อย่างที่ทราบกันดีว่าพรรคก้าวไกลพร้อมแนวร่วมที่หวังจะจัดตั้งรัฐบาลในตอนนี้ ต้องเอาชนะกลุ่มเสียงที่ทรงพลังของวุฒิสภา หรือส.ว. โดย CNN ได้เขียนวิเคราะห์เอาไว้ได้น่าสนใจไว้ 2 ประเด็น นั่นก็คือการทำรัฐประหาร และการยุบพรรค
เส้นแบ่งที่อันตราย
CNN ระบุว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญในยุครัฐบาลทหาร ส.ว.จำนวน 250 คนในสภา ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้รับเลือกโดยกองทัพทั้งหมด และเคยลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่เป็นทหารมาก่อน
เนื่องจากพรรคต้องการเสียงข้างมากจากสภารวมกันที่จำนวน 750 ที่นั่ง เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี หมายความว่าพรรคฝ่ายค้านต้องการคะแนนเสียงมากกว่าเกือบ 3 เท่าในสภาล่างจึงจะสามารถเลือกตั้งผู้นำคนต่อไปและจัดตั้งรัฐบาลได้
ในปี 2019 ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารได้รับคะแนนเสียงจากส.ว. ซึ่งทำให้พรรคร่วมรัฐบาลของเขาได้รับที่นั่งมากพอที่จะเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีภัยคุกคามอื่นๆ เพื่อชัยชนะของพรรคก้าวไกล พรรคต่างๆ ที่เคยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ต่อต้านสถาบันอนุรักษนิยมซึ่งเป็นสายสัมพันธ์ของทหาร สถาบันกษัตริย์ และผู้มีอิทธิพล
ฝ่ายนิติบัญญัติเผชิญกับการแบน พรรคถูกยุบ และรัฐบาลถูกล้มล้าง ประเทศไทยได้เห็นการรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จนับสิบครั้งนับตั้งแต่ปี 1932 รวมถึง 2 ครั้งในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการต่อต้านการทุจริต และศาลรัฐธรรมนูญ ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากการจัดตั้ง
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้สิ่งที่พรรคก้าวไกลได้เปรียบคือส่วนต่างที่ล้นหลามเหนือพรรคที่ได้รับการสนับสนุนจากทหาร
“หากผลลัพธ์ออกมาไม่ชัดเจน หรือหากฝ่ายสนับสนุนทหารมีมากขึ้น เราคงจะมองหาการชักใย แต่ผลลัพธ์ชัดเจนมาก และยากจะล้มตอนนี้” ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์ กล่าวพร้อมเสริมว่า หากมีความพยายามที่จะล้มล้างการลงคะแนนประชาชนจะโกรธแค้นและประท้วง
พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นชื่อพรรคก่อนหน้าพรรคก้าวไกล คว้าที่นั่งได้มากเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2019 หลังจากนั้นไม่นาน แกนนำพรรคหลายๆ คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองและต่อมาพรรคก็ถูกยุบหลังจากศาลตัดสินว่าละเมิดกฎการเงินการเลือกตั้ง
ในระยะสั้นการตัดสินใจดังกล่าวยุติการคุกคามจากพรรคอนาคตใหม่ แต่ยังวางรากฐานสำหรับการลงคะแนนเสียงครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันอาทิตย์ (14 พ.ค.) ที่ผ่านมาในหลายๆ ด้าน
การประท้วงที่นำโดยเยาวชนปะทุขึ้นทั่วประเทศไทยในปี 2020 หลังจากพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค และเกิดผู้นำทางการเมืองซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ บางคนเต็มใจที่จะอภิปรายในหัวข้อ ‘ต้องห้าม’ นั่นคือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
เสียงเรียกร้องเหล่านั้นทำให้ประเทศไทย ‘ตื่น’ อีกครั้งจากการอภิปรายอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามจากการถูกคุมขังภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดที่สุดฉบับหนึ่งของโลก แกนนำเยาวชนหลายคนถูกจำคุกหรือถูกดำเนินคดีต่อเนื่องจากการประท้วง แต่บางคนก็เดินหน้าสร้างพรรคก้าวไกลซึ่งกวาดชัยชนะไปอย่างล้นหลาม
