สื่อต่างประเทศวิเคราะห์ การเลือกตั้งจะทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

3 เม.ย. 2566 - 05:10

  • นักวิชาการชี้ผลการเลือกตั้งอาจทำให้ได้พรรคร่วมที่เคยอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน

will-thailands-upcoming-elections-see-a-big-political-shift-SPACEBAR-Thumbnail
Deutsch Welle ของเยอรมนีรายงานว่า นับตั้งแต่ปี 2004 ประเทศที่ก็อยู่ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่ยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหาร และนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2019 ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ 

ประยุทธ์เสียความนิยม? 

DW ระบุว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับความไม่สงบทางการเมืองและปัญหาทางเศรษฐกิจ ในขณะที่สถาบันกษัตริย์ถูกท้าทาย ความนิยมในตัวนายกฯ ลดลง 

พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองคนสำคัญของพลเอกประยุทธ์และต่อต้านการปกครองของทหารยังคงเป็นผู้นำในการทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นเบื้องต้น โดยมีแคนดิเดตตัวเต็งของพรรคอย่าง แพรทองธาร ชินวัตร บุตรสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร 

พรรคร่วมใหม่เพื่อประเทศไทย? 

เคน เมธิส โลหเตปานนท์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเผยกับ DW ว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมาอาจทพให้ได้เห็นการรวมกันของพรรคฝ่ายตรงข้าม “มีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่เคยเป็นปฏิปักษ์กันคือ พลังประชารัฐและเพื่อไทยจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พยายามสร้างภาพตัวเองใหม่ในฐานะตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเอื้อต่อข้อตกลงดังกล่าวกับฝ่ายค้าน” 

DW ระบุว่า อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะได้รับความนิยม แต่พรรคเพื่อไทยและครอบครัวชินวัตรกลับไม่ได้รับความนิยมจากสถาบันกษัตริย์และบรรดาคนมั่งคั่งมายาวนานแล้ว 

ฌอน บุญประคอง อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลเผยกับ DW ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะไปทางไหน “เรามีเวลา 60 วัน อะไรก็เกิดขึ้นได้ คนไทยใจจดใจจ่อกับการเลือกตั้งครั้งนี้” และเสริมว่า ผลโพลล์ระบุว่า จำนวนผ็ที่ออกมาใช้สิทธิ์ในครั้งนี้น่าจะสูงกว่าการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2019  

โฟกัสที่เศรษฐกิจ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรุ่นใหม่ 

เศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองเนื่องจากไทยต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นและหนี้ครัวเรือนที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรดาผู้สมัครรับปากว่าจะขึ้นเงินเดือน มีงานที่ดีขึ้น และเงินสนับสนุนต่างๆ  

ข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่า  ปี 2022 เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียง 2.8% และคาดว่าปี 2023 จะเป็นอีกหนึ่งปีที่เศรษฐกิจเติบโตช้า  

วศินี พบูประภาพ นักข่าวชาวไทยเผยกับ DW ว่า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นใหม่ที่จะต้องมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย บรรดาคนรุ่นใหม่ “รู้สึกมีอิสระมากขึ้นเมื่อมีโอกาสในการลงคะแนน” และว่า อำนาจทางการเมืองของทหารทำให้เยาวชนของประเทศหมดสิ้นความศรัทธา  

“คนหนุ่มสาวคิดว่านี่อาจเป็นโอกาสและเป็นเวทีสำหรับรัฐบาลพลเรือน” วศินีเผย 

วศินีเชื่อว่าการลงถนนประท้วงอาจเกิดขึ้นหากผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทหารชนะการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี เธอเผยอีกว่า อิทธิพลของทหารในรัฐสภาของไทยลดลง และการเปลี่ยนผ่านเพื่อลดอำนาจของพลเอกประยุทธ์และระบอบทหารกำลังจะมาถึง 

“ถึงพลเอกประยุทธ์จะเป็นนายกรัฐมนตรี เขาจะต้องต่อรองอย่างมากในฐานะนักการเมือง เขาจะไม่กลับไปสู่รัฐบาลทหาร มันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง มันจะเป็นก้าวเล็กๆ” วศีนีเผย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์