หลายคนใช้น้ำมันหอมระเหยในบ้าน เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย สดชื่น หรือช่วยเรื่องระบบการหายใจ แล้วแต่กลิ่นที่แต่ละคนเลือก แต่งานวิจัยล่าสุด พบว่า ผู้สูงอายุที่ดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยตอนนอน ช่วยกระตุ้นความสามารถในการรู้คิด โดยเฉพาะความจำ ซึ่งนี่เป็นปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุในขณะนี้ ที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม
งานวิจัยนี้ เผยแพร่ในวารสาร Frontiers in Neuroscience โดย นักประสาทวิทยา จาก ศูนย์ประสาทชีววิทยาด้านการเรียนรู้และความจำ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ (UCI) ผู้เข้าร่วมการวิจัย เป็นผู้สูงอายุ 60 ถึง 85 ปี ซึ่งไม่มีความบกพร่องด้านความจำ หรือไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม ทุกคนจะได้รับเครื่องกระจายกลิ่น และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 7 กลิ่น ต่อสัปดาห์
กลุ่มแรกจะได้น้ำมันหอมระเหยแบบเข้มข้นเต็มขวด ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง จะได้น้ำมันแค่นิดหน่อยเท่านั้น ทุกคนใส่น้ำมันหอมระเหยในเครื่องกระจายกลิ่นก่อนเข้านอน ซึ่งจะได้กลิ่นตอนหลับ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน
ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้น้ำมันหอมระเหยแบบเต็มที่ มีความสามารถทางด้านการรับรู้ ความคิดเพิ่มขึ้นถึง 226% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้นิดหน่อย ซึ่งเขาวัดโดยใช้แบบทดสอบรายการคำ ซึ่งปกติใช้ในการประเมินผลความจำ
การประมวลผลภาพก็ดีขึ้น เกิดวิถีประสาทที่ดีขึ้น (left uncinate fasciculus) ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทในสมองเชื่อมต่อ ระหว่างสมองกลีบขมับส่วนใน (medial temporal lobe) ที่เกี่ยวข้องกับความจำระยะยาว กับสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ที่เกี่ยวข้องกับการ คิดขั้นสูง วางแผน การตัดสินใจ การเรียนรู้ ซึ่งส่วนนี้จะเสื่อมลงตามอายุที่สูงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ ทราบกันดีว่า ความสามารถในการดมกลิ่น หรือได้กลิ่นลดลง สามารถคาดได้ว่าอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท และจิตวิทยา เกือบ 70 โรค ซึ่งรวมถึงอัลไซเมอร์ และโรคทางจิตหรือสมองเสื่อมอื่นๆ เช่น พาร์กินสัน จิตเภท และโรคพิษสุราเรื้อรัง
ก่อนหน้านี้มีนักวิจัย ค้นพบว่าคนที่มีภาวะสมองเสื่องระดับปานกลาง เมื่อได้ดมกลิ่น 40 กลิ่นวันละ 2 ครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง ช่วยกระตุ้นความทรงจำ และทักษะด้านภาษา บรรเทาภาวะซึมเศร้า และฟื้นฟูความสามารถในการดมกลิ่นได้ คณะวิจัยของมหาวิทยาแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ จึงตัดสินใจ นำความรู้นี้ เปลี่ยนมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับภาวะสมองเสื่อมที่ง่าย และไม่รุนแรง
Cynthia Woo นักวิทยาศาสตร์หนึ่งในนักวิจัยบอกว่า นี่จึงเป็นสาเหตุที่พวกเขาลดกลิ่นลงเหลือเพียงแค่ 7 กลิ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมจะใช้แค่ครั้งละหนึ่งกลิ่นเท่านั้น ดีกว่าการได้รับหลายๆกลิ่นพร้อมกันในการวิจัยก่อนหน้านี้
นักวิจัยบอกว่าผลของการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการรับรองสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษามาตลอด ว่ากลิ่นและความจำ มีความเชื่อมโยงกัน