นั่นทำให้ ส.ว. ที่ได้รับการจัดตั้งโดยกองทัพถูกขังอยู่ในการต่อสู้ทางการเมืองกับพรรคที่ยังคงรักษาเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การรัฐประหารอีกครั้งจะมีราคาที่ต้องจ่ายสูง และการยุบพรรคด้วยคำสั่งดังกล่าวจะ ‘รุนแรง’
“การยุบพรรคเป็นการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างรุนแรง หากมีวิธีใดที่จะรักษาพรรคก้าวไกลไว้โดยไม่ล้มเลิก พวกนักการเมืองหัวโบราณก็น่าจะทำแบบนั้นนะ ซึ่งนี่ไม่ใช่ขั้นตอนที่รุนแรงเท่ากับการล้มล้างเจตจำนงที่ผู้คนแสดงออกมา” ซูซานนาห์ แพตตัน ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Lowy Institute กล่าว
“แต่คุณไม่สามารถออกกฎนั้นได้” แพตตันกล่าว
เราไม่อาจเลี่ยง ‘เสียงโหวตเพื่อการเปลี่ยนแปลง’ ได้
เสน่ห์ของพรรคก้าวไกลมีมากกว่าการโหวตของเยาวชนซึ่งเป็นเหมือนฐานเสียง เนื่องจากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการได้ชี้ให้เห็นว่าพรรคก้าวไกลได้รับ 32 ที่นั่งจาก 33 ที่นั่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นคงของพรรคอนุรักษนิยม
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองต่างเอือมระอากับรัฐบาลที่กองทัพจัดหามาเกือบทศวรรษ” แพตตันกล่าวพร้อมเสริมว่า พวกเขาต้องการเลือกสิ่งที่แตกต่างออกไป และพรรคก้าวไกล ไม่ใช่แค่พรรคของเยาวชนเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วสามารถดึงดูดกลุ่มสนับสนุนที่กว้างขึ้นได้เช่นกัน
วาระที่รุนแรงของก้าวไกล ซึ่งได้แก่ การปฏิรูปกองทัพ การกำจัดร่างกฎหมาย การลดงบประมาณของกองทัพ ทำให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและนำกองทัพและสถาบันกษัตริย์มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ชัยชนะของพรรคเหนือพรรคเพื่อไทยก็มีความสำคัญเช่นกัน นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเดิมทีมี ทิกษิณ ชินวัตร เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี พ่ายแพ้การเลือกตั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2001 และความพ่ายแพ้เพียงเล็กน้อยนี้ แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต่อวงจรการเมืองแบบเก่าที่เปิดโอกาสให้พรรคประชานิยมที่เชื่อมโยงกับทักษิณ
“ระบบ 2 พรรคของไทยพังทลายไปแล้วในปี 2019 ต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงพังทลายต่อไป” แพตตันกล่าว
ในการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ (15 พ.ค.) ที่ผ่านมา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลกล่าวว่า พรรคจะเดินหน้าตามแผนแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดของประเทศ ซึ่งเป็นคำมั่นสำคัญในการหาเสียง แม้จะมีข้อห้ามเกี่ยวกับการอภิปรายเกี่ยวกับราชวงศ์ในประเทศไทยก็ตาม
สิ่งสำคัญประการหนึ่งของเขาคือการสนับสนุนเยาวชนที่ต้องโทษจำคุกในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพิธาเตือนว่าหากกฎหมายยังคงเป็นเช่นเดิม ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับสถาบันกษัตริย์จะเลวร้ายลงเท่านั้น
ฐิตินันท์กล่าวว่า นโยบายของเขาคือการโจมตีที่หัวใจของสถาบัน และแม้กระทั่งการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยเป็นการดูหมิ่นพระราชวัง
ขณะที่พรรคก้าวไกลกำลังเดินหน้าสร้างพันธมิตรกับพรรคฝ่ายค้านอีก 4 พรรคเพื่อรักษาเสียงข้างมากในสภาล่าง อาจใช้เวลา 60 วันก่อนที่ผู้สมัครจะได้รับการรับรอง แต่ผลลัพธ์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ประชาชนพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
