จากประเด็นที่เพจเฟซบุ๊ก ‘จอดับ’ ได้ออกมาโพสต์กรณีพนักงานของสำนักข่าวแห่งหนึ่งเสียชีวิตคาสำนักงานหลังโหมทำงานหนักติดต่อกันจนไม่มีเวลาพัก ภายหลังที่เรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกไปก็กลายเป็นกระแสและถูกวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมาก
จริงๆ แล้วในกรณีทำงานหนักจนตายนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งในประเทศไทย ปัจจุบันยังมีมนุษย์เงินเดือนอีกหลายคนเลยล่ะที่อุทิศทั้งชีวิตให้กับงาน บางคนบอกว่าเพื่อสร้างตัวสร้างฐานะ บ้างก็บอกว่ามันเป็นหน้าที่ หรือบางคนชอบทำงานมากๆ ก็มี แต่มันจะดีกว่าไหมถ้าเรารู้จักสร้างความสมดุลชีวิตระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวให้ดี
แล้วรู้หรือไม่ว่าในต่างประเทศอย่างจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อว่าพลเมืองนั้นบ้างานสุดๆ ก็เกิดเหตุการณ์พนักงาน ‘ทำงานจนตาย’ มาหลายรายแล้วด้วยเช่นกัน
จริงๆ แล้วในกรณีทำงานหนักจนตายนี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งในประเทศไทย ปัจจุบันยังมีมนุษย์เงินเดือนอีกหลายคนเลยล่ะที่อุทิศทั้งชีวิตให้กับงาน บางคนบอกว่าเพื่อสร้างตัวสร้างฐานะ บ้างก็บอกว่ามันเป็นหน้าที่ หรือบางคนชอบทำงานมากๆ ก็มี แต่มันจะดีกว่าไหมถ้าเรารู้จักสร้างความสมดุลชีวิตระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวให้ดี
แล้วรู้หรือไม่ว่าในต่างประเทศอย่างจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อว่าพลเมืองนั้นบ้างานสุดๆ ก็เกิดเหตุการณ์พนักงาน ‘ทำงานจนตาย’ มาหลายรายแล้วด้วยเช่นกัน
วัฒนธรรมการทำงานของ ‘996’ ของจีน

ครั้งหนึ่ง แจ็ค หม่า มหาเศรษฐีชาวจีน ผู้ร่วมก่อตั้งอาลีบาบา กรุ๊ป เคยพูดว่า “ผมขอถามทุกคนว่า ถ้าคุณไม่ทุ่มเทเวลาและแรงกายให้มากกว่าคนอื่น คุณจะประสบความสำเร็จที่คุณต้องการได้อย่างไร…ผมไม่เสียใจ (ทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน) ผมจะไม่มีวันเปลี่ยนส่วนนี้ของผม”
ระบบการทำงานแบบ ‘9-9-6’ ก็คือ การทำงานตั้งแต่ 9.00-21.00 น. เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์รวมทั้งหมด 72 ชั่วโมง ซึ่งตารางการทำงานในลักษณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติมากในจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ทว่าคนรุ่นใหม่กว่าครึ่งของจีนกลับยอมรับกับระบบการทำงานที่แทบจะกินเวลาส่วนตัวในชีวิตประจำวันไปเสียได้ โดยจากการสำรวจของ Just So Soul Institute เมื่อปีที่แล้ว (2022) พบว่า 51.43% ของคนทำงานยอมที่จะทำงานตามระบบ 996 เพื่อแลกกับค่าตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ และมีเพียง 16.26% ที่ระบุว่ารับไม่ได้และอยากลาออก ขณะที่ 29.89% ระบุว่าจะฝืนใจทำจนกว่าจะหางานใหม่ได้
ถึงกระนั้น เมื่อคนวัยหนุ่มสาวเลือกที่จะทำงานตามระบบนี้แล้ว ผลกระทบที่ตามมาก็คือ อัตราการเกิดของจีนนั้นยังคงลดลงต่อเนื่อง เพราะคนหนุ่มสาวระบุว่าการทำงานล่วงเวลาอยู่เสมอทำให้พวกเขาไม่มีเวลาตกหลุมรัก แต่งงาน หรือมีลูก พวกเขาแทบจะไม่มีชีวิตส่วนตัวเลยนอกเหนือจากการทำงาน
จนกระทั่งเมื่อช่วงต้นปี 2021 ระบบ 996 ก็สร้างเรื่องในบริษัท Pinduoduo จนเกิดเป็นคดีความใหญ่ที่รัฐบาลให้ความสนใจอย่างมากหลังเกิดเหตุพนักงานหญิงเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป ในขณะที่อีกคนหนึ่งเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย โดยทางศาลสูงสุดของจีนและกระทรวงแรงงานต่างก็ระบุว่า ตารางการทำงาน 996 นั้นผิดกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจากนั้นก็มีคดีฟ้องร้องในศาลเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงานอย่างน้อย 10 คดี ซึ่งพบว่าพนักงานก็ชนะมาโดยตลอด
