เป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้วหลังจากที่ฮามาสและอิสราเอลต่างเปิดฉากยิงทิ้งระเบิดใส่กันอย่างไม่ลดละ ขณะที่อิสราเอลก็ส่งสัญญาณว่ากองกำลังจำนวนมากพร้อมที่จะเข้าไปในฉนวนกาซาแล้วโดยมีเป้าหมายที่จะกำจัดกลุ่มฮามาสออกไปจากพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งยังมีการเรียกกองหนุนมากกว่า 300,000 คนเพื่อร่วมต่อสู้พร้อมกับกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) รวมถึงอาวุธครบมือที่เต็มไปด้วยรถถังเมอร์คาวา ปืนใหญ่อัตตาจร และทหารราบติดอาวุธหนักหลายพันนายในชุดรบเต็มรูปแบบ
แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายวัน ชาวโลกก็เริ่มตั้งคำถามว่า ‘อิสราเอลวางแผนที่จะโจมตีฉนวนกาซาทางภาคพื้นดินหรือไม่ พวกเขารออะไรอยู่ และหากบุกจะเริ่มเมื่อไหร่ และดำเนินการอย่างไร?
มีปัจจัยหลายประการที่บ่งชี้ว่า ‘ทำไมอิสราเอลไม่บุกฉนวนกาซา’ สักที
- การโจมตีต้องใช้เวลา
กองทัพอิสราเอลจำเป็นต้องวางแผน และจัดหากองกำลังซึ่งการดำเนินการนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร ขณะที่หลายๆ แหล่งข่าวระบุว่า ‘อิสราเอลกำลังพยายามอย่างหนักในการจัดหาเสบียงทางทหารที่สำคัญ เช่น ระเบิดทางอากาศซึ่งจำเป็นต้องเติมก่อนที่จะมีการโจมตีครั้งใหม่
แม้ว่าอิสราเอลจะผลิตกระสุนและระเบิดส่วนใหญ่ที่ใช้ในการโจมตี แต่ก็ยังไม่เต็มโกดังตามความต้องการ ขณะเดียวกันนายพลต่างก็รู้ดีว่าสถานการณ์ที่มีกำลังสำรองและเสบียงยังไม่พร้อมมากพอ และพวกเขากำลังฝึกฝนกองกำลัง พร้อมกับการผลิตอาวุธเพื่อความพร้อมในปฏิบัติการโจมตีฉนวนกาซาได้เต็มรูปแบบ
- ถูกไบเดนปราม?
การมาเยือนอิสราเอลของประธานาธิบดีโจ ไบเดนอย่างเร่งรีบในสัปดาห์นี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ‘สหรัฐฯ มีความกังวลเพียงใดเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลง’ โดยเฉพาะวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ทวีความรุนแรงขึ้น และความเสี่ยงที่ความขัดแย้งนี้จะแพร่กระจายไปทั่วตะวันออกกลาง
ไบเดนประกาศชัดเจนแล้วว่า เขาคัดค้านไม่ให้ชาวอิสราเอลยึดฉนวนกาซาคืน โดยกล่าวว่า “นี่จะเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่”
ในแง่ทางการนั้นไบเดนเยือนอิสราเอลเพื่อแสดงการสนับสนุนเชิงกลยุทธ์สำหรับพันธมิตรตะวันออกกลางที่ใกล้ที่สุดของอเมริกา และเพื่อรับทราบแผนการของอิสราเอลสำหรับฉนวนกาซา
ส่วนในแง่ที่ไม่เป็นทางการ ไบเดนอาจจะปรามให้รัฐบาลหัวรุนแรงของ เบนจามิน เนทันยาฮู ยับยั้งชั่งใจบ้าง และสหรัฐฯ เองก็ต้องการทราบว่าหากอิสราเอลเข้าไปในฉนวนกาซา แล้วมีแผนจะออกอย่างไร และเมื่อใด