เส้นแบ่งที่อันตราย
CNN ระบุว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญในยุครัฐบาลทหาร ส.ว.จำนวน 250 คนในสภา ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้รับเลือกโดยกองทัพทั้งหมด และเคยลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่เป็นทหารมาก่อน
เนื่องจากพรรคต้องการเสียงข้างมากจากสภารวมกันที่จำนวน 750 ที่นั่ง เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี หมายความว่าพรรคฝ่ายค้านต้องการคะแนนเสียงมากกว่าเกือบ 3 เท่าในสภาล่างจึงจะสามารถเลือกตั้งผู้นำคนต่อไปและจัดตั้งรัฐบาลได้
ในปี 2019 ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารได้รับคะแนนเสียงจากส.ว. ซึ่งทำให้พรรคร่วมรัฐบาลของเขาได้รับที่นั่งมากพอที่จะเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีภัยคุกคามอื่นๆ เพื่อชัยชนะของพรรคก้าวไกล พรรคต่างๆ ที่เคยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ต่อต้านสถาบันอนุรักษนิยมซึ่งเป็นสายสัมพันธ์ของทหาร สถาบันกษัตริย์ และผู้มีอิทธิพล
ฝ่ายนิติบัญญัติเผชิญกับการแบน พรรคถูกยุบ และรัฐบาลถูกล้มล้าง ประเทศไทยได้เห็นการรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จนับสิบครั้งนับตั้งแต่ปี 1932 รวมถึง 2 ครั้งในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการต่อต้านการทุจริต และศาลรัฐธรรมนูญ ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากการจัดตั้ง
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้สิ่งที่พรรคก้าวไกลได้เปรียบคือส่วนต่างที่ล้นหลามเหนือพรรคที่ได้รับการสนับสนุนจากทหาร
“หากผลลัพธ์ออกมาไม่ชัดเจน หรือหากฝ่ายสนับสนุนทหารมีมากขึ้น เราคงจะมองหาการชักใย แต่ผลลัพธ์ชัดเจนมาก และยากจะล้มตอนนี้” ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์ กล่าวพร้อมเสริมว่า หากมีความพยายามที่จะล้มล้างการลงคะแนนประชาชนจะโกรธแค้นและประท้วง
พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นชื่อพรรคก่อนหน้าพรรคก้าวไกล คว้าที่นั่งได้มากเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2019 หลังจากนั้นไม่นาน แกนนำพรรคหลายๆ คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองและต่อมาพรรคก็ถูกยุบหลังจากศาลตัดสินว่าละเมิดกฎการเงินการเลือกตั้ง
ในระยะสั้นการตัดสินใจดังกล่าวยุติการคุกคามจากพรรคอนาคตใหม่ แต่ยังวางรากฐานสำหรับการลงคะแนนเสียงครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันอาทิตย์ (14 พ.ค.) ที่ผ่านมาในหลายๆ ด้าน
การประท้วงที่นำโดยเยาวชนปะทุขึ้นทั่วประเทศไทยในปี 2020 หลังจากพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค และเกิดผู้นำทางการเมืองซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ บางคนเต็มใจที่จะอภิปรายในหัวข้อ ‘ต้องห้าม’ นั่นคือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
เสียงเรียกร้องเหล่านั้นทำให้ประเทศไทย ‘ตื่น’ อีกครั้งจากการอภิปรายอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามจากการถูกคุมขังภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดที่สุดฉบับหนึ่งของโลก แกนนำเยาวชนหลายคนถูกจำคุกหรือถูกดำเนินคดีต่อเนื่องจากการประท้วง แต่บางคนก็เดินหน้าสร้างพรรคก้าวไกลซึ่งกวาดชัยชนะไปอย่างล้นหลาม