ในเดือนมีนาคม 2022 รัฐบาลจีนได้เปิดตัวความคิดริเริ่มที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพื่อควบคุมวัฒนธรรมการทำงาน 996 โดยมีบริษัทเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางของการสอบสวนครั้งนี้ นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นยังระบุด้วยว่าจะมีบทลงโทษที่เข้มงวดสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน
ขณะที่กระทรวงประกันสังคมของปักกิ่ง รวมถึงมณฑลอื่นๆ เช่น ซานตง อานฮุย เหอหนาน กว่างซี ชิงไห่ หูหนาน หูเป่ย์ ก็เริ่มการสอบสวนเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน พร้อมทั้งตรวจสอบว่าพนักงานได้รับสิทธิ์ในชั่วโมงการทำงานและเวลาพักร้อนหรือไม่
ระบบการทำงานแบบ ‘9-9-6’ ก็คือ การทำงานตั้งแต่ 9.00-21.00 น. เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์รวมทั้งหมด 72 ชั่วโมง ซึ่งตารางการทำงานในลักษณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติมากในจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ทว่าคนรุ่นใหม่กว่าครึ่งของจีนกลับยอมรับกับระบบการทำงานที่แทบจะกินเวลาส่วนตัวในชีวิตประจำวันไปเสียได้ โดยจากการสำรวจของ Just So Soul Institute เมื่อปีที่แล้ว (2022) พบว่า 51.43% ของคนทำงานยอมที่จะทำงานตามระบบ 996 เพื่อแลกกับค่าตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ และมีเพียง 16.26% ที่ระบุว่ารับไม่ได้และอยากลาออก ขณะที่ 29.89% ระบุว่าจะฝืนใจทำจนกว่าจะหางานใหม่ได้
ถึงกระนั้น เมื่อคนวัยหนุ่มสาวเลือกที่จะทำงานตามระบบนี้แล้ว ผลกระทบที่ตามมาก็คือ อัตราการเกิดของจีนนั้นยังคงลดลงต่อเนื่อง เพราะคนหนุ่มสาวระบุว่าการทำงานล่วงเวลาอยู่เสมอทำให้พวกเขาไม่มีเวลาตกหลุมรัก แต่งงาน หรือมีลูก พวกเขาแทบจะไม่มีชีวิตส่วนตัวเลยนอกเหนือจากการทำงาน
จนกระทั่งเมื่อช่วงต้นปี 2021 ระบบ 996 ก็สร้างเรื่องในบริษัท Pinduoduo จนเกิดเป็นคดีความใหญ่ที่รัฐบาลให้ความสนใจอย่างมากหลังเกิดเหตุพนักงานหญิงเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป ในขณะที่อีกคนหนึ่งเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย โดยทางศาลสูงสุดของจีนและกระทรวงแรงงานต่างก็ระบุว่า ตารางการทำงาน 996 นั้นผิดกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจากนั้นก็มีคดีฟ้องร้องในศาลเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงานอย่างน้อย 10 คดี ซึ่งพบว่าพนักงานก็ชนะมาโดยตลอด
ในเดือนมีนาคม 2022 รัฐบาลจีนได้เปิดตัวความคิดริเริ่มที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพื่อควบคุมวัฒนธรรมการทำงาน 996 โดยมีบริษัทเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางของการสอบสวนครั้งนี้ นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นยังระบุด้วยว่าจะมีบทลงโทษที่เข้มงวดสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน
ขณะที่กระทรวงประกันสังคมของปักกิ่ง รวมถึงมณฑลอื่นๆ เช่น ซานตง อานฮุย เหอหนาน กว่างซี ชิงไห่ หูหนาน หูเป่ย์ ก็เริ่มการสอบสวนเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน พร้อมทั้งตรวจสอบว่าพนักงานได้รับสิทธิ์ในชั่วโมงการทำงานและเวลาพักร้อนหรือไม่
