภายใต้ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง 3 ประเทศอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอันดอร์รามีเพียงกองทหารอาสาสมัครกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
แต่หลังจากนั้นตำรวจอันดอร์ราก็ได้รับการปฏิรูปในปีถัดมา พร้อมแต่งตั้งทหาร 11 นายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแล มีกองกำลังประกอบด้วยสิบโท 6 นาย โดยแบ่งเป็นเขตละ 1 คน (แม้ว่าตอนนี้จะมี 7 เขตในอันดอร์รา แต่มีเพียงนายตำรวจเพียง 6 นายจนถึงปี 1978) นอกจากนี้ยังมีนายตำรวจชั้นผู้น้อยอีก 4 นายเพื่อประสานงาน รวมถึงผู้บัญชาการที่มียศพันตรีด้วย
ปัจจุบัน กองพิธีการขนาดเล็กที่มีทหาร 12 นายยังคงเป็นส่วนถาวรเพียงหน่วยเดียวของ Sometent แต่ชายฉกรรจ์ทุกคนยังคงพร้อมสำหรับการรับราชการทหาร โดยมีข้อกำหนดว่าแต่ละครัวเรือนต้องมีอาวุธปืน และอนุญาตให้ใช้ปืนลูกซอง 1 กระบอกต่อครัวเรือน แต่ปืนไรเฟิลและปืนพกต้องมีใบอนุญาต
ความปลอดภัยของพลเมืองในอันดอร์รา
ในแง่ความปลอดภัยของพลเมือง อันดอร์ราเป็นประเทศที่มีระดับความปลอดภัยสูงและมีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำ กองกำลังกึ่งทหาร ‘GIPA’ (Andorran Police Intervention Group) ซึ่งได้รับการฝึกฝนในการต่อต้านการก่อการร้ายและการจับตัวประกันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินอกจากนี้ สเปนและฝรั่งเศสก็ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกลาโหมภายใต้ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง 3 ประเทศอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอันดอร์รามีเพียงกองทหารอาสาสมัครกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
มีประเทศอื่นอีกไหมที่ไม่มี ‘กองทัพ’

นอกจากอันดอร์ราแล้วยังมีนครรัฐวาติกันที่ไม่มีกองทัพด้วย แต่แตกต่างกันตรงที่วาติกันไม่มีสนธิสัญญาการป้องกันที่ลงนามกับอิตาลี แม้ว่ากองทัพอิตาลีจะปกป้องดินแดนโดยรอบอย่างไม่เป็นทางการก็ตาม
ขณะที่ ลิกเตนสไตน์ ก็เป็นอีกประเทศเล็กๆ ที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ในกรณีเกิดสงคราม เนื่องจากรัฐบาลยกเลิกกองทัพในปี 1868 อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการกับออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ที่อยู่ใกล้เคียง ก็ได้ทั้ง 2 ประเทศให้ความช่วยเหลือทางทหารด้วย
ประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีทั้งกองทัพและกองกำลังทหาร ได้แก่ โดมินิกา (คนละประเทศกับสาธารณรัฐโดมินิกัน), เกรนาดา, คิริบาส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ไมโครนีเซีย, นาอูรู, ปาเลา, หมู่เกาะโซโลมอน, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ , ซามัว, เซนต์ลูเซีย และตูวาลู
ส่วนคอสตาริกาและไอซ์แลนด์นั้นเป็นประเทศที่ไม่มีกองทัพ แต่มีกองกำลังทหาร
มาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญคอสตาริกายกเลิกกองทัพในฐานะสถาบันถาวร แม้ว่าจะยังคงอนุญาตให้มีการจัดกองกำลังทหารเพื่อป้องกันหรือตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
และไอซ์แลนด์ซึ่งไม่มีกองทัพประจำการมาตั้งแต่ปี 1869 แต่ก็เป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ด้วย
สำหรับประเทศอื่นๆ ก็มีแผนที่จะดึงกองกำลังทหารเข้ามาร่วมด้วยหากว่าพวกเขาต้องการ ได้แก่ โมนาโก ปานามา มอริเชียส และวานูอาตู
ขณะที่ ลิกเตนสไตน์ ก็เป็นอีกประเทศเล็กๆ ที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ในกรณีเกิดสงคราม เนื่องจากรัฐบาลยกเลิกกองทัพในปี 1868 อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการกับออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ที่อยู่ใกล้เคียง ก็ได้ทั้ง 2 ประเทศให้ความช่วยเหลือทางทหารด้วย
ประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีทั้งกองทัพและกองกำลังทหาร ได้แก่ โดมินิกา (คนละประเทศกับสาธารณรัฐโดมินิกัน), เกรนาดา, คิริบาส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ไมโครนีเซีย, นาอูรู, ปาเลา, หมู่เกาะโซโลมอน, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ , ซามัว, เซนต์ลูเซีย และตูวาลู
ส่วนคอสตาริกาและไอซ์แลนด์นั้นเป็นประเทศที่ไม่มีกองทัพ แต่มีกองกำลังทหาร
มาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญคอสตาริกายกเลิกกองทัพในฐานะสถาบันถาวร แม้ว่าจะยังคงอนุญาตให้มีการจัดกองกำลังทหารเพื่อป้องกันหรือตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
และไอซ์แลนด์ซึ่งไม่มีกองทัพประจำการมาตั้งแต่ปี 1869 แต่ก็เป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ด้วย
สำหรับประเทศอื่นๆ ก็มีแผนที่จะดึงกองกำลังทหารเข้ามาร่วมด้วยหากว่าพวกเขาต้องการ ได้แก่ โมนาโก ปานามา มอริเชียส และวานูอาตู