นั่นทำให้ ส.ว. ที่ได้รับการจัดตั้งโดยกองทัพถูกขังอยู่ในการต่อสู้ทางการเมืองกับพรรคที่ยังคงรักษาเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การรัฐประหารอีกครั้งจะมีราคาที่ต้องจ่ายสูง และการยุบพรรคด้วยคำสั่งดังกล่าวจะ ‘รุนแรง’
“การยุบพรรคเป็นการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างรุนแรง หากมีวิธีใดที่จะรักษาพรรคก้าวไกลไว้โดยไม่ล้มเลิก พวกนักการเมืองหัวโบราณก็น่าจะทำแบบนั้นนะ ซึ่งนี่ไม่ใช่ขั้นตอนที่รุนแรงเท่ากับการล้มล้างเจตจำนงที่ผู้คนแสดงออกมา” ซูซานนาห์ แพตตัน ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Lowy Institute กล่าว
“แต่คุณไม่สามารถออกกฎนั้นได้” แพตตันกล่าว
เราไม่อาจเลี่ยง ‘เสียงโหวตเพื่อการเปลี่ยนแปลง’ ได้
เสน่ห์ของพรรคก้าวไกลมีมากกว่าการโหวตของเยาวชนซึ่งเป็นเหมือนฐานเสียง เนื่องจากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการได้ชี้ให้เห็นว่าพรรคก้าวไกลได้รับ 32 ที่นั่งจาก 33 ที่นั่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นคงของพรรคอนุรักษนิยม
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองต่างเอือมระอากับรัฐบาลที่กองทัพจัดหามาเกือบทศวรรษ” แพตตันกล่าวพร้อมเสริมว่า พวกเขาต้องการเลือกสิ่งที่แตกต่างออกไป และพรรคก้าวไกล ไม่ใช่แค่พรรคของเยาวชนเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วสามารถดึงดูดกลุ่มสนับสนุนที่กว้างขึ้นได้เช่นกัน
วาระที่รุนแรงของก้าวไกล ซึ่งได้แก่ การปฏิรูปกองทัพ การกำจัดร่างกฎหมาย การลดงบประมาณของกองทัพ ทำให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและนำกองทัพและสถาบันกษัตริย์มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ชัยชนะของพรรคเหนือพรรคเพื่อไทยก็มีความสำคัญเช่นกัน นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเดิมทีมี ทิกษิณ ชินวัตร เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี พ่ายแพ้การเลือกตั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2001 และความพ่ายแพ้เพียงเล็กน้อยนี้ แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต่อวงจรการเมืองแบบเก่าที่เปิดโอกาสให้พรรคประชานิยมที่เชื่อมโยงกับทักษิณ
“ระบบ 2 พรรคของไทยพังทลายไปแล้วในปี 2019 ต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงพังทลายต่อไป” แพตตันกล่าว
ในการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ (15 พ.ค.) ที่ผ่านมา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลกล่าวว่า พรรคจะเดินหน้าตามแผนแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดของประเทศ ซึ่งเป็นคำมั่นสำคัญในการหาเสียง แม้จะมีข้อห้ามเกี่ยวกับการอภิปรายเกี่ยวกับราชวงศ์ในประเทศไทยก็ตาม
สิ่งสำคัญประการหนึ่งของเขาคือการสนับสนุนเยาวชนที่ต้องโทษจำคุกในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพิธาเตือนว่าหากกฎหมายยังคงเป็นเช่นเดิม ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับสถาบันกษัตริย์จะเลวร้ายลงเท่านั้น
ฐิตินันท์กล่าวว่า นโยบายของเขาคือการโจมตีที่หัวใจของสถาบัน และแม้กระทั่งการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยเป็นการดูหมิ่นพระราชวัง
ขณะที่พรรคก้าวไกลกำลังเดินหน้าสร้างพันธมิตรกับพรรคฝ่ายค้านอีก 4 พรรคเพื่อรักษาเสียงข้างมากในสภาล่าง อาจใช้เวลา 60 วันก่อนที่ผู้สมัครจะได้รับการรับรอง แต่ผลลัพธ์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ประชาชนพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง