เมื่อการเลือกตั้งใหญ่เริ่มใกล้เข้ามา พรรคต่างๆ ก็เริ่มประกาศนโยบาย ‘ลด แลก แจก แถม’ เพื่อดึงดูดคะแนนเสียง นโยบายเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘ประชานิยม’ เพราะเน้นนโยบายแจกเงินให้ประชาชน แต่คำว่าประชานิยมไม่ได้หมายถึงใช้นโยบายการแจกเงินเพื่อหวังคะแนนเสียงเท่านั้น (ประเด็นปัญหาเรื่องนิยาม ‘ประชานิยม’ อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง “ในวันที่ประชานิยมกลับมาหลอกหลอนประเทศไทยอีกครั้ง”
ส่วนเรื่องการแจกเงิน/สวัสดิการแบบนี้จะสมเหตุสมผลในทางการเงินการคลัง หรือเป็นผลดีหรือไม่ดีต่อประเทศ หรือมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไรก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ในที่นี่เราจะมาสำรวจความเป็นไปได้ว่าการแจกเงิน/สวัสดิการของแต่ละพรรคการเมือง จะต้องใช้งบประมาณแค่ไหน เราจะมาเริ่มสำรวจกันที่พรรคพลังประชารัฐ
1. สวัสดิการประชารัฐ
2. เศรษฐกิจประชารัฐ
3. สังคมประชารัฐ
ทั้ง 3 พันธกิจนี้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแจกเงิน/สวัสดิการมากที่สุดคือข้อแรก ซึ่งการวางพันธกิจนี้เอาไว้ข้อแรกน่าจะสะท้อนความตั้งใจของพรรคพลังประชารัฐที่จะให้น้ำหนักกับการแจกเงิน/สวัสดิการ
แต่ภาษีที่เก็บได้มากขึ้นและจำนวนคนจนที่ลดลงเป็นผลลัพธ์ระยะสั้น หากกราฟคนจนในประเทศพุ่งขึ้นมาอีกครั้ง คงต้องทบทวนอีกครั้งว่า เป็นเพราะนโยบายแจกเงินเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนหรือไม่?
และเราต้องตระหนักด้วยว่า นี่คือการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลที่พอจะจับต้องได้และพอจะมองเห็นได้ สิ่งที่เรามองไม่เห็นและไม่รู้คือ การแจกเงินครั้งนี้มีเหตุผลอื่นนอกจากการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนหรือไม่ คำตอบของความสงสัยนี้ขึ้นอยู่กับประชาชนเองว่าพวกเขาจะไว้ใจพรรคการเมืองนี้หรือไม่ เมื่อเข้าคูหากาบัตรเลือกผู้แทนฯ ครั้งใหม่
แจกเงิน = สวัสดิการ
คำว่าประชานิยมมีความใกล้เคียงกับแนวคิดทางการเมืองที่แบ่งแยกประชาชนกับกลุ่มชนชั้นนำ และนักการเมืองปลุกระดมประชาชนให้ท้าทายอำนาจของชนชั้นนำ ด้วยนิยามนี้คำว่า ‘ประชานิยม’ จึงไม่ใช่เรื่องของการแจกเงิน และหากพูดเรื่อง ‘แจกเงิน’ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ควรใช้คำว่า ‘นโยบายสวัสดิการ’ มากกว่า เพราะการแจกเงินในที่นี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนเรื่องการแจกเงิน/สวัสดิการแบบนี้จะสมเหตุสมผลในทางการเงินการคลัง หรือเป็นผลดีหรือไม่ดีต่อประเทศ หรือมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไรก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ในที่นี่เราจะมาสำรวจความเป็นไปได้ว่าการแจกเงิน/สวัสดิการของแต่ละพรรคการเมือง จะต้องใช้งบประมาณแค่ไหน เราจะมาเริ่มสำรวจกันที่พรรคพลังประชารัฐ
พลังประชารัฐสวัสดิการ
เว็บไซต์ของพรรคพลังประชารัฐเผยแพร่ “คำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง 3 พันธกิจ พลังประชารัฐ” คือ1. สวัสดิการประชารัฐ
2. เศรษฐกิจประชารัฐ
3. สังคมประชารัฐ
ทั้ง 3 พันธกิจนี้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแจกเงิน/สวัสดิการมากที่สุดคือข้อแรก ซึ่งการวางพันธกิจนี้เอาไว้ข้อแรกน่าจะสะท้อนความตั้งใจของพรรคพลังประชารัฐที่จะให้น้ำหนักกับการแจกเงิน/สวัสดิการ
รัฐสวัสดิการแบบป้อมๆ
ในพันธกิจของพรรคไม่ได้บอกรายละเอียดเรื่องการแจกเงิน/สวัสดิการ แต่ในเว็บไซต์ The Active เรื่อง “นโยบายแจกเงิน ทำได้จริงหรือไม่?” ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการแจกเงิน/สวัสดิการของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีดังนี้- นโยบายบัตรประชารัฐ 700 บาท (อุดหนุนรายจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค และค่าเดินทาง)
- ‘แม่บุตร ธิดา ประชารัฐ’ สนับสนุนเงินเดือนละ 10,000 บาท จำนวน 5 เดือน เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือน จนถึง 9 เดือน
- เงินในการเลี้ยงบุตรจำนวน 3,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 ปี
รัฐบาลต้องจ่ายเท่าไร
- บัตรประชารัฐ 700 บาท (ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2565 ยอดลงทะเบียนบัตรคนจนอยู่ที่ 21.45 ล้านคน) ต้องใช้งบประมาณ 15,015 ล้านบาทโดยประมาณ ต่อเดือน และใน 1 ปีจะต้องใช้งบประมาณ 1.8 แสนล้านบาท
- พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคเคยกล่าวว่า หากมีผู้ได้รับสิทธิประมาณ 18 ล้านคน คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 12,000 ล้านบาท ต่อเดือน หรือ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี (เทียบกับงบประมาณประจำปี 2566 ที่ 3.18 ล้านล้านบาท)
แจกแล้วเลิกจนไหม?