‘คาโรชิ’ ทำงานหนักจนตัวตายในญี่ปุ่น

เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นแน่นอนหลายคนต้องนึกถึงพฤติกรรมที่ขยันขันแข็งกระตือรือร้นที่จะทำงานของชาวญี่ปุ่น ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าพลเมืองนั้นบ้างานและชอบทำงานเป็นชีวิตจิตใจ
จากการสำรวจของ Expedia Japan ในปี 2015 พบว่า 53% ของชาวญี่ปุ่นไม่ทราบว่ามีวันหยุดประจำปีกี่วัน และเป็นเรื่องปกติมากที่พนักงานจะรู้สึกผิดเวลาที่ได้ลาพักร้อนโดยได้รับค่าจ้าง ไม่เพียงแค่นั้น ยังพบว่ามีเพียง 52% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจที่เห็นว่าสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ดี การทุ่มเทให้กับงานมากมายของชาวญี่ปุ่นนั้นกลับไม่ได้ทำให้พวกเขามีความสุข เพราะในความเป็นจริงแล้ว ชาวญี่ปุ่นเป็นพนักงานที่ลาพักร้อนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และในปี 2016 ญี่ปุ่นยังรั้งอันดับสุดท้ายของประเทศที่มีความสุขกับการทำงาน (Indeed Job Happiness Index) จากการสำรวจทั้งหมด 35 ประเทศ
นอกจากนี้ The Japan Times ยังเปิดเผยว่า 1 ใน 4 ของบริษัทยอมรับว่าพนักงานของพวกเขาเคยทำงานล่วงเวลาราว 80-100 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งชั่วโมงพิเศษเหล่านี้บางครั้งก็ไม่ได้รับค่าจ้างด้วยซ้ำ
แน่นอนว่าเพราะพวกเขาทำงานหนักมากเกินไปจนมีคนเสียชีวิตมาแล้ว ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกว่า ‘คาโรชิ (Karoshi)’ แปลตามตัวอักษรว่า ‘ตายเพราะทำงานหนักเกินไป’ เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในจังหวัดนากาโนะ เมื่อคนงานโรงไหมหลายคนถูกบังคับให้ทำงานเกือบ 14 ชั่วโมงทุกวัน จนทำให้พวกเขาเสียชีวิตเนื่องจากสภาพการทำงานที่ไร้มนุษยธรรม
อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์โรคคาโรชินี้เป็นที่พูดถึงมาโดยตลอด จนกระทั่งในปี 2013 ก็เป็นที่ฮือฮาอีกครั้งเมื่อ มิวะ ซาโดะ นักข่าวสาวผู้ทำงานที่สถานีโทรทัศน์ในกรุงโตเกียว ซึ่งทำงานล่วงเวลา 159 ชั่วโมง และหยุดงานเพียง 2 วันในเดือนดังกล่าว จนเป็นเหตุให้เธอเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวในเดือนกรกฎาคม 2013
ในปี 2015 จากกรณีของ มัตซึริ ทากาฮาชิ พนักงานฝ่ายดูแลโฆษณาออนไลน์ ของบริษัท Dentsu วัย 24 ปีที่ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองด้วยการกระโดดตึกหอพักพนักงาน หลังทำงานล่วงเวลามากถึง 105 ชั่วโมง ส่งผลให้เธอเกิดความเครียดสะสม
ในปี 2018 อดีตนายกรัฐมตรี ชินโซ อาเบะ ได้เสนอร่างกฎหมาย ‘Work Style Reform’ หมายความว่านายจ้างอาจบังคับให้พนักงานหยุดพักผ่อน ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการหยุดงานที่ได้รับค่าจ้าง 50% และกำหนดการทำงานล่วงเวลาไว้ที่ 80 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งก็ยังคงสูงไปอยู่ดี นอกจากนี้ยังกำหนดให้พนักงานทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน นั่นหมายถึงการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั่นเอง
รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับว่าการทำงานล่วงเวลามากกว่า 80 ชั่วโมงต่อเดือนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับคาโรชิ “รัฐบาลกำลังพูดว่า ถ้าคุณทำงานถึงเกณฑ์นี้ คุณอาจตายได้ แต่คุณสามารถทำงานถึงเกณฑ์นี้ได้” มาโกโตะ อิวาฮาชิจากองค์กรสิทธิแรงงานกล่าว