ต่อไป นักวิจัยกลุ่มนี้ก็จะศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคที่ส่งผลต่อคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อม ซึ่งพวกเขาหวังว่าการศึกษาจะนำไปสู่การสำรวจหาวิธีการบำบัดด้วยกลิ่น เพื่อช่วยผู้ที่มีความจำบกพร่อง และน่าจะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในบ้าน และคาดว่าจะวางขายในท้องตลาดในช่วงปลายปีนี้
งานวิจัยนี้ เผยแพร่ในวารสาร Frontiers in Neuroscience โดย นักประสาทวิทยา จาก ศูนย์ประสาทชีววิทยาด้านการเรียนรู้และความจำ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ (UCI) ผู้เข้าร่วมการวิจัย เป็นผู้สูงอายุ 60 ถึง 85 ปี ซึ่งไม่มีความบกพร่องด้านความจำ หรือไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม ทุกคนจะได้รับเครื่องกระจายกลิ่น และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 7 กลิ่น ต่อสัปดาห์
กลุ่มแรกจะได้น้ำมันหอมระเหยแบบเข้มข้นเต็มขวด ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง จะได้น้ำมันแค่นิดหน่อยเท่านั้น ทุกคนใส่น้ำมันหอมระเหยในเครื่องกระจายกลิ่นก่อนเข้านอน ซึ่งจะได้กลิ่นตอนหลับ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน
ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้น้ำมันหอมระเหยแบบเต็มที่ มีความสามารถทางด้านการรับรู้ ความคิดเพิ่มขึ้นถึง 226% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้นิดหน่อย ซึ่งเขาวัดโดยใช้แบบทดสอบรายการคำ ซึ่งปกติใช้ในการประเมินผลความจำ
การประมวลผลภาพก็ดีขึ้น เกิดวิถีประสาทที่ดีขึ้น (left uncinate fasciculus) ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทในสมองเชื่อมต่อ ระหว่างสมองกลีบขมับส่วนใน (medial temporal lobe) ที่เกี่ยวข้องกับความจำระยะยาว กับสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ที่เกี่ยวข้องกับการ คิดขั้นสูง วางแผน การตัดสินใจ การเรียนรู้ ซึ่งส่วนนี้จะเสื่อมลงตามอายุที่สูงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ ทราบกันดีว่า ความสามารถในการดมกลิ่น หรือได้กลิ่นลดลง สามารถคาดได้ว่าอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท และจิตวิทยา เกือบ 70 โรค ซึ่งรวมถึงอัลไซเมอร์ และโรคทางจิตหรือสมองเสื่อมอื่นๆ เช่น พาร์กินสัน จิตเภท และโรคพิษสุราเรื้อรัง
ก่อนหน้านี้มีนักวิจัย ค้นพบว่าคนที่มีภาวะสมองเสื่องระดับปานกลาง เมื่อได้ดมกลิ่น 40 กลิ่นวันละ 2 ครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง ช่วยกระตุ้นความทรงจำ และทักษะด้านภาษา บรรเทาภาวะซึมเศร้า และฟื้นฟูความสามารถในการดมกลิ่นได้ คณะวิจัยของมหาวิทยาแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ จึงตัดสินใจ นำความรู้นี้ เปลี่ยนมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับภาวะสมองเสื่อมที่ง่าย และไม่รุนแรง
Cynthia Woo นักวิทยาศาสตร์หนึ่งในนักวิจัยบอกว่า นี่จึงเป็นสาเหตุที่พวกเขาลดกลิ่นลงเหลือเพียงแค่ 7 กลิ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมจะใช้แค่ครั้งละหนึ่งกลิ่นเท่านั้น ดีกว่าการได้รับหลายๆกลิ่นพร้อมกันในการวิจัยก่อนหน้านี้
นักวิจัยบอกว่าผลของการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการรับรองสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษามาตลอด ว่ากลิ่นและความจำ มีความเชื่อมโยงกัน
ต่อไป นักวิจัยกลุ่มนี้ก็จะศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคที่ส่งผลต่อคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อม ซึ่งพวกเขาหวังว่าการศึกษาจะนำไปสู่การสำรวจหาวิธีการบำบัดด้วยกลิ่น เพื่อช่วยผู้ที่มีความจำบกพร่อง และน่าจะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในบ้าน และคาดว่าจะวางขายในท้องตลาดในช่วงปลายปีนี้