บทวิเคราะห์จากเว็บไซต์ Diplomat พูดถึงการประกาศเตรียมกลับไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ว่า เกิดขึ้นท่ามกลางภาวะชะงักงันทางการเมืองที่ยืดเยื้อในประเทศไทยหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง แต่ถูกสกัดไม่ให้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี เพราะฝ่ายอนุรักษนิยมในสภาคัดค้าน
The Diplomat ระบุต่อว่า ทักษิณที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายถึง 2 ครั้งถูกทำรัฐประหารเมื่อปี 2006 และออกจากเมืองไทยไปตั้งแต่ปี 2008 เพื่อหลีกเลี่ยงโทษจำคุกจากคดีคอร์รัปชัน นับจากนั้นทักษิณก็ประกาศว่าจะดินทางกลับไทยหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นเลย รวมทั้งก่อนการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม
ถึงอย่างนั้นก็มีหลายเหตุผลให้คิดได้ว่าครั้งนี้ทักษิณอาจกลับจริงๆ วันที่ 14 สิงหาคมจะมีการประชุมสภาเพื่อลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 และมีความเป็นไปได้สูงว่าแคนดิเดตที่จะได้รับเลือกจะมาจากพรรคเพื่อไทย
หลังจากเป็นที่ชิงชังของฝ่ายอีลีตอนุรักษนิยมของไทยมานานหลายปี ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกลายเป็นตัวเลือกที่แย่น้อยกว่าไปเสียแล้วหลังจากพรรคก้าวไกลผงาดขึ้นมา การเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งอย่างน่าทึ่งด้วยที่นั่ง 151 ที่จาก 500 ที่ในสภาผูแทนราษฎร จากนโยบายปฏิรูปกองทัพ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และลดการผูกขาดธุรกิจ และที่เปลี่ยนหนักที่สุดในมุมมองของฝั่งอนุรักษนิยมคือ การแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ด้วยเหตุผลนี้ ฝั่งอนุรักษนิยม รวมทั้ง 250 ส.ว.ที่กองทัพแต่งตั้งก็สามัคคีกันขวางไม่ให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตั้งคณะรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ส.ว.ร่วมกับ ส.ส.อนุรักษนิยมไม่ยกมือหนุนพิธาเป็นนายกฯ และวันที่ 19 ก็ขวางไม่ให้เสนอชื่อพิธาซ้ำเป็นครั้งที่ 2
ตอนนี้พรรคก้าวไกลยินดีให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ และสนับสนุนการตั้งคณะรัฐบาลภายใต้การนำของเพื่อไทย คนที่น่าจะเป็นแคนดิเดตคือ เศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกมองว่าถูกใจฝั่งอนุรักษนิยม และแน่นอนว่าพรรคฝั่งอนุรักษนิยมและ ส.ว. ก็พากันเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยเขี่ยพรรคก้าวไกลออกจากพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อแลกกับการยกมือสนับสนุนเพื่อไทย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก้าวไกลที่ได้สียงมากที่สุดจะกลายเป็นฝ่ายค้าน ส่วนประเทศไทยอาจต้องเผชิญการลงถนนประท้วงอีกครั้ง
แต่ทั้งหมดนี้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ในช่วงเวลาที่ทักษิณวางแผนกลับไทย โดยอาจได้รับการสนับสนุนจากฝั่งอนุรักษนิยม ไม่ว่าสถานการณ์บนถนนจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดเงื่อนไขที่ทักษิณจะกลับมา แล้วก็เป็นไปตามคาดเมื่อ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ รักษาการณ์เผยว่า หากทักษิณกลับมาจะถูกส่งตัวไปศาลและไปเรือนจำทันทีที่มาถึงสนามบิน แต่เมื่อถูกควบคุมตัวแล้วทักษิณสามารถขอพระราชทานอภัยโทษ
The Diplomat เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแปลกๆ ที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทยนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของก้าวไกล อันที่จริงการที่การกลับมาของทักษิณป็นที่พออกพอใจของฝั่งอนุรักษนิยมยิ่งบ่งชี้ว่าฝั่งอนุรักนิยมรู้สึกหวั่นเกรงการผงาดของก้าวไกล
ยังมีอีกหลายอย่างไม่แน่ชัดว่าการปรับเปลี่ยนนี้จะออกมาอย่างไร เพื่อไทยจะร่วมรัฐบาลกับกลุ่มผู้ทรงอำนาจหรือไม่และจะกระทบกับเสียงสนับสนุนหรือไม่ และกองเชียร์รุ่นเยาว์ของก้าวไกลจะมีปฏิกิริยาอย่างไรหากพรรคต้องถอยกลับไปเป็นฝ่ายค้าน