จากข้อมูลของ Statista พบว่า พนักงานชาวญี่ปุ่นทำงานประมาณ 136.1 ชั่วโมงต่อเดือนในปี 2021 แม้ว่านี่จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 135 ชั่วโมงในปีที่แล้ว (2020) แต่จริงๆ แล้วถือว่าลดลงมากเมื่อเทียบกับสถิติสูงสุดที่ 147.1 ชั่วโมงในปี 2012
ปัจจุบันวัฒนธรรมการทำงานในญี่ปุ่นกำลังพัฒนาไปสู่รูปแบบที่ดีต่อสุขภาพอย่างช้าๆ ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ และบริษัทต่างๆ กำลังดำเนินการเพื่อลดการทำงานมากเกินไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครทำงานล่วงเวลา บางบริษัทถึงกับฝึกปิดไฟสำนักงานทั้งหมดก่อน 22.00 น. เลยก็มี
จากการสำรวจของ Expedia Japan ในปี 2015 พบว่า 53% ของชาวญี่ปุ่นไม่ทราบว่ามีวันหยุดประจำปีกี่วัน และเป็นเรื่องปกติมากที่พนักงานจะรู้สึกผิดเวลาที่ได้ลาพักร้อนโดยได้รับค่าจ้าง ไม่เพียงแค่นั้น ยังพบว่ามีเพียง 52% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจที่เห็นว่าสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ดี การทุ่มเทให้กับงานมากมายของชาวญี่ปุ่นนั้นกลับไม่ได้ทำให้พวกเขามีความสุข เพราะในความเป็นจริงแล้ว ชาวญี่ปุ่นเป็นพนักงานที่ลาพักร้อนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และในปี 2016 ญี่ปุ่นยังรั้งอันดับสุดท้ายของประเทศที่มีความสุขกับการทำงาน (Indeed Job Happiness Index) จากการสำรวจทั้งหมด 35 ประเทศ
นอกจากนี้ The Japan Times ยังเปิดเผยว่า 1 ใน 4 ของบริษัทยอมรับว่าพนักงานของพวกเขาเคยทำงานล่วงเวลาราว 80-100 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งชั่วโมงพิเศษเหล่านี้บางครั้งก็ไม่ได้รับค่าจ้างด้วยซ้ำ
แน่นอนว่าเพราะพวกเขาทำงานหนักมากเกินไปจนมีคนเสียชีวิตมาแล้ว ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกว่า ‘คาโรชิ (Karoshi)’ แปลตามตัวอักษรว่า ‘ตายเพราะทำงานหนักเกินไป’ เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในจังหวัดนากาโนะ เมื่อคนงานโรงไหมหลายคนถูกบังคับให้ทำงานเกือบ 14 ชั่วโมงทุกวัน จนทำให้พวกเขาเสียชีวิตเนื่องจากสภาพการทำงานที่ไร้มนุษยธรรม
อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์โรคคาโรชินี้เป็นที่พูดถึงมาโดยตลอด จนกระทั่งในปี 2013 ก็เป็นที่ฮือฮาอีกครั้งเมื่อ มิวะ ซาโดะ นักข่าวสาวผู้ทำงานที่สถานีโทรทัศน์ในกรุงโตเกียว ซึ่งทำงานล่วงเวลา 159 ชั่วโมง และหยุดงานเพียง 2 วันในเดือนดังกล่าว จนเป็นเหตุให้เธอเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวในเดือนกรกฎาคม 2013
ในปี 2015 จากกรณีของ มัตซึริ ทากาฮาชิ พนักงานฝ่ายดูแลโฆษณาออนไลน์ ของบริษัท Dentsu วัย 24 ปีที่ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองด้วยการกระโดดตึกหอพักพนักงาน หลังทำงานล่วงเวลามากถึง 105 ชั่วโมง ส่งผลให้เธอเกิดความเครียดสะสม
ในปี 2018 อดีตนายกรัฐมตรี ชินโซ อาเบะ ได้เสนอร่างกฎหมาย ‘Work Style Reform’ หมายความว่านายจ้างอาจบังคับให้พนักงานหยุดพักผ่อน ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการหยุดงานที่ได้รับค่าจ้าง 50% และกำหนดการทำงานล่วงเวลาไว้ที่ 80 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งก็ยังคงสูงไปอยู่ดี นอกจากนี้ยังกำหนดให้พนักงานทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน นั่นหมายถึงการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั่นเอง
รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับว่าการทำงานล่วงเวลามากกว่า 80 ชั่วโมงต่อเดือนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับคาโรชิ “รัฐบาลกำลังพูดว่า ถ้าคุณทำงานถึงเกณฑ์นี้ คุณอาจตายได้ แต่คุณสามารถทำงานถึงเกณฑ์นี้ได้” มาโกโตะ อิวาฮาชิจากองค์กรสิทธิแรงงานกล่าว
จากข้อมูลของ Statista พบว่า พนักงานชาวญี่ปุ่นทำงานประมาณ 136.1 ชั่วโมงต่อเดือนในปี 2021 แม้ว่านี่จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 135 ชั่วโมงในปีที่แล้ว (2020) แต่จริงๆ แล้วถือว่าลดลงมากเมื่อเทียบกับสถิติสูงสุดที่ 147.1 ชั่วโมงในปี 2012
ปัจจุบันวัฒนธรรมการทำงานในญี่ปุ่นกำลังพัฒนาไปสู่รูปแบบที่ดีต่อสุขภาพอย่างช้าๆ ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ และบริษัทต่างๆ กำลังดำเนินการเพื่อลดการทำงานมากเกินไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครทำงานล่วงเวลา บางบริษัทถึงกับฝึกปิดไฟสำนักงานทั้งหมดก่อน 22.00 น. เลยก็มี
ปรากฏการณ์ ‘กวาโรซา’ ในเกาหลีใต้

เกาหลีใต้กลายเป็นอีกประเทศหนึ่งแล้วที่คนทำงานต้องเผชิญกับปรากฏการณ์ ‘กวาโรซา (Gwarosa)’ หรือ ‘การเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป’
ในบรรดากลุ่มประเทศ OECD หรือกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น พบว่า ชาวเกาหลีใต้ทำงานโดยเฉลี่ยหลายชั่วโมงต่อสัปดาห์มากกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้เองที่นำไปสู่จำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการทำงานหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม อาการอดหลับอดนอน ตลอดจนอัตราการฆ่าตัวตายจากการทำงานหนักเกินไปก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ตัวเลขอย่างเป็นทางการเปิดเผยว่าคนงานหลายร้อยคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไปในปี 2017 ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ออกกฎหมายลดชั่วโมงการทำงานสูงสุดจาก 68 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เหลือ 40 ชั่วโมง โดยได้รับค่าล่วงเวลา 12 ชั่วโมง
อดีตประธานาธิบดี มุน แจ-อินในขณะนั้นได้กล่าวว่า “มันจะเป็นโอกาสสำคัญในการหลีกหนีจากสังคมแห่งการทำงานหนักเกินไป และก้าวสู่สังคมแห่งการใช้เวลากับครอบครัว”
“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันจะเป็นทางออกพื้นฐานในการปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนโดยการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทำงานมากเกินไป อุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม และการขับรถโดยอดหลับอดนอน” มุน กล่าว
ทว่าชั่วโมงการทำงานระยะเวลา 52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่ประธานาธิบดีมุนให้สัญญานั้น จะต้องมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2018 แต่การบังคับใช้ที่เหมาะสมจะไม่เริ่มจนกว่าจะถึงเดือนมกราคม 2019 และในขั้นต้นจะจำกัดเฉพาะบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 300 คนเท่านั้น
จอง ฮัก-ดง พนักงานส่งของทางไปรษณีย์ในเขตอิลซาน จังหวัดคยองกีโด กล่าวกับ CNN ว่า “ตั้งแต่ประกาศกฎลดชั่วโมงทำงานใหม่มีผลบังคับใช้ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ฝ่ายบริหารพูดถึงนโยบาย 52 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเราต้องเริ่มงานตอน 8.00 น. และเลิกงานก่อน 18.00 น. แต่ความจริงก็คือเรายังทำงานหลัง 20.00 น.”