- ถ้าจะแจกคนที่จนจริงๆ จากตัวเลขของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในรายงานสถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยในปี 2564 ระบุว่า จำนวนประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนได้ลดลงจาก 4.7 ล้านคนในปี 2563 เป็น 4.4 ล้านคน (ตัวเลขนี้เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม 2565)
- สภาพัฒน์ฯ ระบุว่าจำนวนคนจนที่ลดลงนี้ “ต้องขอบคุณมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับคนจน เช่น มาตรการเพิ่มกำลังซื้อและการปรับลดค่าสาธารณูปโภค”
ถ้าไม่แจกจะได้ไหม?
- บัตรประชารัฐเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่ง ในแง่หนึ่งสวัสดิการคือการลงทุนกับประชาชน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น และจะกลายเป็นกำลังการผลิตที่แข็งแกร่งของชาติ ดังนั้น นอกจากการแจกเงินช่วยคนยากจนแล้ว พลังประชารัฐยังแจกเงินเพื่อสนับสนุนการมีบุตร เพื่อเพิ่มประชากร อันเป็นกำลังการผลิตที่ตอนนี้เริ่มลดลง
- ในโลกนี้ไม่มีของฟรี สวัสดิการต้องใช้เงินมหาศาล เป็นเหตุให้รัฐบาลไทยต้องใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลมาหลายปีติดต่อกัน จึงต้องเดิมพันเหมือนกันว่าการแจกเงินจะทำให้ประชาชนสามารถลืมตาอ้าปากแล้วลุกขึ้นมายืนหยัดด้วยตัวเองได้หรือไม่
สรุปแจกดีหรือไม่ดี?
- แต่บัตรประชารัฐมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือคนที่ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปีด้วย ดังนั้นถ้าสร้างงานให้ประชาชนได้ ตัวเลขของผู้ใช้สิทธิ์บัตรประชารัฐก็จะลดลง ช่วยทำให้รัฐบาลไม่ต้องใช้จ่ายเกินตัว
- อย่างน้อยมีสัญญาณที่ดีว่าการจัดเก็บภาษี ปี 2566 ไตรมาสแรก ได้เกินเป้ากว่า 60,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการเก็บภาษีนิติบุคคล (ภาคธุรกิจ) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (การใช้จ่ายของประชาชน) แสดงว่าธุรกิจฟื้นตัว ซึ่งจะหมายถึงการจ้างงานเพิ่ม และคนจะมีงานทำ และมีกินมีใช้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แต่ภาษีที่เก็บได้มากขึ้นและจำนวนคนจนที่ลดลงเป็นผลลัพธ์ระยะสั้น หากกราฟคนจนในประเทศพุ่งขึ้นมาอีกครั้ง คงต้องทบทวนอีกครั้งว่า เป็นเพราะนโยบายแจกเงินเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนหรือไม่?
และเราต้องตระหนักด้วยว่า นี่คือการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลที่พอจะจับต้องได้และพอจะมองเห็นได้ สิ่งที่เรามองไม่เห็นและไม่รู้คือ การแจกเงินครั้งนี้มีเหตุผลอื่นนอกจากการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนหรือไม่ คำตอบของความสงสัยนี้ขึ้นอยู่กับประชาชนเองว่าพวกเขาจะไว้ใจพรรคการเมืองนี้หรือไม่ เมื่อเข้าคูหากาบัตรเลือกผู้แทนฯ ครั้งใหม่