บาดเจ็บ-เสียชีวิตทุกวัน ค่าเฉลี่ยความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทางออกอยู่ตรงไหน?

30 มิ.ย. 2566 - 10:17

  • 6,940 วัน คือ จำนวนวันนับแต่เหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ปะทุ ตั้งแต่ พ.ศ.2547-พ.ศ.2565

  • ค่าเฉลี่ยเหตุความไม่สงบเกิดขึ้น 3 ครั้งต่อวัน

  • คนบาดเจ็บราว 2 คนต่อวัน และคนเสียชีวิต 1 คนต่อวัน

TAGCLOUD-fact-mean-stat-violence-three-southern-border-provinces-SPACEBAR-Thumbnail
“ปัญหาความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ มีเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อเรื่องดินแดนทางประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานอยากให้เกิดความสงบในพื้นที่มากกว่าการต่อสู้”

ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม นักวิชาการด้านตะวันออกกลางศึกษา อดีตที่ปรึกษานายกฯ ทักษิณด้านโลกมุสลิมทั้งในและนอกประเทศ พูดถึงประเด็นความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ในบทสัมภาษณ์ ถอดสมการ ‘ไฟใต้’ กับบทบาทรัฐไทยปลายด้ามขวาน 

ศ.ดร.จรัญ มองว่าแนวคิดเรื่อง ‘แบ่งแยกดินแดน’ มีอยู่จริง แต่มีคนไม่มากที่ปรารถนา ส่วนเรื่อง ‘การจำลองทำประชามติคืนเอกราชปาตานี’ ในงานเสวนานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี เป็นคนละเรื่อง แต่พอถูกจับมาโยงกับการเมืองที่ร้อนแรงในช่วงหลังเลือกตั้งที่หวังผลบางอย่างก็ยิ่งเลยเถิด 

“หลายคนตีความไปแล้วว่าเขาเป็นกบฏ ...ทั้งๆ ที่ประเด็นนำเสนอส่วนใหญ่ คือเรื่องวัฒนธรรมในพื้นที่ของเขา ไม่ได้มีประเด็นแตกแยกอะไรเลย”

แล้วทางออกคืออะไร ในสายตา ศ.ดร.จรัญ อย่างน้อยที่สุด ต้องไม่ใช่การปิดกั้นและไม่รับฟังเสียงคนที่เห็นต่าง “ทางที่ดีคือการส่งเสริมให้คนเห็นต่างมีสิทธิเข้ามามีส่วนร่วมในการหาข้อตกลงร่วมกันได้”

เพราะตลอดเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนใน พ.ศ.2547 ความรุนแรงไม่เคยหายไปจากพื้นที่ แม้ช่วง 4-5 ปีหลัง ความรุนแรงจะลดน้อยลง แต่การสังหารเจ้าหน้าที่และชาวบ้านยังเกิดขึ้นประปราย และไม่ว่าจะมากหรือน้อยเท่าใด ชีวิตล้วนมีค่า ไม่ควรมีใครถูกสังหาร 

สำหรับคนนอกพื้นที่ที่รับรู้ข่าวสามจังหวัดชายแดนใต้จากสื่อ อาจคิดว่าความรุนแรงเกิดขึ้นนานๆ ทีตามจังหวะการรับรู้ข่าวสาร แต่คนที่อยู่หน้างานไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น ความหวั่นวิตกยังอยู่ในใจ ยอดเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไม่เคยโกหก 

ยิ่งเมื่อนำยอดจาก ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ พ.ศ.2547-2565 มาหาค่าเฉลี่ยตามจำนวนวันที่คนในพื้นที่ต้องอยู่กับเหตุการณ์เหล่านั้นดูแล้ว 

ไม่ว่าใครที่เห็น ก็คงรู้สึกสั่นไหว... 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/48xLRm744w1awkEdfriE3l/9fc1843c64cb21afbc78de043d43f2ac/_______-_______________-___________________-3-________________
ถามถึงหนทางสู่สันติภาพ ศ.ดร.จรัญ มองว่ามีแนวโน้มในทางที่ดี 

“ถ้าเรามองในแง่ของอาจารย์วันนอร์ (วันมูหะมัดนอร์ มะทา) พรรคประชาชาติ (ได้ ส.ส. เขตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มากที่สุด คือ 7 จาก 15 ที่นั่ง) เขาก็ตั้งปณิธานสร้างความสงบสุขในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้ชาวมุสลิมเลือกเข้ามาเป็น ส.ส.”

“ดังนั้นหากจะเปลี่ยนประเด็นความมั่นคงให้เป็นความไว้วางใจคนในพื้นที่ ก็เป็นทิศทางที่ดีในการให้อิสระ หรือให้สิทธิบางอย่างที่เขาถูกลดทอนด้านความเท่าเทียม”

“ผมคิดว่า ต่อไปนี้การหารือเรื่องนี้จะถูกพูดมากขึ้น เพื่อให้สามจังหวัดเป็นพื้นที่ที่มีความคิดหนึ่งเดียว (แม้ศาสนาต่างกัน)”

“ส่วนตัวคิดว่าทุกคนต้องการเห็นการใช้ชีวิตอย่างปกติสุข เยี่ยงคนธรรมดาสามัญทั่วไป”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์