ในปี 2017 แม้แต่พนักงานไปรษณีย์ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรถชนยังคงถูกขอให้เข้ามาทำงาน จากนั้นเขาทิ้งข้อความบ่นถึงการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมและฆ่าตัวตายไปในที่สุด ขณะที่ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน คนงานอีกคนหนึ่งก็จุดไฟเผาตัวเองที่สำนักงาน
อย่างไรก็ดี รายงานของ CNN ระบุว่า “กฎหมายของเกาหลีใต้ไม่รับรองการเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป แต่สำนักงานสวัสดิการและค่าชดเชยแรงงานของเกาหลีถือว่าอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันขณะทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือนนั้นมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยการเสียชีวิตในที่ทำงาน”
ในบรรดากลุ่มประเทศ OECD หรือกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น พบว่า ชาวเกาหลีใต้ทำงานโดยเฉลี่ยหลายชั่วโมงต่อสัปดาห์มากกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้เองที่นำไปสู่จำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการทำงานหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม อาการอดหลับอดนอน ตลอดจนอัตราการฆ่าตัวตายจากการทำงานหนักเกินไปก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ตัวเลขอย่างเป็นทางการเปิดเผยว่าคนงานหลายร้อยคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไปในปี 2017 ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ออกกฎหมายลดชั่วโมงการทำงานสูงสุดจาก 68 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เหลือ 40 ชั่วโมง โดยได้รับค่าล่วงเวลา 12 ชั่วโมง
อดีตประธานาธิบดี มุน แจ-อินในขณะนั้นได้กล่าวว่า “มันจะเป็นโอกาสสำคัญในการหลีกหนีจากสังคมแห่งการทำงานหนักเกินไป และก้าวสู่สังคมแห่งการใช้เวลากับครอบครัว”
“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันจะเป็นทางออกพื้นฐานในการปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนโดยการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทำงานมากเกินไป อุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม และการขับรถโดยอดหลับอดนอน” มุน กล่าว
ทว่าชั่วโมงการทำงานระยะเวลา 52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่ประธานาธิบดีมุนให้สัญญานั้น จะต้องมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2018 แต่การบังคับใช้ที่เหมาะสมจะไม่เริ่มจนกว่าจะถึงเดือนมกราคม 2019 และในขั้นต้นจะจำกัดเฉพาะบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 300 คนเท่านั้น
จอง ฮัก-ดง พนักงานส่งของทางไปรษณีย์ในเขตอิลซาน จังหวัดคยองกีโด กล่าวกับ CNN ว่า “ตั้งแต่ประกาศกฎลดชั่วโมงทำงานใหม่มีผลบังคับใช้ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ฝ่ายบริหารพูดถึงนโยบาย 52 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเราต้องเริ่มงานตอน 8.00 น. และเลิกงานก่อน 18.00 น. แต่ความจริงก็คือเรายังทำงานหลัง 20.00 น.”
ในปี 2017 แม้แต่พนักงานไปรษณีย์ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรถชนยังคงถูกขอให้เข้ามาทำงาน จากนั้นเขาทิ้งข้อความบ่นถึงการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมและฆ่าตัวตายไปในที่สุด ขณะที่ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน คนงานอีกคนหนึ่งก็จุดไฟเผาตัวเองที่สำนักงาน
อย่างไรก็ดี รายงานของ CNN ระบุว่า “กฎหมายของเกาหลีใต้ไม่รับรองการเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป แต่สำนักงานสวัสดิการและค่าชดเชยแรงงานของเกาหลีถือว่าอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันขณะทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือนนั้นมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยการเสียชีวิตในที่ทำงาน”