‘ชาวรัสเซีย’ ชอบ ‘สงคราม’ จริงเหรอ?

26 มิ.ย. 2566 - 11:16

  • เยฟกีนิ ปริโกชิน หัวหน้ากองกำลังวากเนอร์ (Wagner) เดินทางออกจากเมืองรอสตอฟ ออน-ดอน (Rostov-on-Don) โดยมีกลุ่ม ‘แฟนคลับ’ จำนวนมากมารุมรอบรถของเขา

  • ฉากการร่ำลานี้กลายเป็นฉากไม่ปกติเนื่องจากผู้คนเหล่านี้กำลังสนับสนุน ‘คนทรยศ’

why-do-russians-still-want-to-fight-SPACEBAR-Thumbnail
เยฟกีนิ ปริโกชิน หัวหน้ากองกำลังวากเนอร์ (Wagner) เดินทางออกจากเมืองรอสตอฟ ออน-ดอน (Rostov-on-Don) ทางตอนใต้ของรัสเซียเมื่อค่ำวันเสาร์ (24 มิ.ย.) โดยมีกลุ่ม ‘แฟนคลับ’ จำนวนมากมารุมรอบรถของเขา พร้อมกับส่งเสียงเชียร์ ซึ่งฉากนี้กลายเป็นฉากไม่ปกติเนื่องจากผู้คนเหล่านี้กำลังสนับสนุน ‘คนทรยศ’  

อ่านเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับกองกำลังวากเนอร์ และปริโกชิน  แต่จากมุมมองของทหารรัสเซีย สงครามในยูเครนจะต้องดูราวกับฝันร้าย ในช่วงหนึ่งปีกว่าของการสู้รบ กองทหารรัสเซียเกือบ 200,000 นายเสียชีวิตหรือบาดเจ็บในปฏิบัติการทางทหารที่พิสูจน์แล้วว่าไร้ความสามารถและขาดความพร้อม ขณะที่ขวัญและกำลังใจของกองกำลังก็ลดน้อยลงทุกที  

ถึงอย่างนั้น ก็มีเสียงของชายชาวรัสเซียจำนวนหนึ่งที่ยังคงกระตือรือร้นที่จะ 'สู้' แม้บางส่วนจะบอกว่าอย่าพรากลูกชายหรือสามีของพวกเขาไปตายในสนามรบอีกเลย  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2bSnn41zrHsOgYsyjUkL3c/bd0644c70816ba0cec41d48953ceae8f/why-do-russians-still-want-to-fight-SPACEBAR-Photo01
Photo: Roman ROMOKHOV

จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า แท้จริงแล้ว 'คนรัสเซีย' ชอบสงครามจริงๆ หรือ? 

เหตุผลหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเลยคือ 'ความกลัว' ผู้ชายที่ถูกเรียกตัวเข้ากองทัพไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องก้มหน้ารับกรรม เพราะการต่อต้านสงครามถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ภายใต้การบังคับยังแฝงไปด้วย 'โฆษณาชวนเชื่อ' ที่บ่มเพาะ และปลูกฝังประชากรอยู่ตามผนังทุกครัวเรือน  

แม้ว่าความกลัวจะเริ่มคุกคามไปทั่วหมู่ชายชาตรี แต่ก็ยังมีชายอีกกว่า 36% ที่ 'สมัครใจ' จะเข้าร่วมสงคราม โดยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป  

ตัวเลข 36% นี้ ไม่ใช่สิ่งที่น่าตกใจนัก  

ย้อนกลับไปในสมัยช่วง 3 ทศวรรษนับตั้งแต่การสิ้นสุดของสหภาพโซเวียต เหล่าชายชาตรีต้องเผชิญกับการล่มสลายของอุตสาหกรรมต่างๆ งานที่หายไปเป็นล้านๆ ตำแหน่ง และอายุขัยที่สั้นลง พร้อมกับความเชื่อที่ว่า 'สงคราม' จะเปลี่ยนวิถีที่ตกต่ำ เปลี่ยนผู้แพ้ให้เป็นวีรบุรุษคนใหม่ แม้ว่าจะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บก็ตาม  

สำหรับชาวรัสเซียแล้ว สงครามอาจเป็นเรื่องสยองขวัญ แต่ก็เป็น 'โอกาสสุดท้าย' ที่จะแก้ไขชีวิตของพวกเขาด้วย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7wDLOsddcCjUGYryDWq78p/6e03d5b808d84a0914689e0599d2a616/why-do-russians-still-want-to-fight-SPACEBAR-Photo02
Photo: Roman ROMOKHOV

ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังสงคราม 

สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงคือ 'มีเงิน' โดยเงินเดือนพื้นฐานของรัฐบาลกลาง (รัสเซีย) สำหรับทหารอยู่ที่ประมาณ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 88,000 บาท) ต่อเดือน และยังมีเงินหนุนอีก 39,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.3 ล้านบาท) หากได้รับบาดเจ็บและสูงถึง 65,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.2 ล้านบาท)ในกรณีที่เสียชีวิต  

เมื่อเทียบกับเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ 545 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19,000 บาท) ของคนทั้งประเทศ การเป็นทหารถือเป็นอาชีพที่ได้รับผลตอบแทนที่ดี แน่นอนว่ามันดีสำหรับประชากรชาวรัสเซียประมาณ 15.3 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใต้เส้นความยากจน 

นอกจากข้อเสนอด้านผลตอบแทนแล้ว รัฐยังให้คำมั่นสัญญากับเหล่าแนวหน้าว่า หากกลับมาจากการสู้รบ จะได้เข้ารับงานราชการอย่างรวดเร็ว มีประกันสุขภาพ ขนส่งสาธารณะฟรี เรียนมหาวิทยาลัยฟรี และมีอาหารฟรีสำหรับลูกๆ ของเขา 

สำหรับผู้ที่ถูกคุมขัง (นักโทษ) ที่เข้าร่วมกับกองกำลังทหารรับจ้าง 'วากเนอร์' (Wagner) รัฐก็จะให้อิสระ และปล่อยตัวไปทำภารกิจ โดยที่ไม่ต้องถูกจำคุก  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3eytc3Q1GmQKsteKa9VqbV/d6e8b93231dd1dabcd14c648683a2d8a/why-do-russians-still-want-to-fight-SPACEBAR-Photo03
Photo: STRINGER

แน่นอนว่าคำมั่นสัญญาเหล่านั้น 'ไม่ได้เกิดขึ้นจริง' ทั้งหมด 

มีทหารจำนวนมากที่ไม่ได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย และครอบครัวผ่าน TV Rain พบว่า รัฐไม่ได้จ่ายเงิน ไม่ได้รับการฝึก และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก  

ตามวัฒนธรรมของรัสเซียแล้ว ไม่มีเกียรติใดที่จะสูงส่งไปกว่าการเป็นทหารผ่านศึกใน 'มหาสงครามแห่งความรักชาติ' ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะใช้ประโยชน์จากการตีกรอบสงครามในปัจจุบัน  

สิ่งนี้ทำให้เกิดความสับสนขึ้นในหมู่ประชากรชายรัสเซีย ไม่ต่างไปจากการโฆษณาชวนเชื่อ ก่อนหน้านี้มีทหารนายหนึ่งเขียนข้อความบนเทเลแกรม (Telegram) ว่า 'เขามีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่ยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ที่ปกป้องมาตุภูมิของเรา' 

ขณะที่เหล่าชนชั้นกลางและสูงในเมืองบางส่วน แสดงความไม่พอใจต่อสงครามจากการย้ายถิ่นฐาน แต่กลุ่มคนยากจนกลับเห็นต่างออกไป เนื่องจากความไม่วางใจในคนรวย และยังมีความเชื่อที่ว่าการคว่ำบาตรจะทำให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น นอกจากนี้ยังการดูถูกเหยียดหยามผู้อพยพล้วนเป็นเครื่องยืนยันถึงความขัดแย้งในระดับชนชั้น 

การเข้าร่วมในสงคราม เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวรัสเซียหลายล้านคนที่อยู่ล่างสุดของบันไดทางสังคมสามารถผงาดขึ้นมาเป็นวีรบุรุษที่แท้จริงของประเทศ พร้อมสำหรับการเสียสละครั้งสุดท้าย แม้ความเสี่ยงอาจร้ายแรงและผลตอบแทนทางการเงินไม่แน่นอน แต่โอกาสที่จะได้รับความนับถือและความเคารพก็สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ความพยายามนั้นคุ้มค่า 

อย่างไรก็ตาม ยิ่งสงครามยืดเยื้อออกไปนานเท่าไร ก็ยิ่งนำมาซึ่งการบาดเจ็บล้มตาย ความสูญเสีย และคำสัญญาที่ไม่อาจรักษาได้มากขึ้น เช่นเดียวกับการรักษาการยอมรับก็ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์