อย่างไรก็ดี เป็นที่แน่ชัดว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ทางออกของวิกฤตการเมืองที่เป็นวัฏจักรของประเทศไทย แต่เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนบางอย่างภายในค่ายหลักเท่านั้น
The Diplomat ระบุต่อว่า ทักษิณที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายถึง 2 ครั้งถูกทำรัฐประหารเมื่อปี 2006 และออกจากเมืองไทยไปตั้งแต่ปี 2008 เพื่อหลีกเลี่ยงโทษจำคุกจากคดีคอร์รัปชัน นับจากนั้นทักษิณก็ประกาศว่าจะดินทางกลับไทยหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นเลย รวมทั้งก่อนการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม
ถึงอย่างนั้นก็มีหลายเหตุผลให้คิดได้ว่าครั้งนี้ทักษิณอาจกลับจริงๆ วันที่ 14 สิงหาคมจะมีการประชุมสภาเพื่อลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 และมีความเป็นไปได้สูงว่าแคนดิเดตที่จะได้รับเลือกจะมาจากพรรคเพื่อไทย
หลังจากเป็นที่ชิงชังของฝ่ายอีลีตอนุรักษนิยมของไทยมานานหลายปี ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกลายเป็นตัวเลือกที่แย่น้อยกว่าไปเสียแล้วหลังจากพรรคก้าวไกลผงาดขึ้นมา การเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งอย่างน่าทึ่งด้วยที่นั่ง 151 ที่จาก 500 ที่ในสภาผูแทนราษฎร จากนโยบายปฏิรูปกองทัพ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และลดการผูกขาดธุรกิจ และที่เปลี่ยนหนักที่สุดในมุมมองของฝั่งอนุรักษนิยมคือ การแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ด้วยเหตุผลนี้ ฝั่งอนุรักษนิยม รวมทั้ง 250 ส.ว.ที่กองทัพแต่งตั้งก็สามัคคีกันขวางไม่ให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตั้งคณะรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ส.ว.ร่วมกับ ส.ส.อนุรักษนิยมไม่ยกมือหนุนพิธาเป็นนายกฯ และวันที่ 19 ก็ขวางไม่ให้เสนอชื่อพิธาซ้ำเป็นครั้งที่ 2
ตอนนี้พรรคก้าวไกลยินดีให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ และสนับสนุนการตั้งคณะรัฐบาลภายใต้การนำของเพื่อไทย คนที่น่าจะเป็นแคนดิเดตคือ เศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกมองว่าถูกใจฝั่งอนุรักษนิยม และแน่นอนว่าพรรคฝั่งอนุรักษนิยมและ ส.ว. ก็พากันเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยเขี่ยพรรคก้าวไกลออกจากพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อแลกกับการยกมือสนับสนุนเพื่อไทย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก้าวไกลที่ได้สียงมากที่สุดจะกลายเป็นฝ่ายค้าน ส่วนประเทศไทยอาจต้องเผชิญการลงถนนประท้วงอีกครั้ง
แต่ทั้งหมดนี้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ในช่วงเวลาที่ทักษิณวางแผนกลับไทย โดยอาจได้รับการสนับสนุนจากฝั่งอนุรักษนิยม ไม่ว่าสถานการณ์บนถนนจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดเงื่อนไขที่ทักษิณจะกลับมา แล้วก็เป็นไปตามคาดเมื่อ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ รักษาการณ์เผยว่า หากทักษิณกลับมาจะถูกส่งตัวไปศาลและไปเรือนจำทันทีที่มาถึงสนามบิน แต่เมื่อถูกควบคุมตัวแล้วทักษิณสามารถขอพระราชทานอภัยโทษ
The Diplomat เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแปลกๆ ที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทยนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของก้าวไกล อันที่จริงการที่การกลับมาของทักษิณป็นที่พออกพอใจของฝั่งอนุรักษนิยมยิ่งบ่งชี้ว่าฝั่งอนุรักนิยมรู้สึกหวั่นเกรงการผงาดของก้าวไกล
ยังมีอีกหลายอย่างไม่แน่ชัดว่าการปรับเปลี่ยนนี้จะออกมาอย่างไร เพื่อไทยจะร่วมรัฐบาลกับกลุ่มผู้ทรงอำนาจหรือไม่และจะกระทบกับเสียงสนับสนุนหรือไม่ และกองเชียร์รุ่นเยาว์ของก้าวไกลจะมีปฏิกิริยาอย่างไรหากพรรคต้องถอยกลับไปเป็นฝ่ายค้าน
อย่างไรก็ดี เป็นที่แน่ชัดว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ทางออกของวิกฤตการเมืองที่เป็นวัฏจักรของประเทศไทย แต่เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนบางอย่างภายในค่ายหลักเท่านั้น