และการที่อิสราเอลจะโจมตีฉนวนกาซาด้วยกำลังทหารเต็มรูปแบบในขณะที่เครื่องบินแอร์ฟอรอร์ซ วัน (เครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ) ยังจอดอยู่บนรันเวย์ในเมืองเทลอาวีฟ คงดูไม่ดีสำหรับทั้งสหรัฐฯ และอิสราเอลเป็นแน่
- คำเตือนของอิหร่าน
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อิหร่านได้ออกคำเตือนที่เข้มงวดต่ออิสราเอลเกี่ยวกับการโจมตีฉนวนกาซา ซึ่งถือเป็นข้อกังวลที่อิสราเอลเองก็ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นเดียวกัน เพราะอิหร่านนั้นเป็นผู้ให้ทุน รถไฟ อาวุธ และควบคุมกองกำลังติดอาวุธชีอะห์ (Shi'a militias) บางส่วนในตะวันออกกลาง โดยกลุ่มที่มีศักยภาพมากที่สุดก็คือ ‘กลุ่มฮิซบุลลอฮ์’ ในเลบานอนซึ่งอยู่ตรงข้ามชายแดนทางตอนเหนือของอิสราเอล
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าหากอิสราเอลบุกฉนวนกาซา กลุ่มฮิซบุลลอฮ์อาจเปิดแนวรบใหม่บนชายแดนทางตอนเหนือของอิสราเอล และนั่นอาจบังคับให้อิสราเอลต้องทำสงครามทั้ง 2 ด้านก็เป็นได้
- เหตุเพราะ ‘มนุษยธรรม’

แนวคิดของรัฐบาลอิสราเอลเกี่ยวกับวิกฤติด้านมนุษยธรรมมีแนวโน้มที่จะล้าหลังเมื่อพูดถึงการขจัดกลุ่มฮามาสออกจากฉนวนกาซา เพราะพวกเขามองว่าเมื่อใดก็ตามที่กองกำลังภาคพื้นดินของอิสราเอลบุกเข้าไปในฉนวนกาซา ยอดผู้เสียชีวิตก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ทหารอิสราเอลก็จะตายจากการซุ่มโจมตี การซุ่มยิง และกับดักด้วยเช่นกัน โดยการต่อสู้ส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นบริเวณอุโมงค์ใต้ดินของฮามาสที่ยาวหลายไมล์
แต่มีแนวโน้มว่าประชากรพลเรือนจะต้องเป็นผู้สูญเสียและสังเวยชีวิตมากมายหากมีการบุกฉนวนกาซาขึ้นจริงๆ
แล้วแนวโน้มที่อิสราเอลจะบุกฉนวนกาซาคือเมื่อไหร่?
หากอิสราเอลตัดสินใจที่จะบุกฉนวนกาซาจริงๆ คงจะเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันก็มีการคาดเดาว่าอิสราเอลอาจบุกเร็วที่สุดในช่วงสุดสัปดาห์นี้ หรือรอจังหวะที่กองกำลังและเสบียงอาวุธมีมากเพียงพอสำหรับการโจมตีครั้งใหญ่
และธรรมชาติของการบุกรุกนั้นสามารถคาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นการโจมตีทางบก ทางอากาศ หรือทางทะเลขนาดมหึมาที่มีการประสานงานจากปฏิบัติการหลายทิศทาง และอาจเกิดขึ้นกลางดึกก็เป็นได้
Photo by Jack Guez / AFP
อ่านเพิ่มเติม
- ถอดหน้ากากหน่วยรบพิเศษ ‘Shayetet-13’ ซีลแห่งอิสราเอลที่เพิ่งบุกช่วยตัวประกันจากฮามาส
- คนในฉนวนกาซาใช้ชีวิตกันยังไง? ท่ามกลางสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่
- ‘อุโมงค์ฉนวนกาซา’ อีกหนึ่งฐานลับที่ฮามาสใช้โจมตีอิสราเอลแบบไม่ให้รู้ตัว
- อิสลามิกญิฮาดที่ถูกอิสราเอลโบ้ยว่าถล่มโรงพยาบาลคือใคร
- ไม่หยุดยิง! อิสราเอลส่งสัญญาณ ‘บุกภาคพื้นดิน’ เข้ากาซาใกล้เข้ามาแล้ว!
- ลูกชายผู้นำฮามาสประณามกลุ่มก่อการร้ายชี้ ‘อิหร่าน’ อยู่เบื้องหลัง